11/02/2554 09:18 น. |
ผมมีข้อโต้แย้งและบางครั้งยังคงคาใจเรื่องการทดลองGeneratot set ที่ nameplate ข้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะระบุค่า Amps,Kw.Kva และระบุ P.F =0.8 และเมื่อจะทำการทดสอบทดลองก่อนใช้งานโดยใช้โหลดเทียม( Resistive Load)เจ้าหน้าที่ ทดสอบเขาจะใช้ ค่าKvaมากำหนดแบ่งเพื่อจะทดสอบ 50%,75%,100% ตามลำดับ ผมก็ตั้งข้อสังเกตุว่าไม่น่าจะถูกต้อง เพราะมันจะทำให้เครื่องยนต์ขับ ทำงานเกินกำลังไปไหม แต่เขาแย้งว่า ก็เมื่อ P.F=1ดังนั้นจึงใช้ Kva แทน KWได้เพราะ P.F=1....ใครมีข้อมูลช่วยสงเคราะห์ด้วยครับ และอีกนิด..ถ้าเอาค่าพิกัด Ampsมาคิด จะได้ไหมหรือจะยังเกินกำลังอยู่ดี.???? น้องใหม่ หัดถาม |
11/02/2554 23:48 น. |
4. Power Factor คือ อัตราส่วน ระหว่างกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (วัตต์) กับ กำลังไฟฟ้าปรากฏ หรือกำลังไฟฟ้าเสมือน (VA) ซึ่ง ค่าที่ดีที่สุด คือ มีอัตราส่วนที่เท่ากัน จะมีค่าเป็นหนึ่ง แต่ในทางเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ซึ่งค่า Power Factor เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ LOAD ซึ่ง Load ทางไฟฟ้ามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1. Load ประเภท Resistive หรือ ความต้าน จะมีค่า Power Factor เป็นหนึ่ง อันได้แก่ หลอดไฟฟ้าแบบใส้ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ถ้าหน่วยงานหรือองค์กร มี Load ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor 2. Load ประเภท Inductive หรือ ความเหนี่ยวนำ จะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง อันได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ขดลวด เช่น มอเตอร์ บาลาสก์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแกสดิสชาร์จ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรส่วนใหญ่ จะหลีกเลี่ยง Load ประเภทนี้ไม่ได้ และมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ ค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง และ Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor ล้าหลัง ( Lagging ) จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor โดยการนำ Load ประเภทให้ค่า Power Factor นำหน้า ( Leading ) มาต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าของระบบ เช่น การต่อชุด Capacitor Bank เข้าไปในชุดควบคุมไฟฟ้า 3. Load ประเภท Capacitive หรือ Load ที่มีตัวเก็บประจุ (Capacitor) เป็นองค์ประกอบ Load ประเภทนี้จะมีใช้น้อยมาก จะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor นำหน้า ( Leading ) คือกระแสจะนำหน้าแรงดัน จึงนิยมนำ Load ประเภทนี้ มาปรับปรุงค่า Power Factor ของระบบที่มีค่า Power Factor ล้าหลัง เพื่อให้ค่า Power Factor มีค่าใกล้เคียงหนึ่ง |
08/03/2554 02:00 น. |
ลอง Search หาพวก Synchronous Generator Capability Curve ดูครับ หรือ ลองหาจาก Text พวก Machine ดู การทดสอบ Generator Loading ไม่ควรทดสอบที่ PF = 1 เพียงอย่างเดียวครับ เพราะ 1. ที่ 100% อาจเลยจุดที่ Primemover สามารถขับได้ 2. ไม่ได้ทดสอบขีดจำกัดการจ่าย Reactive Power (Q : MVAR) และ ขีดจำกัดการจ่าย Reactive Power ซึ่งจะถูกกำหนดด้วยกระแส Field Current เพราะในการใช้งานจริง Generator ต้องจ่ายทั้ง P และ Q ครับ ยิ่งโหลดเป็นพวก Inductive Load เช่นมอเตอร์ยิ่งต้องทดสอบขีดจำกัดนี้ครับ 3. หากมีการทดสอบให้จ่าย Q : MVAR จะเป็นการทดสอบ AVR ไปในตัวด้วยครับ ปล. ผมว่า Capability Curve น่าจะขอจากเจ้าของ Generator ได้นะครับ เพราะ อาจจะต้องใช้ในการตรวจสอบ ค่า Setting ของพวก Protective Relays ด้วยครับ |
21/04/2557 00:20 น. |
ก็คุณใช้โหลด Resistive Load ในการทดสอบนี่ครับ ค่า pf. ก็ใกล้ 1 มากๆ แล้ว จะไปสนใจ โหลด L,C ทำไม มันสามารถทดสอบได้เต็ม 100 % อยู่แล้ว ถ้าคุณกลัว เกินกำลัง คุณก็ตรวจจับค่ากระแสไว้ อย่าให้เกินพิกัดสิครับ |