15/10/2553 21:49 น. |
ผมอยากจะทำ Caliper Checker ไว้ใช้งานเอง เอาไว้เช็คค่าของไฮเกจ อยากรู้ว่าเราสามารถทำใช้งานเองได้ไหม ถ้าทำได้ ควรจะ ฟิกรายละเอียดส่วนไหนอย่างไร เพื่อที่จะให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด **ถ้าไม่ได้ควรจะใช้อะไรมาเช็คค่าของไฮเกจ ดีคับ ขอบพระคุณครับ cbr supply |
16/10/2553 11:28 น. |
ปกติ Accuracy ของไฮเกจทั่วไป =>0.02mm (Range 300mm Digital type) และ => 0.04mm (Range 0-30mm Scale type) การทำหาเหล็กเพลากลม มาตัดซอย ขนาดตามที่ต้องการ ดูตามรูป กลึงขนาด ความโต ที่แตกต่างกัน ในแต่ละชิ้น เจาะรูรอย ทะลุในแต่ละชิ้น กลึงปาดหน้าเพื่อขนาดเจียร ทั้งสองด้าน ส่งไปชุปแข็ง เจียรนัยราบ ทั้งสองด้าน คุมความเรียบ และขนาดตามที่ต้องการ ได้แล้วจับมารอยเรียง กันด้วยแกนเพลา (ตัวที่เป็นฐาน อย่าลืมต๊าปเกลียวเพื่อยึดเพลา) แล้วเช็คค่าจริงอีกครั้งด้วย Cmm หรือเครื่องมืออื่นที่ดีกว่า ได้ค่าความสูงจริง แต่ละชั้น และสูงรวม ทั้งหมด เท่าไหรก็เท่านั้น Mark ค่าจริง นั้น นำไปใช้อ้างอิง กับไฮเกจได้ แค่นี้ก็มี Master Height ไว้ใช้งานดีๆ แล้ว 1 ชิ้น รายละเอียดปลีกย่อย ต่างใส่ค่าเองตามเหมาะสม |
16/10/2553 11:32 น. |
แก้ไขพิมพ์ตก Accuracy =>0.04mm Range 0-300 mm Scale type สาเหตุที่ ใช้ => เพราะมีหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน ยี่ห้อดีหน่อย ก็ <= ครับ |
18/10/2553 16:33 น. |
แล้ว ทำไม จะทำใช้เองไม่ได้ล่ะ ก็ ออกแบบเลย แล้วไปจ้างเขาเจียร แบบพิชชิ่ง จากนั้นเอามา สอบเทียบซะ มันก็ย่อมใช้ได้ อย่าไปมัวคิดว่า เครื่องมือวัด เครื่องมือในการสอบเทียบ ต้องซื้อจากผู้ผลิต อย่างเดียว เพราะผู้ผลิต หากไม่ทำการผลิตด้วย วิธีการปกติ แล้ว มันจะมีวิธีผลิตอะไร ที่ วิจิตร วิเศษ กว่ากัน ( เสก คาถา เอา ไม่ได้ หรอก นะ ไม่ใช่ ขุนแผน นา ) ทีนี้ตอน สอบเทียบ และ วัดค่า น่ะ ขณะทำการวัดนั้น มีค่า Uncert รวมของระบบเท่าไหร่ ค่า error หรือ ค่าจริง เป็นเท่าไหร่ (ความจริง ตอนสอบเทียบ ค่า error เป็นค่าแก้ เพื่อปรับค่าที่ทำมา ซะด้วยซ้ำ ) พอหา Uncer Budget ตอนวัด/สอบเทียบ แล้วว่ามันเป็นเท่าไหร่ ก็เอามันไปใช้เป็น ค่า Accuracy ของอุปกรณ์หรือ เกจ ที่สร้างขึ้น การเรียนรู้ ระหว่าง Uncer กับ Accuracy นะบางที เถียงกัน คอเป็นเอ็นเลย ไม่จบ เหมือนกับ ที่ นายไปโดนมาคราวก่อนนั่นแหละ ( กรรม ) สำหรับ ที่ Dulra Pan ออกแบบ ก็จัดว่า ง่ายในระดับหนึ่ง เพราะกลึง จะเร็วกว่า กัดมิลลิ่ง แต่ละทำแบบ กัดมิลลิ่ง แล้วไปเจียรก็ได้ เอาค่ามาตรฐาน เกจบล็อค 10 x 50 มม. ไปใช้เลย ส่วนความหนา ก็เลือกทำเอา พอ วัด และสอบเทียบ ตามหลังการถ่ายค่าแล้ว ไม่มีคำว่า "ผิด" ลองถาม นักมาตรฯ รายอื่น ในประเทศนี้ หรือ ทีไหน ดูก็ได้ ว่ากันตาม หลักการถ่ายทอดค่าทางการวัด นะ ไม่ใช่ วิธีการผลิต ความจริง ถ้าหลายคน มีความคิดแบบ จขกท. ก็ดี เราจะได้ประหยัด ตังค์ ในการนำเข้าเครืองมือวัด พัฒนาห้องวัดละเอียด ให้ทำการวัดได้ใกล้เคียงความถูกต้อง (ไม่ใช่ วัดได้ถูกต้อง คนละเรื่องกัน เพราะไม่มีหรอก ที่วัดได้ถูกต้อง และ ตรงจริงๆ) แค่นี้ เดี๋ยว ยาว |
19/10/2553 14:47 น. |
ขอบพระคุณครับ ทุกความคิดเห็นเลยน๊ะครับ แล้ว Matterial ควรจะเป็นอะไรดีครับ ขอบพระคุณครับ |
19/10/2553 21:50 น. |
Matterial ก็ตามทุนทรัพย์ จำหลักง่ายๆ เราต้องการผิวเรียบและแข็ง เราต้องชุปผิวแข็ง ก็เลือก เกรดที่สามารถชุปแข็งได้ ดูตามตาราง %C ง่ายๆ ดูตามตารางของผู้จำหน่ายเหล็ก จะมีให้เลือก สุดท้ายมันหนีไม่ออก เรื่องราคา ลองดูครับ |
20/10/2553 20:18 น. |
จะเอา แบบไหนล่ะ High carbon อย่าง SKD-11 High Alloy ถึง Tool Steel อย่าง SKH, หรือ P20, P30 หรือสแตนเลสชุบแข็ง อย่าง SUS-440C, SUS-420 หยิบมาทำได้หมดแหละ เอาค่าเฉพาะของแต่ละตัวมาใช้ด้วย ก็เท่านั้น - เรารู้ เราเข้าใจมาตรฐาน มาตรวิทยา เราวัดได้ เราควบคุมมันได้ เราทำได้ - เราไม่รู้ หรือ งูๆปลาๆ วัดได้ ควบคุมไม่ได้ ทำไป ก็โยนทิ้ง มันอยู่ที่ "รู้จริงป่ะ" เหมือนรายการช่อง 3 ไง |
22/10/2553 10:36 น. |
555 ขอบพระคุณครับ |