Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,801
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,173
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,460
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,454
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,914
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,030
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,007
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,296
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,147
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,821
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,774
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,975
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,318
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,817
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,161
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,054
17 Industrial Provision co., ltd 39,852
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,800
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,714
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,042
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,976
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,324
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,742
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,470
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,976
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,970
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,348
28 AVERA CO., LTD. 23,103
29 เลิศบุศย์ 22,064
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,821
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,715
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,328
33 แมชชีนเทค 20,317
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,577
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,546
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,288
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,964
38 SAMWHA THAILAND 18,741
39 วอยก้า จำกัด 18,406
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,979
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,825
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,760
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,726
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,671
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,603
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,596
47 Systems integrator 17,159
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,102
49 Advanced Technology Equipment 16,936
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,899
27/01/2554 12:27 น. , อ่าน 39,626 ครั้ง
Bookmark and Share
อยากเปิดกิจการรับงานแมชชีนพาร์ท ด้าน cnc เริ่มต้นยังไงดี
CNC_TECH
27/01/2554
12:27 น.
ขอความรู้ครับ คือผมพอมีทุนอยู่บ้าง อยากลงเครื่อง cnc กลึงกับมิลลิ่งอย่างละตัว
เรื่องการซ่อมและการใช้งานพอเอาตัวรอดได้ครับ แต่การบริหารจัดการธุรกิจเกือบศูนย์ครับ
ไม่รู้จะหางานหางาน หาลูกค้ายังไง ช่วยหน่อยครับ อยากมีุธุรกิจเป็นของตัวเอง ปัจจุบันเป็นลูกจ้างครับ ทำด้านระบบควบคุม cnc คือรีโทรฟิตเครื่อง cnc ครับ ตอนนี้ค่อยข้างเบื่อมากครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 30 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
อานนท์
27/01/2554
16:58 น.
ยินดีต้อนรับเข้าสู่วงการครับ วงการนี้มันไม่ง่ายอย่างที่คิดแต่ถ้าเราตั้งใจจะทำจริงต้องสู้ครับ
ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
ความคิดเห็นที่ 2
CNC_TECH
27/01/2554
18:25 น.
ขอบคุณครับท่านอานนท์ มีอะไรแนะนำเพิ่มเติมไหมครับ อยากได้คำชี้แนะครับท่าน
ความคิดเห็นที่ 3
CNC_TECH
27/01/2554
18:34 น.
ผมยังไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ตอนนี้ก็ไปเรียนเพิ่มความรู้ด้าน cnc กับทางสถาบันพัฒนา จ.สมุทรปราการอยู่
แล้วก็ด้านแมคคาทรอนิคส์ด้วย หยุดเสาร์อาทิตย์ก็ลงมันทั้งสองวันครับไม่อยากปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ ขอแชร์ความรู้ท่านทั้งหลาย หากมีเรื่อง plc ผมพอมีความรู้ทั้งงาน automation และ plc ด้าน cnc (ทำ Plc cnc Controller Retrofit) อาจจะพอช่วยแชร์กับท่านทั้งหลายได้ แต่เรื่องธุรกิจเห็นจะเเย่ อยากขอคำชี้แนะจากทุกท่านครับ
ความคิดเห็นที่ 4
สืบศักดิ์
27/01/2554
19:16 น.
1. เรียนรู้ วิธีการทำโปรแกรมเครื่อง (NC Program)
2. เรียนรู้ การใช้มีดกัด มีดกลึง
3. หา ลูกน้อง คนทำงานหน้าเครื่องที่ไว้ใจได้ อย่างน้อย 1 คน
4. หา โปรแกรมช่วยงาน CAD/CAM

5. หา ลูกค้า ที่จะมาจ้างงาน จ้างผลิต
6. หัด ตีราคา ประเมินราคา
7. รู้จัก หาแหล่งเครื่องมือ ราคาถูก หรือ ของมือสอง ที่พอใช้งานได้ระดับหนึ่ง เพื่อความประหยัด
8. เรียนรู้ งานวัดละเอียด และ QC
9. เรียนรู้ การเป็น เจ้าของธุรกิจ ระบบบัญชี-การเงินพื้นฐาน

