06/06/2547 00:39 น. |
Power Factor ปรับปรุงแล้วประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าหรือไม่<br><br>เดา1.) เนื่องจากว่ามันมีชื่อว่า Watt-Hour meter หรือ kWatt-Hour meter ดังนั้นน่าจะเข้าใจได้ว่ามันอ่านค่าพลังงานเฉพาะในแนวแกน X ดังนั้น การปรับปรุง PF. จะไม่มีผลต่อค่าพลังงานที่บันทึกในมิเตอร์ ทำให้การปรับปรุง PF ไม่ได้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้า แต่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขายไฟฟ้าเท่านั้น<br><br>สันนิษฐาน 2.) kWatt-Hour meter จริงๆแล้วอ่านค่าพลังานไฟฟ้าเป็น VA, kVA จึงมีการส่งเสริมให้ปรับปรุง PF โดยให้เหตุผลกับลูกค้าว่าจะช่วยประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า ในกรณีนี้จะมีประโยชน์ด้วยกันทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตไฟฟ้า<br><br> |
07/06/2547 10:20 น. |
ผมคิดว่าจริงครับที่การปรับปรุงค่า pf เป็นการลด VA แต่ไม่ได้ลดค่า load Watt ลงทำให้ยังคงได้ผล kWH(kilo Watt-Hour)เท่าเดิมดังนั้นผู้ใช่จะต้องเสียค่าไฟฟ้าส่วนนี้เท่าเดิม |
10/06/2547 20:44 น. |
ค่า PF ต่ำ นั่นหมายถึงประสิทธิภาพของไฟฟ้าต่ำ<br>ถ้าค่า PF ต่ำระบบก็จะดึง Apparent Power จาก distribute equipment เพิ่มขึ้น<br>และถ้าหาก PF ไม่ได้รับการแก้ไข แหล่งจ่ายไฟก็จะต้องผลิต Reactive Power เพิ่มขึ้นเท่าๆกับ Active power <br>ผลลัพธ์ซึ่งเป็นคำตอบสุดท้ายก็คือคุณก็ต้องเพิ่มขนาดของ distribute equipment หย่ายขึ้น<br>เช่นหม้อแปลงของคุณก็จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นกรณีจ่ายกระแสเท่าๆกัน <br>ค่าการสูญเสียในอุปกรณ์ก็สูงขึ้น<br> |
14/06/2547 16:08 น. |
ตอบที่คุณ เดาไว้ข้อ 1 ที่เขียนมาจริง แต่การประหยัดหลังจากปรับปรุง PF คือ 1. สามารถลดขนาดหม้อแปลง และสายไฟได้ เหมือนคำตอบที่ 2 ช่วยลด investment cost ได้ 2. ลด loss ลงเพราะกระแส apparent ลดลงทำให้ loss ทั้ง copper loss และ core loss ลดลง <br>ตอบข้อ 2 ที่สันนิษฐาน คุณเข้าใจผิดเรื่อง kwh meter มันใช้วัด kwh เท่านั้นไม่เกี่ยวกับ kVA แต่เนื่องจากการไฟฟ้าต้องการลดขนาด distribution equipment ไม่ว่าจะเริ่มจาก generator สายส่ง หม้อแปลง จึงคิดเงินผู้ใช้ไฟที่ไม่ควบคุม kVar และการไฟฟ้าก็ยังบอกผลดีเมื่อปรับปรุง PF แล้วจะลด loss ด้วย จึงเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ทั้ง สองฝ่าย |
16/06/2547 19:31 น. |
หาก PF ต่ำ จะถูกปรับจากาการไฟฟ้า ค่าkVAR งัยครับจะประหยัดตรงนี้ด้วย |
24/06/2547 16:41 น. |
Read this article<br><a href="http://www.9engineer.com/9ee_main/9ee_PF.html" Target="_BLANK">http://www.9engineer.com/9ee_main/9ee_PF.html</a> |
03/07/2547 22:04 น. |
kW = V x I x pF<br>pF สูงขึ้น -> I ลดลง -> loss ลดลง |
18/02/2549 11:35 น. |
ความจริงแล้วถ้าเราต่อคาปาวิเตอร์แบบอนุกรมลงไปในวงจร จะทำให้ค่าเพาเวอร์ แฟตเตอร์ลดลง เมื่อค่านี้ลดลงจะทำให้กระแสน้อยลง แต่กำลังไฟฟ้าเท่าเดิม แล้วค่าไฟที่เราจ่ายใช้วัดจากกำลังไฟฟ้า ดังนั้น มันน่าจะจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิม เพียงแต่ลดกระแสไฟฟ้าทีไหลผ่านวงจรลงได้ และช่วยประหยัดกระแสไฟฟ้าภายในบ้านไดเท่านั้นเองไม่ใช่เหรอครับ ( เด็กใหม่ ) |
23/06/2550 23:06 น. |
ผมว่าจริงนะครับ ที่สามารถจะประหยัดไฟฟ้าได้ เพราะตอนนี้ผมศึกษาเรี่องการปรับปรุงค่า p.f. อยู่นะครับ |
