10/10/2553 22:35 น. |
ที่เนมเพลทมอเตอร์ระบุแรงดันว่า 380D/660Y 2900rpm 15HP,25HP ตามความเข้าใจก็คือที่แรงดัน 380V ให้ต่อ แบบเดลต้า และที่แรงดัน 660V ให้ต่อแบบ สตาร์ Y คำถามก็คือ ที่แรงดัน 380V สามารถต่อแบบ สตาร์-เดลต้า Y-D ได้หรือไม่ เพราะการต่อแบบ สตาร์ Y ที่แรงดัน 380V ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะแรงดันไม่เป็นไปตามที่เนมเพลทมอเตอร์ระบุไว้ จะทำให้มอเตอร์ร้อนมากและไหม้ได้ เพราะแรงดันไม่ถึง 660V เป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ ทีนี้เป็นไปด้หรือไม่ ที่การต่อแบบ สตาร์-เดลต้า ที่แรงดัน 380V จะเป็นสาเหตุที่ทำให้มอเตอร์ไห้มได้(สะสม)เพราะโหลดจำพวกปั๊มน้ำไม่น่าเยอะ ขอความคิดเห็นจากท่านผู้รู้ท่านอื่นด้วยครับ ขอบคุณครับ |
11/10/2553 07:45 น. |
- ตามความเข้าใจก็คือที่แรงดัน 380V ให้ต่อ แบบเดลต้า และที่แรงดัน 660V ให้ต่อแบบ สตาร์ Y ตรงนี้คุณเข้าใจถูกต้อง - คำถามก็คือ ที่แรงดัน 380V สามารถต่อแบบ สตาร์-เดลต้า Y-D ได้หรือไม่ การสตาร์ทแบบสตาร์เดลต้า สามารถทำได้ และโดยทั่วไปสำหรับปั๊มน้ำก็มักจะสตาร์ทด้วยวิธีนี้ การสตาร์ทแบบสตาร์ เดลด้าเป็นการสตาร์ทแบบวิธีลดแรงดันวิธีหนึ่ง กล่าวคือเมื่อมอเตอร์เริ่มออกตัวหรือเริ่มสตาร์ท มอเตอร์จะถูกต่อเป็นแบบสตาร์และแรงดันที่จ่ายเข้าขดลดจะเป็น380V ซึ่งคิดเป็น 58% ของแรงดันพิกัดสำหรับการต่อแบบสตาร์ (แรงดันถูกลดไป 42%) หลังจากนั้นเมื่อมอเตอร์มีความเร็วประมาณ 80% ของความเร็วซิงโครนัสสปีด มอเตอร์ก็จะเปลี่่ยนไปเป็นการต่อแบบเดลต้า แรงดันที่จ่ายจะเป็น 100% ของการต่อแบบเดลต้า สาเหตุที่เขาสตาร์ทด้วยวิธีนี้ก็เพื่อที่จะลดกระแสขณะสตาร์ทซึ่งจะเหลือประมาณ 34% หรือ 1ใน 3 ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของการสตาร์ทด้วยวิธีนี้ ส่วนข้อด้อยของวิธีคือ มอเตอร์จะให้ทอร์คขณะสตาร์ทต่ำ ข้อด้วยของการสตาร์ทด้วยวิธีหากนำไปสตาร์ทกับโหลดทึ่ต้องการทอร์คคงที่ที่มีค่าสูงๆ มอเตอร์จะสตาร์ทไม่ออก แต่ถ้าเป้นปั๊มน้ำซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะต้องการทอร์คขับเคลื่อนช่วงออกตัวค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการสตาร์ทด้วยวิีธีนี้จึงไ่ม่มีปัญหา สาเหตุที่มอเตอร์ไหม้บ่อย แนะนำให้สังเกตุว่ามอเตอร์สตาร์และหยุดบ่อยไปหรือไม่ ถ้าสตาร์ทและหยุดบ่อย ก็ควรปรับตั้งสวิตซ์ความดันให้เหมาะสม และที่สำคัญคือการปรับตั้งโอเวอร์โหลด ให้สังเกตุวงจรว่าโอเวอร์โหลดต่อแบบใด ต่อแบบวัดกระแสไลน์ หรือวัดกระแสเฟส และควรตั้งให้ถูกต้อง |
11/10/2553 14:40 น. |
