04/06/2554 16:52 น. |
-ผมซื้อปั๊มareno 3 HP ( 5.5-9.9 A) ต่อผ่านลูกเซอร์กิตสามเฟส 32 A ผ่านแม็คเนติก 32 A โอเวอร์โหลดปรับไว้ 11 A ต่อแบบเดลต้า พอเปิดสวิทย์ พบว่า ปั๊มหมุนประมาณ 10 วินาที แล้วเบรคเกอร์ทริป ขึ้นเบรคเกอร์ใหม่ปั๊มยังไม่ทันหมุนเบรคเกอร์ทริปอีก ผมเลยลองต่อแบบสตาร์ พอเปิดสวิทย์ปั๊มยังไม่ทันหมุนเบรคเกอร์ทริปอีก ลองปรึกษาร้านที่ซื้อมา ทางร้านให้ผมลองต่อตรง มอเตอร์ไหม้เลยครับ ส่งไปเปลี่ยนตัวใหม่มา ต่อแบบเดลต้า (ตามคู่มือ) พอเปิดสวิทย์พบว่า ปั๊มหมุนประมาณ 10 วินาที แล้วเบรคเกอร์ทริป (ปั๊มยังไม่ได้ต่อท่อและถอดพลาสติกอุดรูออกแล้วและปั๊มหมุนถูกทาง) ขึ้นเบรคเกอร์ใหม่ปั๊มยังไม่ทันหมุนเบรคเกอร์ทริปอีก ผมเลยลองต่อแบบสตาร์ พอเปิดสวิทย์ มอเตอร์ไหม้เลยครับ ไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากอะไรครับ ผมต่สายไฟเข้าขั้ว U V W ผมต่อผิดรึป่าวครับ (ขั่วมี U V W กับ X Y Z )ต่อสลับสายมันก็ไม่น่าจะไหม้ใช่ไหมครับ ยังไงขอข้อแนะนำด้วยนะครับ สาเหตุที่ไหม้เพราะอะไรครับเกิดจากต่อผิดหรือเกิดจากตัวมอเตอร์มีปัญหา ไหม้ 2 ตัวแล้ว งงมากครับ ขอบคุณครับ |
05/06/2554 07:33 น. |
Check ทางฝั่ง Pump รึยังครับดูเหมือนน่าจะเสียจากการ Lock Rotor มากกว่านะครับ ปกติ Pump หอยโข่งเค้าจะไม่ Dry Run ไม่ใช่หรอครับ เพราะมันต้องใช้ของเหลวเป็นตัวระบายความร้อนที่ Gland Packing นะครับ รอท่านช่างซ่อมมอเตอร์มาให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ |
05/06/2554 10:29 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ คงไม่กล่าวถึงทางด้านโหลดนะครับ เพราะทางคุณ Elec Prew ได้แนะนำไว้แล้ว โดยปกติมอเตอร์ขนาดเล็กที่เป็น 3 เฟส มักออกแบบให้มอเตอร์เป็น 220/380 โวลท์ด้วยเหตุผลของการลดต้นทุนการผลิต และไม่มีความจำเป็นที่ต้องลดกระแสสตาร์ท เพราะเป็นมอเตอร์ขนาดเล็ก จึงทำให้การสตาร์ทต้องเลือกใช้วิธีสตาร์ทตรงเท่านั้น และต่อวงจรที่เทอร์มินอลของมอเตอร์เป็นสตาร์ แต่พอดีบอกว่าที่คู่มือกำหนดมาเป็นเดลต้า ก็อาจจะเป็นไปได้เหมือนกันและต้องดูให้ดี ข้อมูลที่แจ้งว่า ต่อทั้งเดลต้า และ สตาร์ แล้วมอเตอร์ไม่ขยับเลย และเบรคเกอร์ทริป อย่างเดียว ทำให้ประหลาดใจเป็นอย่างมากเพราะ สมมุติว่ามีการต่ออย่างถูกต้องแต่ไม่ตรงกับพิกัดแรงดัน