13/03/2554 12:28 น. |
ปัจจุบันบัานผมยังใช้ไฟ 220V อยู่จะต้องขอไฟ 3 เฟสขนาดกี่แอมป์ดีครับหรือยังพอดัดแปลงมอเตอร์มาใช้ไฟ 220V ได้อยู่ รบกวนท่านผู้รู้ด้วยครับ |
13/03/2554 21:11 น. |
ใช้หม้อแปลง หรือ Inverter ก้ได้ครับ ถ้าเป็นหม้อแปลง input 380V output 200V ที่ 50Hz แต่ถ้าเป็น Inverter Fbase/Fmax = 60 Hz, Vbase/Vmax = 200V หรือ 220V เรื่องมิเตอร์ และ ค่าใช้จ่าย เดี๋ยวมีคนมาตอบ |
14/03/2554 10:36 น. |
ผมไม่ทราบว่า ปั้มลม ที่ว่า เป็นแบบไหน หากเป็นแบบ ลูกสูบ และใช้มอเตอร์หมุน โดยผ่านสายพาน แทนที่ คุณจะมัวมานั่งคิดว่า ต้องเปลี่ยนเป็นไฟ 3 เฟส หรือ หาตัวแปลง ใดๆ มาใช้กับ มอเตอร์ ที่ติดมากับ ปั้มลม ผมว่า ซื้อมอเตอร์ลูกใหม่ ใส่แทน ดีกว่าไหม สำหรับกรณี เรื่องการขอไฟ 3 เฟส ทางการไฟฟ้า มีระดับราคาอยู่ ดูได้จากเวบของการไฟฟ้า นครหลวง เรื่องการขอติดตั้งไฟฟ้าใหม่ ได้เลย แต่ขอโทษ ที่ไม่ได้ แปะลิ้งค์ให้ คิดว่า น่าจะค้นหาเองได้ แต่ บอกได้ว่า ไม่ต่ำกว่า สามหมื่น ซึ่งน่าจะพอสำหรับ การซื้อมอเตอร์ใหม่ แต่หาก ปั้มลมของคุณ เป็นแบบ Scroll type ก็อาจจะต้อง หาวิธีแปลงไฟ เอง เพียงแต่ คิดว่า น่าจะสามารถ ทำเป็นแบบ 1 เฟสได้ เนื่องจาก มอเตอร์ มี 4 pole เอาเป็นว่า รอ ช่างมอเตอร์ หรือ ดูเหมือน คุณวรเดช หรือไง มาช่วยหน่อย ว่า ความคิดผม ทำได้หรือเปล่า เพียงแต่ วิธีนี้ กำลังมอเตอร์จะตกไป ปั้มลม ก็จะได้ลมช้าลงกว่าเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำงานไม่ได้ |
15/03/2554 06:50 น. |
ขอบคุณท่านอาจารย์และคุณ E/P ครับ ขอตอบไปตามที่เคยทำครับ การใช้หม้อแปลง ต้องใช้ไฟ3ph380v ออก 200v-3ph ต้องใช้MCCB Magnetic Cable ที่ต่างกัน ไปคำนวณดู อุอุ การใช้ Inverter ในที่นี้ ผมเข้าใจว่าต้องการหวังผลใชไฟเข้า 1p220v out 3ph 220 V โดยไม่ต้องเปลี่ยนมอเตอร์ แต่โทษที ไม่มีใครเขาทำขายในโลกนี้จ๊๊ะ ที่แค่ห้าแรง ก็หืดจับหาซื้อยาก และแพง เนื่องจากภาคCAP DC BUS มันต้องมโหฬารมากๆ ถ้าขนาด สิบแรง เนี่ยะ อิอิ ผมก็ไม่ทำ เพราะไม่รู้ ขายใคร มอเตอร์ต้องการรอบที่1440และการออกตัวแบบโหลดแช่กระชาก วิธีสตาร์ท ต้อง DOL อิอิ แน่นอนฝ่า |
15/03/2554 06:59 น. |
หรือ กำลังมองกันอยู่ว่า เปลี่ยนมอเตอร์เป็น380 และใช้อินเวอร์เตอร์ปรับโดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นมิเตอร์สามสาย อิอิ ถ้าเป็นไปได้ กระแสพอเรอะ กับสามสิบแอมป์ที่สองสาย น่ะ แต่ในเมื่อไม่สามารถหาอินเวอร์เตอร์ได้ อิอิ เปลี่ยนมิเตอร์สิครับ เป็น ขนาด สามสาย สามสิบแอมป์ เปลี่ยนมอเตอร์ด้วย เป็น 380V/10HP/ ~19A/ 4P /50 HZ อย่า เอาลูกเดิมไปพันใหม่เชียวหล่ะ อิอิ มันผิดผี จ๊ะ |