กระแสไลน์ กับ กระแสเฟส ตามความเข้าใจของผมนะครับ กระแสไลน์ ก็คือการต่อโอเวอร์โหลดที่ด้าน K1 ก็คือส่วนที่จ่ายแรงดันเมน On ตลอดใช่หรือไม่ กระแสเฟส ก็คือด้าน แมก K2,K3 ที่สลับ On เป็นสตาร์-เดลต้าใช่หรือไม่ และการคำนวนกระแสด้านไลน์กับด้านเฟส ค่าที่ถูกต้องที่สุด ควรจะคำนวนอย่างไร ขอบคุณมากครับ |
11/10/2553 16:26 น. |
ปกติกระแสบนแผ่นป้ายจะบอกมาสองค่า ตัวอย่างเช่น 58/100A กระแสสูง (100A) จะเป็นกระแสของการต่อแบบเดลต้า ส่วน 58A จะเป็นกระแสของการต่อแบบสตาร์ กระแสแบบสตาร์จะมีค่าเป็น 58% ของกระแสแบบเดลต้า ดังนั้ืนถ้าโอเวอร์โหลดติตตั้งหลัง K1 ซึ่งเป็นการตรวจจับกระแสไลน์ เราก็จะตั้ง 100A แต่ถ้าติดตั้งหลัง K2,K3 ก็จะเป็นกระแสเฟส เราก็จะตั้ง 58A กระแสจะต่้างกันอยู่ 42% ตามอัตราส่วนของแรงดันที่ต่างกัน หลักการคือ ไม่ว่าจะต่อแบบสตาร์หรือเดลต้า มอเตอร์จะให้กำลังคงที่ ดังนั้น ถ้าใช้โวลท์สูงกระแสก็จะต่ำ ใช้โวลท์ต่ำกระแสจะสูง |
12/10/2553 08:22 น. |
แก้ไขเป็น ดังนั้ืนถ้าโอเวอร์โหลดติตตั้งหน้า K1 ซึ่งเป็นการตรวจจับกระแสไลน์ เราก็จะตั้ง 100A เพื่อความชัดเจนให้ดูรูปประกอบ |
12/10/2553 12:44 น. |
ขอถามพี่เสือต่อนะครับ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ เวลาสตารท์มอเตอร์ ช่วงสตราท์แบบ สตารท์ คอนโทรล ทำงานปกติ แต่พอคอนโทรลสับเปลี่ยนเป็น เดลต้า ฟิวส์คอนโทรลเมนจะขาด ลองถอดสายมอเตอร์ออก รันเฉพาะคอนโทรลเปล่าช่วงสับเปลี่ยนจาก สตารท์ เป็นเดลต้า แมกเนติกก็ทำการสับเปลี่ยนปกติไม่มีช่วงจังหวะค้างหรือสดุด คิดว่าช๊อตคอนโทรลภาคเพาเวอร์ ไล่เช็คการต่อสายแบบเดลต้าดู L1k1เข้าU1 L1k2เข้าW2 L2k1เข้าV1 L2k2เข้าU2 L3k1เข้าW1 L2k2เข้าV2 ผมคิดว่าถูกต้องนะครับ ส่วนด้าน K3 เป็นรันแบบสตาร์ไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะเป็นการรวมปลายสาย -ถ้าสายเพาเวอร์วายถูกปัญหาน่าจะเกิดจากไหนได้บ้าง -เป็นไปได้ไหมครับว่าสายภาคเพาเวอร์อาจมีปัญหาแรงดันผ่านได้ไม่เต็มที่ วัดแรงดันดู 3 เฟส ได้ 384-386 ช่วยแชร์ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ ***รูปที่แนบมาดูไม่ได้ครับ**** |
12/10/2553 12:49 น. |
พิมพ์ผิดครับ สตาร์ ไม่ใช่ สตาร์ท ครับ |
12/10/2553 18:43 น. |
ปัญหาฟิวส์ขาดช่วงเปลี่ยนจากสคาร์ เป็นเดลด้า ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการตั้งไทเมอร์ ไม่เหมาะสม การเปลี่ยนจากสตาร์ไปเป็นเดลต้า ควรเปลี่ยนช่วงที่มอเตอร์มีความเร็วไม่ต่ำกว่า 80% ของความเร็วพิกัด เพราะถ้าหากเปลี่ยนจากสตาร์เป็นเดลต้าเร็วเกินไป จะทำให้วงจรทำงานเหมือนวงจร direct on line (DOL) ทำให้กระแสขณะสตาร์ทสูงและทำให้ฟิวส์ขาดได้ และที่สำคัญเราจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการสตาร์ทแบบสตาร์เดลต้า ดูรูปประกอบ |