เช่นมอเตอร์ต้องการต่อสตาร์แต่เราไปต่อเดลต้าแล้วจ่ายไฟเข้า สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นหลังจากการสตาร์ท คือมอเตอรืจะหมุนอย่างเร็ว มีเีสียงดังของสนามแม่เหล็ก และซักครู่เบรคเกอร์ก็จะทริปออก แต่ตรงกันข้าม ถ้ามอเตอร์ต้องการการต่อเป็นเคลต้า แต่เราต่อเป็นสตาร์ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ มอเตอร์จะเริ่มหมุนได้ แต่ความเร็วรอบอาจจะหมุนไปไม่ถึงความเร็วรอบพิกิัด เนื่องจากปัมท์เป็นโหลดประเภทที่ต้องการแรงบิดสตาร์ทไม่สูง การสตาร์ทโดยเงือ่นไขนี้อาจจะทำให้แรงบิดสตาร์ทลดลงไปบ้างแต่มากพอที่จะทำให้มอเตอร์ หมุนออกตัวไปได้อย่างแน่นอน ฉนั้นแล้วมีอยู่ความเป็นไปได้เดียวคือการต่อวงจรผิด ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้มอเตอร์ไหม้ ยกเว้นว่ามีการต่อผิดและมีระยะเวลาการใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ โดยอุปกรณ์ป้องกันไม่ทริป ซึ่งกรณีนี้จะเจอบ่อยครับ โดยเฉพาะนิสัยของช่างบำรุงรักษาสมัยใหม่ ที่มักไม่ค่อยสนใจการอ่านเนมเพลท ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่ง ซื้อมอเตอร์มาใหม่เพื่อมาทดแทนของเดิม แต่ไม่ไ้ด้มีการอ่่านเนมเพลทว่ามอเตอร์ทีนำมาใหม่มีการต่อวงจรไม่เหมือนเดิม แต่ยึดหลักการต่อวงจรของเดิมเป็นหลัก(มอเตอร์ขนาดเล็ก) ทำให้เขาต่อวงจรมอเตอรืเป็นสตาร์เหมือนมอเตอร์เดิมตัวอื่นๆ ทั้งๆที่มอเตอร์ต้องการการต่อวงจรที่เทอร์มินอลเป็นเดลต้า ซึ่งในกรณีนี้ผลที่ได้จะไม่แสดงให้เห็นในขณะสตาร์ท แต่จะแสดงให้เห็นในขณะที่ใช้งานมอเตอร์ไปซักระยะเวลาหนึ่งครับ |
05/06/2554 18:39 น. |
วงจรกำลังไม่น่าจะผิดได้ครับเพราะมีสายแค่สามเส้น ซึ่งได้ต่อเข้า U V W โอกาศผิด คือแค่สลับสาย และทดลองรันแปปเดียวไม่น่าจะทำไห้ไหม้ได้ ส่วนวงจรสตาร์ทถึงต่อผิดก็คนสะส่วนกันผมเช็คแล้วพบว่าลืมต่อสายคอนแท็คNCของโอเวอร์โหลด เข้าไปตัดแมคเนติก แต่ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มอเตอร์ไหม้ เพราะถึงไม่มีโอเวอร์โหลดหากมอเตอร์ทำงานปกติก็ไม่ทำให้มอเตอร์ไหม้ใช่ไหมครับ หรือเป็นเพราะต่อแบบเดลต้าทำให้มอเตอร์ไหมครับ(เพราะโอเวอร์โหลดไม่ทำงาน) แต่คู่มือให้ต่อแบบเดลต้า หรือเขาให้คู่มือมาผิดครับ |
06/06/2554 09:25 น. |
ถ้าสรุปว่า 1. ระบบไฟฟ้าจ่ายเข้ามอเตอร์ปกติ 2. การต่อวงจรที่เคยต่อสตาร์ และเดลต้าที่เทอร์มินอลมอเตอร์ถูกต้อง 3. โหลดไม่ติดขัด ผมเองคงไม่มีคำแนะนำเพิ่มเติมแล้วครับ เรียเชิญเพื่อนท่านอื่นให้คำชี้แนะด้วยครับ |
06/06/2554 16:11 น. |
เจอสาเหตุแล้วครับ ทางโรงงานบอกว่ามอเตอร์ 3 HP ต่อแบบเดลต้าไม่ได้ครับ ส่วนคูมือที่ให้ไปเป็นของ 7.5 HP แสดงว่ามเตอร์พังตั้งแต่เริ่มสตาร์ท กำลังเชคที่ร้านอยู่ว่าใครเป็นคนให้คู่มือ คงเป็นกรรมของผมเองครับ ยังไงก็ขอบคุณทุกๆทันครับ |
06/06/2554 22:49 น. |
แสดงว่าขดลวดรับแรงดันได้แค่ 220V ต่อเฟส เลยต้องต่อแบบ Star เท่านั้นหรอครับ พอต่อแบบ เดลต้า เลยรับแรงดัน 380V ไม่ไหว แต่ถ้าเป็น Case Overvoltage ปกติจะพังเร็วขนาดพังตั้งแต่ต้นเลยหรอครับ ไม่น่าเป็นไปได้นะครับ แปลกๆ นะครับ |
07/06/2554 09:34 น. |
ผมก็พึ่งรู้ครับ ว่ามีมอเตอร์สามเฟสที่ไม่สามารถต่อแบบเดลต้าได้ ตอนเรียนมาเข้าใจว่าสามารถต่อแบบไหนก็ได้ การต่อแบบเดลต้าจะให้กำลังที่ดีกว่ามีประสิทธิภาพกว่า แต่จะกินไฟมากกว่า วิธีการต่อแบบสตาร์-เดลตา สามารถทำการสตาร์ทแบบ สตาร์-เดลตาได้มอเตอร์จะต้องมีพิกัดเท่ากับ 380/660 V. ที่ซื้อมาเป็น 380/220 V. คู่มือดันให้มาผิด |
07/06/2554 18:49 น. |
การจะบอกว่ามอเตอร์ตัวใดสตาร์ทด้วยวิธี สตาร์ -เดลต้าได้หรือไม่ ไม่อยากจะให้จำว่าต้องเป็นมอเตอร์ประเภทไหน 220/380 หรือ 380/660 โวลท์ แต่อยากจะให้ดูที่เนทเพลทว่า แรงดันที่กำหนดที่เนทเพลท ขณะต่อเป็นเดลต้ามีค่าเป็นเท่าไหร่ และค่านี้เป็นค่าเดียวกันกับแหล่งจ่าย ยกตัวออย่าง การใช้ชุดสตาร์ท สตาร์ -เดลต้า ได้ แรงดันมอเตอร์ และแหล่งจ่าย จะต้องเป็น มอเตอร์ 220/380 โวลท์จะต้องใช้กับแหล่งจ่ายที่เป็น 3 เฟส 220 โวลท์ และในทำนองเดียวกัน มอเตอร์ 380 /660 โวลท์ ก็ต้องใช้กับแหล่งจ่ายที่เป็น 3 เฟส 380 โวลท์ |
07/06/2554 21:59 น. |
ที่ผมว่าแปลกคือในกรณีที่แรงดัน Over voltage กรณีนี้คือ 380V ผลที่ตามมาที่เป็นไปได้คือ 1 กระแสสูง 2 แกนเหล็กอิ่มตัว เนื่องจากฟลักซ์เกิน 3 อุณหภูมิสูง 4 ความเครียดสนามไฟฟ้าสูง แต่ในกรณีแรงดันเกินไปประมาณ 380/220 = 170% แรงดันเกินขนาดนี้ไม่น่าจะทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ภายใน 10 วินาทีอะครับ คือน่าจะใช้งานได้ซักพักนึงอะครับ ถ้า Breaker หรือ Overload ไม่ทำงาน หรือ ทำงานช้าเกินไป มอเตอร์ก็จะไหม้อะครับ ไม่น่าไปเร็วขนาดนี้ ท่าช่างซ่อมมอเตอร์เห็นว่าอย่างไรครับ เคยเจอที่ไหม้เร็วขนาดนี้มั้ยครับ |