15/03/2554 07:03 น. |
ผิดผี ในที่นี้หมายถึง กำลังฉุด ไม่สามรถ เท่ากับ ของเดิมได้ ครับ |
15/03/2554 07:22 น. |
ขอบคุณ คุณวรเดช คุณสืบศักดิ์ คุณElec_Prew คุณวรเดชครับผมผิดผีเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ แต่ผมได้นำมอเตอร์ไปใหร้านดู2ร้านครับแต่ได้คำตอบไม่เหมือนกันครับรบกวนท่านวรเดชฟันธงหน่อยครับว่าผมตัดสินใจถูกหรือเปล่าครับ ร้านแรกจะพันโดยลดขนาดขดลวดลงเพื่อให้ใช้กับไฟ380Vได้ ร้านที่สองเพิ่มขนาดขดลวดและบอกว่าอาจจะไม่ได้กำลังฉุดเท่าเดิมผมตัดสินใจร้านที่สองเนื่องจากความรู้สึกของผมบอกว่าน่าเชื่อกว่า ผมตัดสินใจถูกหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านครับ |
15/03/2554 07:46 น. |
ให้ใครทำก้อได้ มันผิดทั้งคู่ อิอิ ลดลวดเล็กลง กระแสน้อยลง สร้างสนามแม่เหล็กไม่พอ รอบตกแรงตก ชัวร์ เพิ่มลวดโต มันลงสลอตได้หมดเรอะ หวดกระแส และร้อนจัด อิอิ อย่าไปอะไรกับได้ไม่คุ้มเสียเลยครับ ถามซิ ค่าพันเท่าไหร่ ทั้งหมด ฟันธง ลูกใหม่ มือสองก้อยังไม่ ผิดผีนะครับ แรงละ500 ยังต่อรองได้อีก ลูกใหม่เกรดเอ หวาน หอม อิอิ กะหลักหมื่น |
15/03/2554 08:48 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ ปัญหาของเจ้าของกระทู้คือต้องการปรับเปลี่ยนแรงดันใช้งานพิกัดของมอเตอร์ จาก 220 V. ไปเป็น 380 V.3 เฟส เหมือนเดิม การปรับเปลี่ยนในลักษณะนี้เป็นการปรับเปลี่ยนค่าแรงดันไม่แตกต่างกันมากนัก ในเชิงการซ่อมมอเตอร์แล้ว ไม่มีเรื่องที่ต้องพิจารณามากนัก ยกเว้นถ้าเป็นการปรับเปลี่ยนแรงดันข้าม Range Voltage เช่น จาก 380 V. ไปเป็น 6600 V. ถ้าแบบนี้จะต้องมีเรื่องที่ต้องพิจารณากันเยอะ ถ้าเป็นการพันมอเตอร์ดังกล่าวถ้ามีการคำนวณ อย่างถี่ถ้วน (ซึ่งถือว่าขั้นพื้นฐานสำหรับการพันมอเตอร์ ) แรงม้าจะไม่ตกครับ และต้องเป็นการพันแบบลดขนาดลวดแต่เป็นการเพิ่มรอบ เพราะจำนวนรอบมอเตอร์ จะแปรผันตามแรงดัน และกระแสก็จะแปรผันตามขนาดลวดเช่นเดียวกัน ถ้าจะให้วิเคราะห์ มอเตอร์ใหม่ที่ได้ จะต้องมีจำนวนรอบที่เพิ่มขึ้น และขนาดลวดที่เล็กลง เพราะแรงดัน เพิ่มขึ้น แต่กระแสมอเตอร์จะน้อยลง คงต้องพิจารณาว่าควรที่จะใช้ร้านไหน ประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับร้านซ่อมขนาดเล็กจะอยู่ตรงที่ ร้านซ่อมที่ไม่ใหญ่มากนัก มักจะไม่ใช้วิธีพันมอเตอร์ใหม่ให้กับเรา