ก็ประมาณนี้ ก่อนนะ แต่ สิ่งที่ต้องหา ก่อนคือ ลูกค้า มาจากไหน ?
ห้ามหวังน้ำบ่อหน้า เด็ดขาด ตอนนี้ทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว
ความคิดเห็นที่ 5
CNC_TECH
28/01/2554
08:03 น.
ขอบพระคุณท่านอาจารย์สืบศักดิ์มากครับ ตอนนี้ก็เรียนเพิ่มเรื่องการใช้เครื่องอยู่ แล้วก็การเขียน PLC ควบคุมเครื่องจักรเพิ่ม กะว่าเผื่อมีงานทำเครื่องจักร หลังจากนั้นว่าจะเรียนเรื่อง cad cam และการทำแม่พิมพ์ ส่วนลูกน้องก็จะให้น้องชายมาช่วยเพราะเค้ามีประสบการณ์ด้านงาน CNC แม่พิมพ์คงช่วยได้เยอะ ปัญหาหลักๆน่าจะเป็นเรื่องลูกค้าและการบริหารธุรกิจที่ผมนับว่าเกือบศูนย์เลยทีเดียว
ส่วนการติดต่อประสานงานกับลูกค้าพอมีประสบการณ์ระดับหนึ่ง เพราะจะติดเรื่องการทำเครื่องและการซ่อมอยู่แล้วคือประมาณว่าผมอยู่ในส่วนทั้งสร้างซ่อมและเซอร์วิต
เรื่องการตีราคามีแนวทางไหมครับอาจารย์
ความคิดเห็นที่ 6
สืบศักดิ์
28/01/2554
15:51 น.
ผมว่า คุณมีลูกค้า นะ เพียงแต่ คุณอาจจะยัง มองมันไม่ออก

ยกตัวอย่าง ให้รายนึง ละกัน

รายนี้ เป็นตัวแทนขายเครื่องจักร ก่อนตอนเกิดวิกฤตปี 40 หลายปี ลูกค้าที่ซื้อเครื่องไป ขอใช้บริการเครื่องในโชว์รูม เพราะทำงานไม่ทัน นานๆเข้า เขาเลย ยุให้เปิด shop รับงานจากเขา เพราะเครื่องบางตัวใน โชว์รูม เป็นเครื่องที่แลกมาบ้าง ยึดคืนมาบ้าง

ปัจจุบัน เลยจำเป็นต้องเปิด shop รับงานไปแล้ว งานขายเครื่อง ก็ขายไป ส่วนรับจ้าง ก็จะมี อีกคน คอยดูแล

สำหรับ ราคา บางครั้ง มันก็ได้มาจากลูกค้า เหมือนกัน แต่เราก็จำเป็นต้องสามารถประเมินคร่าวๆ ได้ว่า คุ้มหรือไม่

วิธีการ ง่ายๆ ของ บางราย อาจใช้ สูตร 3 - 5 เท่าของค่าเหล็ก ในการประเมินขั้นต้น

โชคดี ครับ เถ้าแก่ รายใหม่
ความคิดเห็นที่ 7
CNC_TECH
31/01/2554
12:24 น.
ว้าแย่จังคนเข้ามาดูเยอะแต่ไม่แสดงความเห็นบ้าง ตอบผมบ้างนะ มีแต่ท่านอาจารย์สืบตอบอยู่คนเดียว อยากฟังหลายๆท่านอะ ช่วยหน่อยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 8
พีรวัส
31/01/2554
19:29 น.
ลองให้คำแนะนำในส่วนของการลงทุนนะครับ ถ้าต้องการลงเครื่องใหม่ กลึง ซีเอ็นซี
(CNC Lathe)ใต้หวันมือหนึ่งหัวจับซัก 8" ซึ่งเป็นขนานกลางๆ รับงานได้ทั่ว ก็ตัวละประมาณ 1ล้านกลางๆ ถ้ามือสองญี่ปุ่นประมาณ 6 แสนบาท

ส่วนเครื่องมิลลิ่ง Milling แนะนำซื้อมือหนึ่งใต้หวันครับ สองแสนห้า

ถ้ายอดซื้อเกินแปดแสนบาทก็สามารถเอาเครื่องเข้า ลิสซิ่ง ได้เหมือนรถยนต์ครับแล้วก็ผ่อนกับ ลิสซิ่งเอา ดอกเบี๊ยประมาณ 5% ต่อปี อย่าลืมเตรียมเงินดาวน์ล่ะครับ 30% ของมูลค่าเครื่อง

