27/09/2553 14:21 น. |
สงสัยครับอาจารย์ ทำไมเราเรียกเกลียวท่อว่า เช่น ตัวอย่าง PT 3/8",PT 1/2" แต่ในตารางโลหะและ คู่มือของ misumi หน้าหลัง เรียกว่า R 3/8",R 1/2" ไม่เข้าใจครับอาจารย์ |
27/09/2553 15:25 น. |
เกลียว นิ้ว จะมี ปัญหาเล็กน้อย จอนใช้งาน เนื่องจาก การกำหนดขนาด เรียกกัน หากเป็น เหล็กตัน หรือ สลักเกลียว ทั่วไป เราจะพบว่า ขนาดวัดได้ ตามที่ ปรากฎ ตามสูคร คำนวณ เช่น 1/2" = 12.7 มม. 1" = 25.4 มม. ส่วนระยะพิช คือ จำนวนเกลียวต่อฟัน แต่เนื่องจาก ท่อ ส่วนใหญ่ ตลาดเรียกขาน กัน ในลักษณะรูในของท่อ คือ ท่อมีรูใน 1 นิ้ว เป็นเหตุให้ ผิวนอกของท่อ มีขนาดโตกว่า 1 นิ้ว แล้วแต่ ลักษณะของท่อ หรือ มาตรฐานของท่อ ที่ความหนาของท่อไม่เท่ากัน เข้าใจว่า ในยุโรป จะใช้สัญญาลักษณ์ R,G สำหรับกลุ่มที่เป็น ท่อ ส่วน เกลียวนิ้วปกติ จะเป็น W (มาจาก วิตเวอท์) แต่ใน อเมริกา กำหนดตัวย่อจาก คำว่า เกลียวท่อ (Pipe Thread) จึงเป็น PT ทีนี้ ท่อ ดันมีเรื่องยุ่งอีก คือ มีการรับแรงดันหรือไม่ มีเกลียวท่อด้านใน ที่เป็นเกลียวตรง ด้านนอก ของท่อ จะเป็น เทเปอร์ ส่วนการรับแรงดัน นั้น องศา และ วิธีการใช้ร่วมอาจต่างกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ ว่าแรงด้น ขนาดไหน ใช้กับกลุ่มอะไร น้ำ หรือ แก๊ส อีก ญี่ปุ่น หรือ JIS นั้นเดิมยกเอกสารมาตรฐานของกลุ่ม เยอรมันมาใช้ ขณะเข้าร่วมเป็น พันธมิตร สมัยสงครามโลก แม้ว่า อเมริกา จะมาช่วยฟื้นฟู ก็ไม่สามารถเปลี่ยน เอกสารเดิมๆ ที่ถูกสร้างไว้แล้ว เพราะ เมกา เองก็ เจ้ากี่เจ้าการผลักดัน ให้สร้างระบบ เมตริก ในองค์กร ISO แต่ ดันใช้ หน่วยนิ้ว ในประเทศตัวเอง ก็เป็นเรื่องแปลกอีก ที่ไม่เข้าใจเหมือนกัน เลยมีเรื่องราว บ้าบอ อีกเยอะแยะ ในหน่วยงานทาง วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และ ดาราศาสตร์ ที่ทาง เมกา ทำร่วมกับ ชาวบ้าน ในอดีต ขอแค่นี้ เพราะไม่ได้ เปิดเอกสาร ประกอบ อาจมีผิดพลาดบ้างเล็กน้อย |
27/09/2553 18:36 น. |
ขอบคุณครับ อาจารย์ |