แต่จะใช้วิธีต่อวงจรภายในให้ใหม่ หมายถึงสมมุติว่ามอเตอร์เดิม มอเตอร์ 220 V. สตาร์ใน ก็จะหมายถึง ขดลวดต่อเฟสออกแบบมาให้รับแรงดัน 220/1.732=127 V. ซึ่งโดยมากมอเตอร์ 4 โปลมักจะมีการออกแบบให้มีวงจรขนานของขดลวดอยู่ ร้านซ่อมมอเตอร์ มักจะเปลี่ยนวงจรจากขนานเดิม ลดลงมาครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการเพิ่มแรงกัน ซึ่งจะทำให้ แรงดันต่อเฟสเพิ่มขึ้นเป็น สองเท่า ในที่นี้ก็จะกลายเป็น 127 x2 =254 V. และเมื่อนำมาต่อสตาร์ใน ก็จะได้แรงดันพิกัดใหม่เป็น 254 x 1.732 = 440 V. และเมื่อเรานำมาใช้กับแรงดันที่ 380 V. จึงเป็นเหตุทำให้แรงม้าของมอเตอร์ตก เพราะใช้มอเตอร์ไม่ตรงกับพิกัดแรงดันใหม่ที่เปลี่ยนแปลง สรุปการพันมอเตอร์ใหม่ตามที่กล่าวมาอย่างถูกวิธีจะไม่ทำให้แรงม้าเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด กับเป็นการเพิ่มเสถียรภาพของการใช้งานมอเตอร์ด้วย เนื่องจากฉนวนขดลวดที่ใช้ซ่อมมอเตอร์ในบ้านเรา มีคลาสสูงกว่าขดลวดที่ใช้ในการผลิตมอเตอร์ |
15/03/2554 11:31 น. |
อ้า พี่ช่างมอเตอร์ มาตอบครบทุกอณู ประเด็นเลย อิอิ ผมชอบใจกับ วรรคสุดท้าย ครับ มันคือความจริงที่ต้อง สัมผัสได้ อุอุ |
15/03/2554 17:54 น. |
ขอถามคุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับ 1.การเพิ่มจำนวนรอบ แต่ใช้ลวดเล็กลง อาจจะทำให้แกนเหล็กอิ่มตัวและเกิดความร้อนได้มั้ยครับ 2.การเพิ่มจำนวนรอบจนเต็ม Slot จะทำให้การระบายความร้อนแย่ลงมั้ยครับ ถามเพราะสงสัยจิงๆนะครับ |
15/03/2554 18:46 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ 1. การเพิ่มจำนวนรอบเป็นการเพิ่ม ค่าอิมพีแดนซ์ให้กับวงจรมอเตอร์ครับ ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกันโดยตรงคือ ถ้าสมมุติว่าที่ แรงดัน 220 V. เราพัน 100 รอบ ถ้าเราเปลี่ยนแรงดัน เป็น 380 V. แรงดันเพิ่มเป็น 1.732 จำนวนรอบก็จะเพิ่มเป็น 1.732 เท่าเช่นเดียวกัน ( 173 รอบ ) คำถามที่ว่าแกนเหล็กจะอิ่มตัวไหม ก็เพราะแรงดันกับอิมพีแดนซ์เพิ่มเป็นสัดส่วนเดียวกัน จึงไม่ส่งผลต่อการอิ่มตัวของแกนเหล็ก ส่วนเรื่องความร้อนเนื่องจาก แรงม้าของมอเตอร์คงที่ เราเพิ่มแรงดันใช้งาน กระแสพิกัดของมอเตอร์ก็จะลดเป็นสัดส่วนเดียวกันครับ ฉะนั้นความร้อนจะไม่ร้อนสูงขึ้นอย่างผิดปกติครับ 2. การลดขนาดลวดลงสอดคล้องกับจำนวนรอบตามที่คำนวณใหม่ จะไม่ส่งผลต่อการลงร่องสล๊อต และจะลงได้อย่างแน่นอน แต่ประเด็นจะอยู่ที่การเปลี่ยนขนาดลวดต้องทำให้ได้ค่าความหนาแน่นต่อกระแสที่ไหลผ่าน