ส่วนการควบคุม คอนโทรลเลอร์ แนะนำให้ติดต่อกับบริษัทที่จะซื้อเครื่องกับเขาครับ เขาจะมาฝึกอบรมให้ฟรี

ส่วนการเลือกเครื่อง กลึง ซี่เอ็นซี่ ก็มีทริคนิดหน่อยครับ
ถ้ารับงานกลึง ที่ส่วนมากเป็น งาน เหล็กหล่อ (Cast Iron) , สแตนเลส (Stainless Steel), หรือเหล็กชุบแข็ง ควรเลือก Slide way (รางสไลด์เคลื่อนที่ของแต่ละแกน)เป็นแบบ Box way
เพราะจะต้านแรงสะท้านที่เกินจากการกัดกลึงงานได้ดีกว่า

หากงานที่รับเป็นเหล็กทั่วไป S45C S50C Aluminium Brass ซึ่งไม่แข็งมาก
ควรเลือก Side way แบบ Linear way
เพราะจะทำให้ได้งานต่อตัว หรือ Cycle Time มากกว่า ประมาณสมมติว่า 1ชั่วโมง box way กลึงได้ชิ้นงาน 40 ชิ้น Linear way จะได้ประมาณ 50 ตัว น่ะครับ
เพราะ linear way มี Rapid feed เร็วกว่า สามารถกลับไปเปลื่ยน tool ได้ไวกว่า
โดยเฉพาะงานกลึงซึ่งมีการเปลี่ยน tool บ่อย

ความคิดเห็นที่ 9
CNC_TECH
01/02/2554
12:15 น.
สุดยอดครับ มีประโยชน์สำหรับผมมาก ท่านอื่นๆว่าไงครับ ช่วยๆกันครับ นอกจากมีประโยชน์กับผมกับแล้วท่านอื่นๆคงคิดเหมือนกัน หรือจะเป็นประสบการทางด้านการดำเนินธุรกิจก็ได้นะครับ
จะได้เป็นแหล่งรวมความรู้ หัดเป็นผู้ให้กันเยอะๆจะได้เจริญ การเป็นผู้ให้ต้องเริ่มจากตัวเราเอง ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 10
เอก
18/02/2554
12:13 น.
สำหรับผมเลือกลงเครื่อง แมชชีนนิ่งเซนเตอร์ MAZAK VTC20B ครับ ทำงานฟันซ์ดาย โมล เป็นหลัก CAD CAM เอง
ทำงานคนเดียว บริหารเวลาให้ดี ขึ้นงานพร้อมกัน punch die กัดหยาบก็เฝ้าเครื่อง เก็บละเอียด ก็สามารถไปไหนมาไหนได้ บางทีก็ปล่อยได้ทั้งคืนเช้ามาก็ขึ้นงานใหม่ tool ก็หาที่คลองถม วันอาทิตย์ต้องไปเช้าๆครับมีของให้เลือกมาก ไปสายคนอื่นเอาหมด ก่อนไปก็เดินเครื่องตั้งไว้ ทำคนเดียวมา เกือบ2ปีแล้ว เครื่องซื้อมา 600000 ตอนนี้หมดแล้ว เดือนหน้าก็จะลงอีกเครื่อง ไต้หวันมือหนึ่ง จองไว้แล้วครับ ลูกค้าก็คนเก่าๆแนะนำกันไป งานดี งานเร็ว งานมี คติผมครับ
ความคิดเห็นที่ 11
ศิค่ะ
22/02/2554
19:22 น.
ไม่ทราบว่าตอนนี้เปิดShopหรือยังค่ะ อยากจะแนะนำว่า1.การลงเครื่องน่ะมันไม่ยากแต่สำคัญที่
ว่าลงมาแล้วจะผ่อนไหวหรือเปล่า ถ้าทุนไม่หนาจริง และลูกค้ายังไม่มีอยู่ในมือ
2.ถ้าคิดจะลงเครื่องแมชชีนนิ่งเซนเตอร์ ต้องเก่งเรื่องโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นโปรมแกรม 2D หรือ3D แม้กระทั่งการแปลงการ เราอย่าไปหวังว่าเราจะหาลูกน้องที่เก่งๆมา ไอ้พวกที่เขาเก่งๆชำนาญในการใช้เครื่องเงินเดือนมันก็แพงตามความสามารถ หรือไม่ก็พอมาทำแล้วก็ออกเราจะแย่
3.ต้องหัดตีราคางานให้เป็น ต้องรู้ราคาวัตถุดิบว่า KGละเท่าไหร่คร่าวๆก็ได้ ที่สำคัญแบบต้องดูให้ขาดว่างานตัวนี้ใช้เวลวกี่ชั่วโมงในการกัดถ้าไม่งั้นก็จะเจออยู่2อย่าง ขาดทุนกับกำไรงาม
***จริงๆมีเยอะมากๆที่จะเล่าให้ฟัง แต่ตอนนี้เหมื่อยและ
สุดท้ายก็ขอให้คุณประสบความสำเร็จน่ะค่ะ การทำงานมันมีอุปสรรคทั้งนั้นเราต้องผ่านมันไปให้ได้ ถ้าจะท้อให้นึกถึงคำนี้ไว้นะค่ะว่า กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในปีเดียว
ตอนนี้คนที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ก็เปรียบเหมือนเรือที่อยากจะไปถึงจุดมุ่งหมายเร็วๆแต่ไม่รูว่าคลื่นที่อยู่ข้างหน้าจะเป็นยังไงผู้บริหารก็เหมือนหัวเรือ ถ้าหัวเรือผ่านคลื่นไปได้หางเรือก็ไปได้เหมือน
ถ้าว่างก็ Mail. มาคุยกันได้นะค่ะ sasekan_stpnano@hotmail.co.th
ความคิดเห็นที่ 12
แชล ณ บางไซร์ ลำดวน
02/03/2554
17:33 น.
เรื่องอื่นผมไม่แนะนำล่ะกันเพราะท่านอื่นน่าจะบอกไว้เยอะแล้ว ผมจะแนะนำการคิดราคาล่ะกันครับ
การประเมินราคาให้คิดจากดังนี้ครับ อันนี้จากโรงงานผมเองนะครับ ส่วนคนอื่นยังไงก้อสามารถแนะนำได้นะครับ

