22/02/2554 23:32 น. |
รบกวนขอวงจรควบคุมมอเตอร์ สตาร์เดลต้า 3 เฟส ต้องใช้แมกเนติก โอเวอร์โหลดรีเลย์ อะไรบ้างครับ ขอเป็นวงจร + อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ขอบคุณมากครับ |
23/02/2554 04:56 น. |
อูย...ตั้งคำถามยากจังเลย. คุณเอ็ม ยังไม่ได้บอกว่าจะใช้กับมอเตอร์กี่แรงครับ จะได้กำหนดSize ของอุปกรณ์ต่างๆให้ได้ครับ แต่หากเป็นแค่รูปแบบวงจรดูใน คต ข้างล่างครับ |
23/02/2554 05:22 น. |
|
23/02/2554 05:26 น. |
ทำรูปสวยๆไม่เป็น ถ้าจะเอาแบบสมบูรณ์ เมล์มาที่ mr.worradej@hotmail.com |
23/02/2554 09:46 น. |
โอ้โห.... ช่างวรเดช ตื่นเช้าจังครับ ตื่นปั๊บ ก็ตอบกระทู้เลย น่าปลื้มใจแทนเวปมาสเตอร์นะครับ ช่างวรเดช ครับ ผมว่าวงจร คอนโทรล และเพาว์เวอร์ของพี่ไม่น่าจะสอดคล้องกันนะครับ หรือว่าผมอาจจะไล่วงจรผิด และก็ดีใจครับที่มีคนคอยตอบและแลกเปลี่ยนความรู้ครับ |
24/02/2554 10:27 น. |
จริงๆผมตอบก่อนเข้านอนครับ อิอิ นอนดึกไปนิดนึง แฮ่่..... มีอะไรพอรู้ก้อมาแลกแลกกันครับ คนหากินแนวเดียวกันทั้งนั้น วงจรที่ผิด แก้ให้แล้วครับ ตามรูป ขอบคุณท่านมากครับที่ช่ายตรวจทาน ไว้มีโอกาสจะตอบแทนสักหนึ่งจอก อิอิ |
24/02/2554 12:42 น. |
สรุป ในคต 5 ผิดครับ แบบที่ คต 2 ถูก อยู่แล้ว ผมก็เขว ตามท่านพี่ โปรดให้อภัยข้า ด้วย อิอิ |
24/02/2554 12:44 น. |
|
24/02/2554 12:52 น. |
เห้อ จบ..... |
25/02/2554 17:56 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ ผมขอวิจาร์ณวงจรของ ช่างวรเดช หน่อยนะครับ จริงๆ แล้วการที่ผมไปเจอความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะ วงจรเพาว์เวอร์ สตาร์-เดลต้า เป็นวงจรที่ผมมักจะใช้บรรยาย เรื่องการสตาร์ทมอเตอร์เป็นหลัก และมักจะพบว่าการออกแบบ จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบแรกคือ ให้ตัวเมนทำงานก่อน ตัวสตาร์ทำงานตามมา และแบบที่สองคือ ตัวสตาร์ ทำงานก่อน แต่ตัวเมนทำงานตามมาอีกที ซึ่งเป็นแบบช่างวรเดชโพสขึ้นมา ซึ่งจากการสอบถามผู้เข้าฟังบรรยาย มีอยู่ไม่น้อยที่ออกแบบเป็นแบบแรก จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้ผมสนใจการออกแบบของช่างวรเดช คำถามคือแบบแรกกับแบบที่สองต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือไม่แตกต่าง ถ้าขนาดแมกเนติกของตัวสตาร์ ขนาดเท่ากับตัวเมน แต่ส่วนมากเรามักออกแบบให้ตัวสตาร์มีขนาดเล็กกว่า ฉะนั้นถ้าออกแบบเป็นแบบแรกกระแสสตาร์ทมอเตอร์จะไปกระทำที่แมกเนติกของตัวสตาร์ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายได้เร็วกว่าปกติ ทำให้การออกแบบวงจรคงจะต้องมีการพิจารณาเหมือนกัน และสิ่งที่ผมมักแนะนำกับผู้ฟังบรรยายก็คือ การกำหนดตัวเลขของแมกเนติกก็ควรที่จะกำหนดตาม ลำดับขั้นการทำงานของวงจร อย่างเช่น ตัวสตาร์ กำหนดเป็น K1 , ตัวเมนกำหนดเป็น K2 และ ตัวเดลต้า กำหนด เป็น K3 