03/12/2553 21:12 น. |
เซนเซอร์เช็คความร้อนขดลวดในมอเตอร์ มีวิธีการต่อใช้งานได้อย่างไรบ้างครับ |
04/12/2553 10:30 น. |
ต้องทราบก่อนครับว่าเป็น เซนเซอร์ประเภทอะไร ลองอ่านเนื้อหาด้านล่างดูครับ ผมได้คัดลอกกระทู้เก่ามาให้อ่าน Temperature Detector ( ตัวตรวจจับความร้อน ) ที่ใช้ในการตรวจจับความร้อนของมอเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ 1. ไบเมทอลลิค หรือ เทอร์โมสตัท ( Bimetallic / Thermostat ) 2. เทอร์มิสเตอร์ ( Thermister ) 3. อาร์ทีดี ( RTD ) 4. . เทอร์โมคัปเปิ้ล ( Thermocouple ) 1. ไบเมทอลลิค หรือ เทอร์โมสตัท ( Bimetallic / Thermostat ) เป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์ Bimetallic ทำงานเหมือนเทอร์โมสตัทของเตารีด จะถูกติดตั้งไว้ที่ขดลวดบริเวณปลายคอยล์เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะตัวมันเองจะมีหน้าสัมผัสอยู่แล้ว การใช้งานจะนำไปต่อเข้ากับชุดคอนโทรลโดยตรง (ต่ออนุกรมเข้ากับคอยล์แมกเนติก) 2. เทอร์มิสเตอร์ ( Thermister ) เป็นอุปกรณ์ตัวจับความร้อนที่ใช้สำหรับป้องกันอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่ตัวเซนเซอร์ จะทำงานร่วมกับรีเลย์ ตัวมันเองมีขนาดเล็ก และเป็นตัวตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้มากที่สุด Thermister ผลิตจากการโด๊ปสารเซมิคอนดักเตอร์ประเภทหนึ่ง ทำให้มีคุณสมบัติมีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ Thermister มีอยู่สองประเภทคือ NTC และ PTC ชนิดที่ใช้ในวงการมอเตอร์ คือ ชนิด PTC โดยมีหลักการทำงานคือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง และมีการลดลงในบางช่วงซึ่งเป็นช่วงที่ไม่อยู่ในจุดที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Thermister PTC 150 ถ้าเราให้ความร้อนที่ตัวเซนเซอร์ในช่วงแรกค่าความต้านทานของมันจะลดลงเล็กน้อย ปกติค่าความต้านทานจะอยู่ประมาณ 50 โอห์มที่ 30 องศา แต่เมื่ออุณหภูมิที่ตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้มีอุณหภูมิประมาณ 130 องศาค่าความต้านทานของมันจะเพิ่มสูงขึ้นและจะสูงชันขึ้นเกือบเป็นมุมฉาก เมื่อมีอุณหภูมิที่ตัวจับได้ 145 องศา Thermister จะถูกนำไปต่อเข้ากับ Thermister Relay ที่มีหน้าที่คอยตรวจจับค่าความต้านทานของ Thermister ว่ามีความต้านทานตามที่กำหนดไว้หรือยัง ซึ่งปกติจะอยู่ประมาณ 2700 -3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่า Thermister PTC 150 ที่อุณหภูมิ 150 องศา ตัวมันเองจะมีค่าความต้านทานที่เกินกว่าค่า 2700-3500 โอห์ม นั่นก็หมายความว่าเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 150 องศาค่าความต้านทานของ Thermister จะเป็นตัวสั่งให้ Thermister Relay ทริปวงจรออก จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าหากเราต้องการเปลี่ยนจุดทริปของวงจรควบคุมมอเตอร์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เราต้องทำการเปลี่ยนชนิดของเทอร์มิสเตอร์ ไม่ใช่ไปปรับแต่งที่ เทอร์มิสเตอร์รีเลย์ ส่วนเทอร์มิสเตอร์ประเภท วิธีการใช้งานจะนำเอาหน้าคอนแทคของเทอร์มิสเตอร์รีเลย์ ไปใช้งาน 3.RTD มีหลายประเภท ประเภทที่นิยม คือ PT100 โดยที่ PT100 มีความหมายว่า ที่อุณหภูมิ 0 องศาตัว PT100 จะมีค่าความต้านทาน 100 โอห์ม RTD ต้องใช้ร่วมกับรีเลย์เช่นกัน สามารถเซ็ทได้เป็นทั้งชุดป้องกันอุณหภูมิสูง หรือใช้วัดค่าอุณหภูมิได้เลย ข้อเสียมีราคาค่อนข้างแพง เลยมักจะใช้ติดตั้งกับมอเตอร์ที่เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่และมีแรงดันเป็นระดับ Medium Volt 4.Thermocoulple เป็นตัวตรวจจับที่ไม่นิยมใช้ตรวจจับอุณหภูมิของขดลวด เนื่องจากหลักการทำงานตัวมันเองจะผลิตแรงดันออกมา ฉะนั้นเมื่อนำไปติดตั้งในที่มีสนามเเม่เหล็กจะก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนค่อนข้างมาก จึงมักจะนิยมใช้ติดตั้งเพื่อวัดอุณหภูมิด้านนอกมอเตอร์ จำพวก แบริ่ง น้ำมันหล่อลื่น |