12/10/2553 18:53 น. |
จากรูปจะเห็นว่าหากมีการเปลียนจากจากสตาร์ไปเป็นเดลต้าในขณะที่ความเร็วยังต่ำๆอยู่ จะทำให้เกิดกระแสสูง หรือ current surge ซึ่งไม่ต่างกับการสตาร์ทแบบ DOL วิธีที่ถูกต้องควรตั้งไทเมอร์ให้เปลี่ยนจากสตาร์เป็นเดลต้าที่ความเร็ว 80% ขึ้นไปดังรูป |
13/10/2553 00:11 น. |
พอมีวิธีคำนวณที่ถูกต้องหรือใก้ลเคียงบ้างไหมครับ ขอบคุณมากเลยครับ |
13/10/2553 09:57 น. |
ไม่รู้ว่า ฟิวส์คอนโทรลเมนขาด หมายความว่าอย่างไรครับ ฟิวส์่ของชุดคอนโทรล หรือ ฟิวส์ของชุดเพาว์เวอร์จ่ายไฟครับ ส่วนหนึ่งจากประสบการ์ณก็คือ ในขณะที่มอเตอร์เปลี่ยนจากสตาร์ เป็นเดลต้า ระบบจะกินกระแสสูงทำให้มีแรงดันตก ถ้านำชุดไฟจ่ายคอนโทรล ไปเกาะกับชุดเพาว์เวอร์ คอยล์แมกเนติกจะทำงานไม่ปกติ จะกระพือ และส่งผลให้มอเตอร์กระแสสูง เพราะไฟเดินผ่านหน้าสัมผัสแมกเนติกไม่สะดวก ปัญหานี้จะเกิดเมื่อชุดคอนโทรลอยู่ใกล้มอเตอร์ และ อยู่ปลายสายของระบบจ่ายของโรงงาน พอดีมีประสบการ์ณอยู่บ้างเลยมาแชร์ให้ฟังเผื่อจะตรงอยู่บ้าง |
13/10/2553 11:23 น. |
ฟิวส์ที่ขาดเป็นฟิวส์ชุดเพาเวอร์จ่ายไฟตรง R S T ผ่านแมก K1,K2 คอนโทรลมอเตอร์โดยตรงครับ ส่วนฟิวส์คอนโทรลต่อแยกจากเบรคเกอร์เมนต่างหาก ถ้าเป็นช๊อตจากการ Wrie สายภาคเพาเวอร์ ก็ไล่เช็คดูตามหัวข้อด้านบนก็คิดว่าถูกต้องแล้ว ก็เลยคิดว่านอกจากระบบคอนโทรลจะมีปัญหาแล้ว เป็นไปได้ไหมครับว่า มอเตอร์ไม่สามารถที่จะสตาร์ท star-delta ได้ ลองต่อ Direc แบบ delta แรงดัน กระแส ก็ใช้ได้ปกติ ต่อแบบ star ก็ run ได้ กระแสก็ปกติ แต่ run นานไม่ได้ มอเตอร์ร้อน เพราะแรงดัน แค่ 380V เป็นมอเตอร์ของ Itali (อิตาลี) |
13/10/2553 12:35 น. |
ตามความคิดเห็น มอเตอร์สามารถ สตาร์ท สตาร์ รัน เดลต้าได้อย่าางแน่นอน และคิดว่าน่าจะเป็นที่ชุดควบคุม ครับ ลองตรวจเช็ค ตามตัวอย่างที่ผมเล่าให้ฟังดู โดยเฉพาะจุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนจากสตาร์ เป็นเดลต้า เช่น ไทเมอร์ แมกเนติก K3 (ตัวเดลต้า ) และแรงดันเข้าคอยล์แมกเนเติกขณะเปลี่ยน ซึ่งจริงๆ ฟังเสียงการทำงานดูจากในตู้ก็น่าจะรู้ |
14/10/2553 11:10 น. |
1.มอเตอร์ที่เอา ไปขับปั๊มน้ำ กินกระแสอยู่เท่าไหร่...................... หากกระแสเกิน หรือเกือบ Max ให้หรี่วาล์ว ทางจ่ายปั๊ม ลง นิดหน่อย ให้พอเหมาะ กับ น้ำที่จ่ายไป 2.ตั้งโอเวอร์โหลดสูงไปไหม ขนาดของโอเวอร์โหลด แบบ สตาร์-เดลต้า ต้องหาร รูท 3 จากกระแสเต็ม 3.มอเตอร์ที่ ไหม้ ไหม้แบบไหน เพราะการไหม้ แต่ล่ะรูปแบบ จะระบุสาเหตุได้ |