Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,796
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,169
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,455
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,452
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,911
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,028
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,003
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,292
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,143
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,816
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,770
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,970
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,314
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,814
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,158
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,050
17 Industrial Provision co., ltd 39,847
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,797
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,711
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,039
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,971
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,319
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,738
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,466
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,973
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,966
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,345
28 AVERA CO., LTD. 23,100
29 เลิศบุศย์ 22,060
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,818
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,710
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,326
33 แมชชีนเทค 20,313
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,573
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,542
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,282
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,961
38 SAMWHA THAILAND 18,738
39 วอยก้า จำกัด 18,405
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,976
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,821
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,757
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,723
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,668
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,599
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,593
47 Systems integrator 17,154
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,098
49 Advanced Technology Equipment 16,932
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,896
30/12/2552 20:13 น. , อ่าน 4,114 ครั้ง
Bookmark and Share
สอบถามเรื่องการ กัดเจาะด้วย EDM ครับ

30/12/2552
20:13 น.
ผมมีชิ้นงานเป็นเหล็ก SKD61 ซึ่งมี 3 สถานะ คือ 1.เหล็ก skd61 ธรรมดา 2.เหล็ก skd61 ชุบน้ำมัน 3.เหล็ก skd61 ชุบน้ำ ผมต้องการหาค่าความหยาบผิว ที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน ก็จะมีค่าตัวแปรคือ กระแสที่ใช้ โวลต์ที่ใช้ กัดเจาะลึก 3 มม. ใช้อิเล็คโทรดเป็น ทองแดง ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มม. ปัญหาคือ ตอนนี้เครื่อง edm ที่ใช้ เป็น Mitsubishi M25J ซึ่งผมไม่มีข้อมูลการใช้เครื่องว่าต้องตั้งค่าอย่างไร จากการเปิด คู่มือ จะมีตารางที่เป็นค่ามาตรฐานที่ให้เลือกการใช้งาน จึงไม่รู้ว่าจะใช้ค่าไหน ผมจึงอยากจะขอคำแนะนำจากพี่ๆที่ทำงานด้านนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการทดลองครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 10 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1

02/01/2553
01:38 น.
งง ครับ <br>ต้องการทดลอง หาค่าความหยาบ ของ ผิว EDM <br>โดยทำการเจาะ มีตัวแปรเป็น กระแส หรือ โวลท์ ที่ใช้ <br>แต่ ตั้ง ค่า ไฟ ไม่ ถูก อย่างงั้น หรื อ<br><br>แล้ว จะเรียกว่า การทดลอง ได้ อย่างไร ครับ <br>ถ้า คุณ ไม่ตั้ง ค่า ไฟ ไปเรื่อย ๆ เพื่อ หา ความแตกต่าง ของ การปรับ ค่า การทำงาน ของระบบ <br><br>ค่า มาตรฐาน จากตาราง คู่มือเครื่อง จะมาพร้อมกับ ค่าความหยาบผิว ที่ส่วนใหญ๋ มักเป็น ค่า VDI โดยมีแผ่นเทียบความหยาบผิวของเครื่องติดมาให้ <br>แต่ ไม่ใช่ ค่าตามการวัด แบบ DIN/ ISO <br>ที่ระบุเป็น Ra , Rz, Rmax <br>
ความคิดเห็นที่ 2
EDMER
04/01/2553
12:16 น.