30/06/2550 15:10 น. |
ความจริงแล้วการปรับค่าPF สามารถลดค่าไฟฟ่าได้เนื่องจาก PF คือkW หารด้วย kVA ถ้าเป็น 1 คือ PF 100% ซึ่งในโรงงานถ้าต่ำกว่า 85 % จะเสียค่าปรับตามอัตราส่วน แล้วก็PF จะบอกถึงประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้านั้นๆด้วย<br>สรุปว่า ค่าPF ยิ่งมาก ยิ่งดี<br><br>คำตอยที่8 ที่บอกว่า "ถ้าเราต่อคาปาวิเตอร์แบบอนุกรมลงไปในวงจร จะทำให้ค่าเพาเวอร์ แฟตเตอร์ลดลง " นั้น "ผิดครับ"<br>เพราะถ้าต่ออนุกรมกระแสจะไหลผ่านคาปาวิเตอร์ มันก็จะ"ระเบิด" ต้องต่อแบบ"ขนานกับวงจร" แล้วเมื่อต่อขนานค่าเพาเวอร์ แฟตเตอร์จะ"เพิ่มขึ้น" จะทำให้ค่าไฟลดลง<br><a href="mailto:Ao_udon@hotmail.com" Target="_BLANK">Ao_udon@hotmail.com</a><br><br> |
30/06/2550 15:12 น. |
ความจริงแล้วการปรับค่าPF สามารถลดค่าไฟฟ่าได้เนื่องจาก PF คือkW หารด้วย kVA ถ้าเป็น 1 คือ PF 100% ซึ่งในโรงงานถ้าต่ำกว่า 85 % จะเสียค่าปรับตามอัตราส่วน แล้วก็PF จะบอกถึงประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้านั้นๆด้วย<br>สรุปว่า ค่าPF ยิ่งมาก ยิ่งดี<br><br>คำตอยที่8 ที่บอกว่า "ถ้าเราต่อคาปาวิเตอร์แบบอนุกรมลงไปในวงจร จะทำให้ค่าเพาเวอร์ แฟตเตอร์ลดลง " นั้น "ผิดครับ"<br>เพราะถ้าต่ออนุกรมกระแสจะไหลผ่านคาปาวิเตอร์ มันก็จะ"ระเบิด" ต้องต่อแบบ"ขนานกับวงจร" แล้วเมื่อต่อขนานค่าเพาเวอร์ แฟตเตอร์จะ"เพิ่มขึ้น" จะทำให้ค่าไฟลดลง<br><a href="mailto:Ao_udon@hotmail.com" Target="_BLANK">Ao_udon@hotmail.com</a><br><br> |
01/10/2550 15:15 น. |
การประหยัดค่าไฟ เท่าที่ผมรู้มาเราสามารถที่จะลดค่าไฟฟ้าลงได้<br>ในกรณีที่1 ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยหรือในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีแรงดันไฟฟ้า 220V/380V สามารถที่จะลดค่าไฟฟ้าลงได้โดยการติดตั้งคาปาซิเตอร์หรือ (Cap bank)ในตำแหน่งตู้ควบคุมไฟฟ้าก่อนที่เราจะติดตั้งคาปาซิเตอร์นั้นเราต้องรู้ก่อนว่าในทุกๆวันงานที่เราทำมีอะไรบ้าง แล้วต้องใช้กำลังไฟฟ้า(P)ในแต่ละวันเท่าไหร่<br>ในกรณีที่2 ถ้าเป็นแรงดันไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม คุณจะต้องเผื่อแรงดันกระชากของหม้อแปลง 30% ไม่เช่นนั้นตัวคาปาซิเตอร์มีหวังตูม(ระเบิด)แน่ๆ<br>ในกรณีที่3การติดตั้งตัวคาปาซิเตอร์จะต้องต่อขนานเข้ากับวงจรเพื่อลดแรงดันสูญเสีย(Q)ที่มีหน่วยเป็นวาร์(kVAR)เพื่อเพิ่มมุมระหว่างแรงดันกับกระแส(P.F)ให้มีค่ามากขึ้นซึ่งในระบบจำหน่ายไฟฟ้า(กฟผ.,กฟน.)ที่ส่งจ่ายตามสายไฟมานั้นค่าP.F.0.85-0.95 แล้วแต่ถ้าเราทำให้ค่าP.F.มีค่าเท่ากับในทางปฎิบัติเป็นไปได้ยากมากครับ<br><br><a href="mailto:te_lotte_@hotmail.com" Target="_BLANK">te_lotte_@hotmail.com</a><br><br> |
24/03/2551 10:28 น. |
เถียงกันทำฆวย? |
16/03/2552 15:58 น. |
พ่อ YOu ตายหรอ Sud บอกกันดีๆก็ได้ |
15/07/2552 13:02 น. |
การปรับปรุงค่า PF ให้สูงขึ้นสามารถลดกระแสไฟฟ้าลงได้ ดังนั้นจะทำให้ Copper loss ในหม้อแปลงลดลงด้วย เป็นผลทำให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าด้านPrimary ของหม้อแปลงลดลง แต่ด้าน Secondary ยังต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่าเดิม แล้วมิเตอร์ไฟฟ้าติดตั้งอยู่ด้านไหนกันครับ แต่ที่แน่ๆ ค่า PF ต่ำมากไปก็โดนค่าปรับกันแล้วครับจริงไหม |
10/09/2552 21:32 น. |
ขอบคุณคับ |