เท่ากันทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนแรงดัน (ค่ากระแสต่อขนาดลวด ) ฉะนั้นความร้อนจะไม่มีโอกาสร้อนมากขึ้นถ้าเรารักษา ค่าความหนาแน่นของกระแสต่อพื้นที่หน้าตัดลวดให้เท่าเดิมครับ ในบางกรณี การลดขนาดลวดลงจะทำให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างเส้นลวดในสล๊อต แล้วทำให้เรามีโอกาสที่เพิ่มจำนวนลวดที่ใช้ลงได้มากขึ้น และเป็นการลดค่าความหนาแน่นของกระแสต่อพื้นที่หน้าตัด ส่งผลให้มอเตอร์เย็นขึ้นด้วยครับ ดีครับการที่ผมตอบแล้วมีคนถามกลับ เพราะจะได้รู้ว่าคนอ่านไม่เข้า่ใจในจุดไหน จะได้อธิบายเพิ่มเติมถ้ามีเวลา และหวังว่าจะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่เรื่อยๆ |
15/03/2554 19:26 น. |
โอโห้ชุมนุมเหล่าเทพเลยครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับผม แจ้งเพิ่มเติมครับวันนี้เข้าไปดูมอเตอร์ที่พันใหม่ตกลงช่างเปลี่ยนวิธีการครับ สรุปตรงที่รื้อสายในขดลวดมาต่อใหม่ครับ ช่างบอกว่าแรงม้าจะลดลงและรอบจะช้าลงแต่สามารถลดพลูเล่ขับสายพานลงให้มีแรงขับปั๊มลมได้ครับ ขอบคุณทุกความเห็นอีกครั้งครับผม |
18/03/2554 15:00 น. |
ขอบคุณทุกๆท่าน ครับ ที่ร่วมแบ่งปัน อย่างที่ผม ตั้งประเด็นถาม เจ้าของกระทู้ไปแล้ว คือ ประเด็นหลัก ของคำถามนี้ อยู่ ที่เจ้าปั้มลม นั่นเอง เพราะเจ้าของกระทู้ ยังใช้ไฟบ้าน 220 V 1 เฟส ตามปกติทั่วไป ยังไม่ได้ไป ขอไฟสามเฟส ** เพราะ หากปั้มลม เป็นแบบลูกสูบ ใช้สายพานฉุดโดย มอเตอร์ เจ้ามอเตอร์ลูกเดิม แค่พันขั้วใหม่ ก็น่าจะใช้กับ ไฟ 220 V 1 เฟส ได้ และ แก้ปัญหาที่ การลดรอบ มูเล่ย์ ตามที่เจ้าของกระทู้สรุป ในความเห็นที่ 12 นั่นแหละครับ สำหรับ เรื่องอื่น และ การจัดการพันมอเตอร์ ใหม่ ก็ขอบคุณทุกท่าน ที่ร่วมกันแบ่งปัน ความรู้ |
10/05/2554 22:52 น. |
เคยเห็นแต่ไม่ต้องดัดแปลงอะไร แค่ต่อแบบ star ก็ใช้กับไฟ 3 เฟส 380 v ได้แล้ว |
20/07/2554 14:29 น. |
สวัสดีครับ คือผมมีข้อสงสัยอยากจะถามนิดนึงอะครับ คือที่บ้านของผมทำอาชีพเลี้ยงกุ้งครับ ใช้มอเตอร์ Single phas 3Hp 4 Pole ตามเนมเพทบอกไว้ 1440 รอบ ใช้มู่เล่ย์ 2.5 นิ้ว กับ 22 นิ้ว ลดรอบเหลือประมาณ 190 รอบ แต่ผมต้องการรอบประมาณ 250 รอบ แต่ถ้าลดมู่เล่ย์ลงมอเตอร์กลับทำงานไม่ไหว ผมเลยอย่ากจะลองเพิ่มโพลมอเตอร์ก่อนแล้วลดมู่เล่ย์ลง โดยใช้มอเตอร์เก่าที่ไหม้มาพันใหม่ให้เป็น 6 หรือ 8 โพลก็ได้ ในทางปฏิบัติเราสามารถทำได้หรือเปล่าครับ |