เพื่อป้องกันการสับสนของการทำงานในแต่ละสภาวะ(เหมือนกับวงจรต่างประเทศ) ผมให้ความคิดเห็นอย่างนี้คิดว่าคงจะไม่โกรธกันนะครับ และดีใจครับที่เห็นช่างวรเดช กล้าขึ้นมาโพส ซึ่งเพื่อนสมาชิกหลายคนไม่กล้า เพราะอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่จากประสพการณ์ของผมเชื่อหรือไม่ว่า เรื่องการสตาร์ืท สตาร์-เดลต้า เป็นเรื่องที่ผมใช้เวลาในการบรรยายมากที่สุดและเมื่อมีคำถาม ถามกับไปหาผู้ฟังกลับตอบได้น้อยมาก สาเหตุก็อาจจะเิกิดจากการมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป พอดีผมอยู่แถวพระราม 2 ไปไกลจากที่พัก ช่างวรเดช เท่าไหร่ รบกวนทิ้งเบอร์ไว้ที่ เมล changmotor@gmail.com ด้วยครับ ถ้ามีโอกาสจะนัดไปแลกเปลี่ยนความรุ้กันครับ |
26/02/2554 07:41 น. |
thanks หลายๆครับท่านพี่ช่างซ่อมมอเตอร์ อะ อะ เจอปรมาจารย์ แห่งสำนักก้อนเหล็กหมุนได้ ตัวจริงแล้ว ดีใจจัง ยินดีแลกเปลี่ยนได้เกือบทุกอย่างครับ (อิอิ เว้นไว้บางอย่าง) จากประสบการณ์ จริง ที่ไม่ใช่สถาบันใดๆรับรอง ราวๆสัก15ปี มานี่เอง การออกตัวของมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่เช่น200HPด้วยสตาร์ เดลต้า ในการมั่วๆของผม ยังมีอีกหลายแบบ (เป็นการลองศึกษาของผมเองครับ ไม่ใช่ความรู้ใหม่และไม่ใช่มาตรฐานทางวิศวกรรมใดๆ) เช่น 1แช่Timer 2ตัดTimer 3Main+star on ,main+star off , main+delta on 4uvw direct supply, zxy starclose and star open,zxy delta close 5 manual control ไม่ใช้Timer ุ6ไม่ใช้ แมกเนติก ฟังเสียง/ดูรอบ แทนtimer ใช้ยก สะพานไฟ(cutout,Isolator) แบบ โหดๆ ซาดิส 5.....ฯล สรุป นี่เป็นความเห็นส่วนตัวครับโปรดใช้วิจารณญาณ เด็กอายุต่ำกว่า13ปีควรได้รับการแนะนำ อิอิ..... |
27/02/2554 18:38 น. |
เทพทั้งสองคนครับ กระผมขอถามหน่อยน่ะครับ....การสตาร์ท Star-Delta นั้นกระผมสงสัยข้อนี้มากเลยครับ คือ ผมออกแบบวงจรสตาร์-เดลต้ามาหนึ่งวงจร แล้วผมจะคิดอย่างไรดีครับ ว่าจะตั้ง Timer ไว้ที่เท่าไรดีครับ มีสูตรคำนวณหรือป่าวครับ หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ในการ ปรับตั้ง Timer ( สมมุติกระผมมีมอเตอร์ 30 HP. สตาร์ท สตาร์-เดลต้า กระผม จะปรับตั้ง Timer ไว้กี่ sec.ดีครับตอน Run สตาร์อยู่ ) ใครรู้ช่วยตอบหน่อยน่ะครับ .......ขอบคุณครับ |
27/02/2554 21:15 น. |
ขอลอกกระทู้เก่าที่เคยตอบและนำมาเพิ่มเติมมาให้อ่านครับ การสตาร์ทโดยใช้ชุด สตาร์-เดลต้า เป็นการสตาร์ทเพื่อลดกระแสขณะสตาร์ทโดยใช้ หลักการนำอุปกรณ์ภายนอกมาเปลี่ยนวงจรขดลวดเพื่อให้มีแรงดันที่ป้อนให้กับขดลวดต่อเฟส ลดลงจากเดิม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องให้กระแสลดลงเป็นสัดส่วนกับแรงดัน แต่ แรงบิดจะลดลงเป็นสัดส่วนกำลังสอง การเปลี่ยนสภาวะจากสตาร์ เป็นเดลต้า ควรจะเป็นจังหวะที่แรงบิดของมอเตอร์ที่มอเตอร์ผลิตได้ ยังคงมีค่ามากแรงบิดของโหลดที่เพิ่มขึ้น และเป็นจังหวะที่มอเตอร์มีความเร็วรอบมากที่สุดเพราะจะทำให้เกิดกระแสกระชากของการเปลี่ยนจาก สตาร์ เป็น เดลต้า น้อยที่สุด จากข้อความข้างต้นก็จะหมายถึง เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนจะแยกออกเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีที่ไม่มีโหลดต่อยู่ เวลาที่เหมาะสมคือ เมื่อความเร็วของมอเตอร์เข้าใกล้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุน หรือความเร็วขณะไม่มีโหลด เพราะในสภาวะนี้ แรงบิดของมอเตอร์ที่ผลิตได้ถึงแม้จะมีการลดแรงดันลงมา ยังไงก็ยังคงสามารถเอาชนะความสูญเสียของมอเตอร์ได้ และเมื่อความเร็วของมอเตอร์เป็นความเร็วขณะไม่มีโหลดกระแสกระชากขณะเปลี่ยนจากสตาร์ เป็น เดลต้า จะมีค่าน้อยมาก เวลาที่มอเตอร์จากหยุดหมุน ไปจนถึงความเร็วพิกัด จะขึ้นอยู่กับจำนวนโปลมอเตอร์ ซึ่งมอเตอร์ 2 โปลจะใช้เวลามากที่สุด ซึ่งไม่น่าจะเกิน 3 วินาที 2. กรณีที่มีโหลด คงจะลำบากมากที่จะต้อง คำนวณหาจุดที่มีความเร็วมากที่สุด และแรงบิดของมอเตอร์ยังคงมากกว่าแรงบิดของโหลด ถ้ามอเตอร์ไม่ใหญ่มากนักอาจจะต้องทดสอบลองรันสตาร์ดู และจับเวลาตั้งแต่เริ่มสตาร์ทว่าจุดที่แรงบิดของมอเตอร์เริ่มตก และมีค่าไม่เพียงพอที่จะเร่งรอบของโหลดขึ้น( มอเตอร์จะมีกระแสตีกลับขึ้นหลังจากการลดลง ) มีค่าเท่าไหร่ จากนั้นก็กำหนดเวลาในการเปลี่ยนจากสตาร์ เป็นเดลต้าให้เร็วกว่าสัก 1-2 วินาที แต่ถ้าไม่อยากจะพิจารณาอะไรมาก เวลาการเปลี่ยนก็จะอยู่ที่ 3-7 วินาที โดยอ้างอิงจาก หนังสือ Practical Aspects of electric Motor Controls ( Telemecanique ) และจากประสบการ์ณที่เข้าไปให้บริการลูกค้า มีไม่มากที่สตาร์ทมอเตอร์ในขณะที่มีโหลดต่ออยู่ ขอบคุณครับที่ยกย่องให้เป็นเทพ ถ้าผมเป็นเทพ ในห้องนี้จะมีเทพเยอะครับเพราะมีคนมีความรู้ความสามารถมาช่วยตอบเยอะครับ |
02/10/2554 06:34 น. |
ผมขอออกความเห็น การเขียนแบบคอนโทรล ตาม คห9 เห็นด้วย ที่ให้เลข K1-3 ตามสำดับ sequence การเขียนสวิทช์ ผมเรียนมาก็เขียนเหมือนท่าน แต่เมื่อทำงานจริงผมชอบเขียน สวิทช์/คอนแทค หันลง(เหมือน overload) เวลาเดินสาย wiring, ก็ไล่ตั้งแต่คอมมอน common ลงมาเลย ดูวงจรในเว็บนี้... http://www.lpc.rmutl.ac.th/elcen/elearning/motorcontrol/module12/star_delta.html ดูที่โอเวอร์โหลด สามารถสวิงคอนแท็คไปทางขวาได้เลย ก็ทำไมเราไม่เขียนสวิทช์ต่างๆ ให้เหมือน Overload ไปเลยจะดีกว่ามั้ย ผมต้องขออนุญาต อจ.บุญมี KMITNB ด้วยนะครับ ครูผู้สอนผมให้สามารถทำมาหากินได้จนบัดนี้ ---worldair-kmitnb |
17/02/2555 10:51 น. |
|
27/10/2559 19:20 น. |
ผมขอถามหน่อยครับ ผมมีมอเตอร์20hp ต่อวงจรสตาร์ เดลต้า ต้องใช้โอเวอร์โหลดขนาดเท่าไรครับ ผมอ่านเนมเพลท 29.4A ถ้าใช้โอเวอร์โหลดเท่ากับมอเตอร์ได้ไหมครับ มันจะไหม้ใหมครับ แล้วเขาคิดโหลดยังไงครับ ช่วยอธิบายให้รู้หน่อยครับ |