*o* คุณ game60 ครับ ผมว่าน่าจะตั้งโจทย์ใหม่ให้ตัวแปรน้อย ๆ หน่อยเพราะมันกว้างมากในเชิงการทดลอง เพราะต้อง clear ก่อนว่า<br>1. จะหาค่าความแตกต่างของความเรียบผิวของเหล็กเกรดนี้ที่มีคุณสมบัติทั้ง 3 แบบ หรือว่า<br>2. จะทำแผ่นความเรียบผิว? <br>ถ้าเป็นแบบ 1. ควรกำหนดกลุ่มค่าความเรียบผิวในช่วงที่ต้องการ 3 – 5 กลุ่มก็ได้ เช่น หยาบสุด /หยาบ/ กึ่งละเอียด/ และละเอียดเป็นต้น ซึ่งเราไม่ต้องไปกังวลเรื่องพารามิเตอร์มาก พวก กระแส ON/OFF หรือ Voltage Gap เพราะเราก็จะมีชุดค่าไปที่ให้ผลแตกต่างกันอยู่ 4-5 แบบอย่างที่บอก สำหรับเหล็ก 3 ชิ้น การตั้งค่าพารามิเตอร์ชุดนึงจะได้ผลในลักษณะเดียวกัน สำหรับค่าผิวมาตรฐานไหน ไม่ต้องห่วงคำนวณกลับมาหากันได้ครับ <br>แต่ถ้าเป็นแบบที่ 2. อันนั้นแหละงานจะเยอะมาก เพราะตัวแปรไม่ใช่แค่เหล็ก 3 ชิ้นแต่จะมีพารามิเตอร์อีก 3-4 ตัวที่ต้องทำความเข้าใจมันก่อน รวมไปถึงการ setting อีก 3-4 อย่าง ที่จะทำให้ได้ค่าผิวแตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ เลย 2 พารามิเตอร์ที่ทำให้ผิวแตกต่างกันคือ ค่ากระแส (IP) และ ON time ครับ เรื่อง Voltage ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเรียบผิวโดยตรงครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้คุยกันยาว เพราะเอาไปใช้กับเครื่องยี่ห้อไหนก็ได้<br>***** แต่สุดท้ายผมอยากแนะนำว่า ถ้าต้องการอย่างข้อ 1. คุณจะไม่เห็นอะไรอย่างชัดเจนเลยด้วยเครื่องมือที่คุณมีอยู่ ซึ่งผลของการทดลองจะเหมือนกันหมด !!! ถ้าใช้เครื่อง surftest แบบ Stylus แม้แต่แบบ Laser อาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แค่ sub ไมครอนซึ่งเราก็ตัดสินไม่ได้อีกว่ามาจากพารามิเตอร์ของการวัดหรือเปล่า ฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องผิวภายนอกถึงชั้น Heat Effect zone ในเนื้อก็ควรใช้ SEM จะชัดกว่า<br>
ความคิดเห็นที่ 3

04/01/2553
12:40 น.
ขอบคุณ คุณEDMER <br>วัตถุประสงค์ที่ใช้ในการทดลองคือ<br>1.เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปร (Parameter) ที่มีผลต่อคุณภาพของการแปรรูปหรือความเรียบผิวงาน<br>2. เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปร (Parameter) ที่มีผลต่ออัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรด<br><br>ปัญหาของผมตอนนี้คือ เครื่องที่ใช้ทดลอง (เครื่องเดิม ซึ่งสามารถตั้ง กระแส โวลท์ ontime/offtime ได้ ฯลฯ) ต่อมามันเสียและให้ช่างมาซ่อม แล้วซ่อมไม่ได้ <br> ผมจึงต้องเปลี่ยนมาใช้เครื่องอื่นในการทดลอง ซึ่งการใช้งานมันแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ และจากการหาข้อมูลของเครื่อง ตอนนี้ยังไม่เข้าใจว่า ชุดมาตรฐานที่ในคู่มือมีให้ มันคืออะไรบ้าง เดี๋ยวผมจะ scan รูปให้ดูอีกที<br><br>ตอนนี้ผมจะต้องทำ Pirot เพื่อหาค่าก่อน ว่า พารามิเตอร์ที่ใช้ ใช้ได้หรือไม่ <br><br>1. พารามิเตอร์ V แทนค่าแรงดันไฟฟ้ากำหนดระดับไว้ที่<br> V1 แทนค่าแรงดันไฟฟ้าที่ 21 โวลต์<br> V2 แทนค่าแรงดันไฟฟ้าที่ 30 โวลต์<br> V3 แทนค่าแรงดันไฟฟ้าที่ 45 โวลต์<br>2. พารามิเตอร์ แทนค่าเวลาในการอาร์คกำหนดระดับไว้ที่<br> on 1 แทนค่าเวลาในการอาร์คที่ 700 <br> on 2 แทนค่าเวลาในการอาร์คที่ 900 <br> on 3 แทนค่าเวลาในการอาร์คที่ 1,200 <br>3. พารามิเตอร์ M แทนชนิดของโลหะขึ้นรูป กำหนดระดับไว้ที่<br> M1 แทนชนิดของเหล็กเกล้า SKD 61 ในสภาพปกติ<br> M2 แทนชนิดของเหล็กเกล้า SKD 61 ที่ผ่านกรรมวิธีชุบแข็งด้วยน้ำ (โดยการอบที่อุณหภูมิ 1,010 &amp;#186;C ในเตาแล้วทำให้เย็นลงโดยการจุ่มน้ำ)<br> M3 แทนชนิดของเหล็กเกล้า SKD 61 ที่ผ่านกรรมวิธีชุบแข็งด้วยน้ำมัน (โดยการอบที่อุณหภูมิ 1,010 &amp;#186;C ในเตาแล้วทำให้เย็นลงโดยการจุ่มน้ำมัน)<br>
ความคิดเห็นที่ 4
EDMER
04/01/2553
16:40 น.