1. คิดงานเหล็ก อลู สแตนเลส หรือ MC Nylon ให้คิดจากดังนี้ครับ
1.1 ให้คิดจากนำหนักของวัตถุดิบ ถ้าหาน้ำหนักไม่เป็นก็ให้ลองหาจาก***เกิ้ลดูครับว่าการหาน้ำหนักคิดยังไง หาจากพื้นที่ก้อได้นะครับ จะได้ราคาวัสดุ แต่งานบางอย่างซื้อเหล็กมาเป้นชิ้นใหญ่ เพราะร้านไม่ขายชิ้นเล็ก แต่เราใช้งานนิดเดียวเหล็กที่เหลือก้อทิ้งไป ก้อต้องดูด้วยว่าจะคิดราคาจากลุกค้ารึว่าเราจะเก้บเหล็กที่เหลือเอาไว้ใช้งานอื่นต่อไป โดยคิดแต่จากราคางานที่เราจะทำก้อได้ครับ
1.2 เมื่อได้ราคาเหล็กแล้ว ก้อให้แยกไว้เป็นราคาวัสดุ จากนั้นมาคิดราคาการทำงาน โดยปกติทั่วไปก้อคิดราคาประมาณ ชั่วโมงล่ะ 800~1500 บาท อันนี้แ้ล้วแต่งานมากน้อยด้วย
เช่น ผมคิดที่ราคาชั่วโมงล่ะพัน ล่ะกัน จะได้คิดง่ายให้ดูเป็นตัวอย่างครับ

ราคาวัตถุดิบ ราคา 300 บาท
ราคาค่าแรงและเครื่องจักร คิดชั่วโมงล่ะ 1000 บาท เท่ากับ (0.1 หรือ 6 นาที = 100บาท)

ให้แยกการทำเ็นนาทีนะครับ
1.Cutting ใช้เวลา 0.05 = 50B
2.Lath --> 0.3 = 300B
3. Milling --> 0.5 = 500B
4. Inspect --> 0.1 = 100B

