09/05/2554 17:07 น. |
เห็นเค้าบอกกันว่า IEEE Standard ดีกว่า IEC Standard จริงเหรอครับมันเป็น Standard คนละตัวกันแล้วอย่างนี้มันจะเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ผมละงงจริงๆเลยครับรบกวนท่านผู้รู้ช่วยเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนหน่อยได้ไหมครับ |
09/05/2554 22:25 น. |
อย่า ฮง คุณไปลากคอคนพูดที่ชื่อ เค้า นั่น มา แล้วจะได้ข้อที่คุณสงสัย คลายหรือเพิ่ม อีกระดับหนึ่ง ข้อกำหนดทุกอย่างมัน เป็นความต้องการของมนุษย์ ทั้งนั้น แล้วมันก้อ เปลี่ยนไปตาม ยุคสมัย ทั้งหมดทั้งสิ้น ส่วนผม ละ งง กว่าคุณอีก นะ เพราะ เอาแค่ มาตรฐาน พีไทย ยกตัวอย่าง MEA กับ PEA ยังไม่รวมถึง สำนักผังเมือง เทศบาล อบต ฯลฯ มันยังเอามา อิงกัน คนละทาง ทั้งๆ ที่ไฟฟ้า ผลิตมาจากแหล่งเดียวกัน แค่นี้ผม ก้อ หัวหงอกแล้ว อิอิ |
21/05/2554 09:55 น. |
IEEE ที่เป็น Electric Power เป็น Standard ที่ใช้ใน North America ครับ ส่วนใหญ่จะเป็น Recommended Practice ไม่เชิงเป็นข้อบังคับ เน้นที่หลักในการทำงาน และ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษา บางครั้งรวมกับ ANSI เป็น IEEE/ANSI มีพูดถึงการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆด้วย NEC เป็นมาตรฐานในการติดตั้งของระบบจำหน่ายของ North America NEMA เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าของ Northe America UL เป็นมาตรฐานในการทดสอบอุปกรณ์ แต่ ก็ถูกนำมามีส่วนในการออกแบบเพื่อผลิตอุปกรณ์ให้ผ่านการ Certified จาก UL ด้วย IEC เป็นมาตรฐานของทางยุโรป ที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งระบบไฟฟ้า ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและทดสอบ และ การทดสอบหลังติดตั้ง แต่จะพูดถึงการบำรุงรักษาน้อยมาก มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของประเทศไทยจะอ้างอิงจาก NEC เป็นส่วนใหญ่ และ มีพูดถึง IEC บ้าง การบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าบ้านเรา จะอ้างอิงจาก IEEE, ANSI (รวมถึง EASA/ANSI สำหรับมอเตอร์) และ NETA เป็นส่วนใหญ่ (สำหรับน้ำมันหม้อแปลงมี ASTM ซึ่งเป็นของ North America เหมือนกัน)ทั้งๆที่อุปกรณ์ไฟฟ้าบ้านเราใช้งานที่ระดับแรงดัน และ ความถี่ต่างจากที่ใช้ใน North America ครับ ไม่แน่ใจว่าตอบคำถามมั้ย แต่ถ้าจะให้ตอบตรงๆว่าอัไหนดีกว่าอันไหนคงตอบยาก เอาเป็นว่า ขึ้นอยู่กับว่า งานที่จะทำคืองานอะไร อุปกรณ์คืออะไร แล้วเลือกใช้มาตรฐานให้เหมาะสมดีกว่าครับ |
12/08/2555 21:10 น. |
ไม่ต่างครับ แต่จริงๆเมืองไทยจะอ้างอิงหลักๆคือ IEC Standardครับ |