08/06/2554 17:45 น. |
ใช่ครับ น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันว่าทำไมถึงเสียหายง่ายขนาดนี้ แต่พอดีไปดูตารางกระแสสตาร์ทต่อกระแสเนทเพลทของมอเตอร์เอบีีบี มอเตอร์ขนาดนี้กับมีกระแสสตาร์ทต่อกระแสพิกัดค่อนข้างสูง ( 8-10 เท่า)(โดยประมาณ) คำนวณคร่่าวๆ กระแสตอนสตาร์ทก็จะอยู่ประมาณ 380 / 220 x10x 9.9= 171 A. ค่านี้เป็นค่าที่คิดกระแสสตาร์ท ในเงื่อนไขขณะที่แกนเหล็กของมอเตอร์ยังไม่อิ่มตัว (จริงๆ คิดว่าน่าจะมากกว่านี้ )แล้วประกอบกับมีการสตาร์ทในขณะต่อเดลต้าถึง 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นสาเหตุให้มอเตอร์เกิดความเสียหายได้ จากประสบการ์ณ เคยเหมือนกันที่มีการจ่ายไฟ 380 โวลท์เข้ามอเตอร์ 220 โวลท์แต่ด้วยเป็นการจ่ายโดยค่อยๆปรับแรงดันจ่ายให้กับมอเตอร์ มอเตอร์เลยไม่เกิดความเสียหาย แต่จะได้ยินเสียงสนามแม่เหล็กชัดว่าเกิดการอิ่มตัว กรณีนี้ตอนจ่ายไฟปัมท์ก็น่าจะกระโดดอย่างแรงเหมือนกัน |
29/03/2555 15:39 น. |
มอเตอร์ขนาด 220/380v, 1/2แรงม้า ต่อแบบไหนครับ ที่แผ่นป้ายพิกัดไม่ได้บอกมาครับ |
21/10/2556 22:42 น. |
เพิ่งเจอมาครับมอเตอร์3เฟส3hpระบุแรงดัน220/380vระบุแรงดันสูงต่อสตาร์แรงดันต่ำเป็นเดลต้าไปพันมาทางร้านเข้าสายมาแบบเดลต้าก็เลย380Vตามนั้นไม่ทันสังเกตุผลคือร้อนมากมีเสียงครางดังมากประมาณ10กว่าวินาทีโอเวอร์โหลดทริปลองวัดแอมป์จากเนมเพลท5.5/8ล่อไป42แอมป์ดีที่โอเวอร์โหลดช่วยไว้ |
21/05/2557 09:03 น. |
ปั๊มทุกประเภทไม่ควรรันตัวเปล่าครับ ที่รันไป 10 วิแล้วตัดถือว่าถูกต้องแล้ว |
13/02/2558 14:55 น. |
ช่างมอเตอร์ครับช่วยอธิบายหน่อยครับ แหล่งจ่ายที่เป็น 3 เฟส 220 โวลท์ คืออะไรครับ แหล่งจ่ายที่เป็น 3 เฟส 380 โวลท์ คืออะไรครับ |
17/03/2561 06:41 น. |
มอเตอร์3เฟส 380V 10a อยากทราบ เมื่อมอเตอร์เเบริ่ง ล๊อค โอเวอร์จับได้อย่างไรว่ากระแสสูง เราจ่ายไฟ380V นั้นหมายความว่า แบริ่งล๊อคทำให้ความต้านทานในขดขวดเพิ่มขึ้นใช่หรื่อไม่ก็เข้าสูตร I=E/R ผมคิดถูกต้องไหมครับ พอดีหลานถามมา |