งานตัวนี้จึงคิดราคาอยู่ประมาณ 300+50+300+500+100 = 1250 B

ท่านสามารถเสนองานได้ที่ราคา 1250 บาทถ้างานเยอะหลายตัวก้อราคาอาจะลดลงได้ เพราะ ไม่เสียเวลา Setting เครื่องหลายที แบบว่าตั้งทีเดียวเสร็จเลย งานกลึงราคาจะถูกกว่ามิลลิ่ง เพราะทำได้เร็วกว่าครับ และอันนี้ก้อคิดลดหรือเพิ่มราคาได้ โดยดูจาก จำนวน ระยะเวลาว่าด่วนไหม และงานยากง่ายครับ ขอให้ดชคดีครับ อันนี้การคิดราคาชั่วโมงก้อแล้วแต่ท่านครับ ว่าจะเอาอันไหน ถ้าเครื่องใหม่ก้อแพงหน่อยครับ แต่ถ้าเครื่องเก่าก้อถูกหน่อยแล้วแต่ะปรับปรุงไม่มีสุตรตายตัว การลดรึไม่ก้อขึ้นอยู่แต่ล่ะกรณี ไม่มีสูตรตายตัวครับ ท่านต้องคิดเองว่าราคาขนาดนี้ท่านอยู่ได้ไหม ถ้าไม่ได้ก้อเพิ่มราคา แต่ก้อจะสู้คนอื่นไม่ได้

แต่สำคัญให้ท่านคุยกะลูกค้าเลยว่าเขาจะเอาเท่าไหร่ หรือคนอื่นเสนอเท่าไหร่ คนอื่นทำได้ ท่านก้อน่าจะทำได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ความคิดเห็นที่ 13
CNC_TECH
04/03/2554
16:13 น.
ขอบคุณทุกท่านครับ ขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ คือหากเราพร้อมแล้วจะเปิดนี่ จะต้องเปิดในลักษณะใดหมายถึงแบบ หจก. หรือแบบร้านตึกแถวสำหรับผู้เริ่มต้น แล้วก็มีขั้นตอนอย่างไร ในการยื่นเอกสารและควรจะมีเงินลงทุนเท่าใดถึงจะดี
รบกวนทุกท่านด้วยครับ

guitar_kung
ความคิดเห็นที่ 14
Sudtui
15/09/2554
16:04 น.
สวัสดีครับคุณ Guitar_kung
ผมก็เป็นอีกคนที่กำลังศึกษาและสนใจอยากจะเปิดกิจการ Machine part เช่นกัน
โดยส่วนตัวแล้วผมอยู่ในส่วนของงาน cutting tool ซึ่งก็พอจะมีความรู้ในการ set tool อยู่บ้าง แต่เรื่องโปรแกรมก็ยังไม่ค่อยเป็นเท่าไหร่เหมือนกัน
แต่ที่อยากจะแชร์ คือ อย่างที่คุณ แชล ณ บางไซร์ ลำดวน ได้แชร์เรื่องการคิดเวลา
ตรงจุดนี้บริษัทที่ขาย cutting tool ก็จะมีสูตรในการคิดเวลาอยู่บ้าง แต่เราต้องมาบวกเวลาที่ air cut ด้วย จุดนี้ผมขอแนะนำว่าถ้ามีโอกาสลองหาไปอบรมดูครับ เผื่อจะมีประโยชน์บ้าง

และผมก็อยากถามเช่นกันว่าพี่ Guitar_kung ไปอบรมการใช้ cnc ที่ไหนครับ

ยังไงก็ขอให้เริ่มได้เร็วๆนะครับ ผมก็พยายามศึกษาเพราะอยากเปิดเช่นกันครับ
โชคดีในทางของตน
ความคิดเห็นที่ 15
Mold_engineer
02/12/2554
11:01 น.
ควรเริ่มรับงาน ที่มีจำนวนไม่มาก แต่มีออร์เดอร์มาต่อเนื่อง หัดตีราคาจากงานเล็กๆ ก่อนจะดีกว่าครับ เครื่องไปหาเช่าก่อน อย่าพึ่งลงทุนซื้อเอง
ความคิดเห็นทั้งหมด 30 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
24 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD