08/06/2554 22:41 น. |
ขอความรู้เรื่องแกนเหล็กอิ่มตัวในมอเตอร์ครับ จากที่อ่านคำตอบในกระทู้ที่ผ่านๆมา ได้มีการกล่าวถึงเรื่องแกนเหล็กอิ่มตัว ผมจึงอยากขอความรู้เรื่องนี้น่ะครับ หรือมีบทความที่อธิบายเรื่องนี้ที่เข้าใจได้ง่ายไหมครับ |
10/06/2554 08:48 น. |
คงจะพออธิบายคร่าวๆตามที่เข้าใจดังนี้ครับ เมื่อเราป้อนแรงดันเข้าไปที่ขดลวดสเตเตอร์ จะทำให้เกิดกระแสไหลที่ขดลวดสเตเตอร์ กระแสตัวนี้จะทำให้เกิดฟลักซ์ขึ้นมา ฟลักซ์ตัวนี้จะไปเหนี่ยวนำขดลวดสเตเตอร์ทำให้เกิดค่าแรงดันย้อนกลับ ( Back EMS )ค่าแรงดันนี้จะมีทิศทางหักลัางกับค่าแรงดันที่ป้อน กระแสที่ไหลในขดลวดสเตเตอร์ขณะนี้จะมีค่าเท่ากับส่วนต่างของแรงดันที่ป้อนกับค่าแรงดันย้อนกลับหารด้วยค่าอิมพีแดนซ์ของมอเตอร์ เมื่อเราป้อนค่าแรงดันเข้าขดลวดสเตเตอร์เพิ่มมากขึ้น ค่าฟลักซ์จะเพิ่มมากขึ้นตาม แต่เมื่อมีการเพิ่มค่าแรงดันมากกว่าค่าที่เป็นแรงดันพิกัดของเนมเพลทขึ้นไป ค่าเส้นแรงแม่เหล็กจะเริ่มเพิ่มขึ้นน้อยลงไป แบบไม่เป็นสัดส่วนเหมือนตอนแรกและจะคงที่แม้ว่าจะมีการเพิ่มค่าแรงดันจ่ายให้กับขดลวดสเตเตอร์เข้าไปอีกเท่าใดก็ตาม จุดที่ค่าเส้นแรงแม่เหล็กหรือฟลักซ์ไม่เพิ่มขึ้นตามค่าแรงดันที่เปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าจุดอิ่มตัวของสนามแม่เหล็ก ค่าแรงดันที่ทำให้เกิดจุดอิ่่มตัวของแกนเหล็ก จะมีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการคือ 1. จำนวนรอบขดลวดที่ใช้พัน 2. ขนาดแกนเหล็ก 3. ชนิดของแกนเหล็ก 4. ความถี่ของแรงดันไฟฟ้าที่ป้อน ฉะนั้นจะเห็นว่า แรงดันย้อนกลับมีองค์ประกอบมาจากค่าเส้นแรงแม่เหล็ก เมื่อค่าเส้นแรงแม่เหล็กคงที่ก็จะส่งผลให้ แรงดันย้อนกลับคงที่ด้วย เป็นเหตุให้ส่วนต่างของแรงดันที่ป้อนมีค่าห่างมากขึ้นเรื่อยๆ ตามค่าแรงดันที่ป้อนให้กับสเตเตอร์ และส่งผลให้กระแสเพิ่มมากขึ้นในที่สุด สมาชิกท่านใดมีความเห็นแตกต่าง สามารถให้ข้อเสนอแนะหรือวิจาร์ณได้ครับ |
12/06/2554 21:50 น. |
ถามแบบนี้นะครับ ถ้ามอเตอร์ตัวหนึ่งพันขดลวด จำนวน100รอบ มอเตอร์เกิดไหม้แล้วร้านพันมอเตอร์พันขดลวดมาใหม่ที่ 90รอบ เมื่อเราใช้งานมอเตอร์มอเตอร์จึงเิกิดแกนเหล็กอิ่มตัวและทำให้กระแสสูงใช่หรือไม่ อีกคำถามครับ มอเตอร์ตัวใหม่ 1hp ลองเิดินตัวเปล่า วัดกระแสได้ 0.9A นำไปเปลี่ยนแทนมอเตอร์ที่เสีย (เป็นรุ่นเดียวกัน)ใช้งานจริงกระแสอยู่ที่ 1.6A (full loadที่ป้าย 2.1A) แต่มอเตอร์ตัวที่เสียส่งซ่อมพันใหม่มา 3ครั้งแล้ว ครั้งสุดท้ายวัดกระแสตัวเปล่าได้ 1.85A ใช้งานจริงกระแสเกินไปอยู่ที่ 2.6A ใช้ได้ 2วันก็ไหม้อีก ถามทางร้านซ่อมเขาบอกว่ากระแสตัวเปล่าสูง มอเตอร์จะกำลังดีกว่ามอเตอร์กระแสต่ำ ที่มอเตอร์ไหม้เพราะโหลดเกินกำหลังหรือเปล่า (โหลดเป็นสายพานลำเลียง) เนื่องจากพันใหม่มา3 ครั้งติดๆ กันจึงตัดสินใจเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ ตั้งแต่เปลี่ยนมา 4 เดือนแล้วยังใช้งานได้ปกติ ลักษณะนี้ใช่แกนเหล็กอิ่มตัวหรือไม่ |
13/06/2554 10:50 น. |
ขอตอบคำถามอย่างนี้ครับ การลดจำนวนรอบขดลวดที่ใช้พัน มีผลอย่างเดียวกันการเพิ่มแรงดันจ่ายให้กับมอเตอร์ครับ ฉะนั้นในการพันมอเตอร์ถ้าเป็นโรงซ่อมที่ได้มาตรฐานจะต้องมีกาีรนำเอาข้อมูลการพันมาคำนวณ เส้นแรงแม่เหล็กต่อปริมาตรแกนเหล็กไม่ให้เกินค่าที่กำหนด หรือค่าสนามแม่เหล็กอิ่มตัว สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์มีปัญหาคือ มอเตอร์กระแสสูงซึ่งส่งผลให้มอเตอร์ไหม้ในที่สุด สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์กระแสสูงมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ แกนเหล็กอิ่มตัวเนื่องจากการพันมอเตอร์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ซึ่งต้องไม่ลิมที่จะพิจารณาสาเหตุอื่นๆด้วย เช่น คุณภาพของแกนเหล็กที่เกิดจากการรื้อขดลวดเก่าออก ระยะแนว ( Align )ของแกนเหล็กโรเตอร์กับสเตเตอร์ และ แอร์แกป ของโรเตอร์กับสเตเตอร์ เนื่องจากมอเตอร์ขนาดเล็กมักถูกออกแบบมาให้มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ และราคาถูกทำให้การซ่อมมอเตอร์แล้วให้กับไปมีคุณภาพเหมือนเดิม ค่อนข้างยากกว่ามอเตอร์ขนาดใหญ๋ เพราะชิ้นส่วนๆของเดิมมักออกแบบมาให้ซ่อมได้ยากหรือไม่ให้ซ่อม ทำให้การซ่อมส่วนใหญ่เน้นการซ่อมทางด้านไฟฟ้า(พันขดลวดใหม่ )ทางด้านแมคคานิคมักจะปล่อยตามสภาพ ส่งผลให้มีผลต่อประสิทธิภาพของมอเตอร์ (มอเตอร์กระแสสูง )ฉะนั้นก่อนการส่งมอเตอร์ขนาดเล็กไปซ่อมแนะนำเช็คราคามอเตอร์ตัวใหม่ด้วยครับ ถ้าราคาต่างกันไม่มากก็แนะนำให้ซื้อตัวใหม่ แต่ถ้าราคาต่างกันมาก ก็ต้องระวังเรื่องของคุณภาพของมอเตอร์ที่ได้จากการซ่อม |
13/06/2554 19:21 น. |
ถ้าจำไม่ผิดเกี่ยวกับเรื่องหม้อแปลง flux = Vpsinwt/(wNp) Vp = Primary Voltage w = 2pi*frequency Np = Primary Turns ถ้ามอเตอร์กระแสสลับคือหม้อแปลงที่หมุนได้แล้ว การเพิ่มแรงดัน การลดจำนวนรอบของขดลวด และ การลดความถี่ทางไฟฟ้า ย่อมทำให้ flux เพิ่มขึ้น ส่วนจะอิ่มตัวหรือไม่ขึ้นอยู่การเลือกประเภท ขนาด ของแกนเหล็ก ครับ แกนเหล็กอิ่มตัวคือจุด flux แม่เหล็กไม่สามารถแปลเปลี่ยนตามค่าแรงดันที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง (นึกว่าแรงดันเปลี่ยนแปลงเป็น sine wave) ที่จุดนี้กระที่ไหลเข้ามาจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานกลได้ทั้งหมดเนื่องจากข้อจำกัดของแกนเหล็ก ทำให้ถูกเปลี่ยนไปในรูปของความร้อนแทน นอกจากนี้ เนื่องจาก eind แปรตาม -dflux/dt จุดที่แกนเหล็กอิ่มตัวจะทำให้เกิดแรงดันสูงยอดแหลมที่อาจทำลายสภาพความเป็นฉนวนของมอเตอร์ด้วยครับ |