โอเค ครับ เป็นเรื่อง ผิวกับเรื่องอิเล็กโทรดสึกหรอ สรุปให้ละกันนะครับ ว่า กลุ่มที่ 1 เรื่อง โวล์เตจ ไม่ได้เกี่ยวข้องทั้งเรื่องผิวกับเรื่องสึกหรอแต่จะเป็นเรื่องของความเสถียรในการ Discharge คือเรื่องความเร็วมากกว่า ซึ่งต้องพิจารณาที Open Voltage สำหรับค่า V ที่บอกมานั่นเป็น Discharge Voltage ก็เป็นเรื่องการ Transfer กระแสให้เพิ่มลดเล็กน้อยจากค่ากระแสเฉลี่ยต่อเวลา (di/dt ) กลุ่มที่ 2 ถ้าหมายถึง ON Time ความยาวรูปคลื่น ตัวนี้มีผลเรื่องผิวกับอัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรดโดยตรง แต่.. ถ้าค่าที่ระบุมาเป็นความยาว pulse ที่หน่วยเป็นไมโคร sec. ละก็ มันมากเกินไปและค่าผิวที่ได้มันจะหยาบมาก ๆ ถ้ากระแสสูง ส่วนเรื่องสึกหรอไม่ต้องห่วงแทบไม่สึกให้เห็นเลยถ้าสปาร์คได้นะ จริง ๆ แล้วต้องไปดูค่า Duty% ซึ่งมาจากสัดส่วนของ ON:OFF อีกทีนึง ว่าแต่จะเอากระแสกี่แอมป์ล่ะ ส่วนพารากลุ่มที่ 3 เชื่อเหอะว่าเรื่องผิวกับเรื่องสึกหรอไม่ต่างกันหรอกครับ นอกจากจะเห็น Micro Cracking ที่ผิวมากกว่า ไม่แน่ใจว่าชุบเองหรือเปล่า มีการทำ Temper มั้ย *** ในต่างประเทศส่วนใหญ่ศึกษากันที่ Mat ชนิดเดียวสำหรับเริ่มต้นเพราะ EDM มันมีพารามิเตอร์ให้หาเยอะอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาเรื่องคุณสมบัติ Mat. เป็นหลัก เราก็ต้องคุมพาราของ EDM ให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งผมเห็นว่าก็มีแต่ค่ากระแส IP กับความยาวรูปคลื่น ON ที่ต้องศึกษาครับ ลองเปลี่ยนโจทย์ใหม่ละกันครับ
ความคิดเห็นที่ 5

04/01/2553
22:47 น.
เหล็กผมซื้อมาแล้วชุบเองครับ ที่อุณภูมิ 1010 องศาเซลเซียล อบ 45 นาที แล้วชุบน้ำ กับชุบน้ำมัน ครับ อย่างที่คุณ EDMER บอกคือ สิ่งที่มีผลต่อการสึกหรอ คือ ค่า ONTIME ที่จะส่งผลต่อผิวและการสึกหรอ ส่วนในเรื่องของ MAT ที่ทดลอง ถ้าผมเอาเหล็กทั้ง 3 สถานะมาทดลองสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรครับ สิ่งที่คุณ EDMER บอกคือ ต้องดูที่ค่ากระแส(IP) และ ONTIME ว่าแต่ให้ผมลองเปลี่ยนโจทย์ใหม่ ช่วยนำทางให้ผมสักนิดครับ งานนี้เป็นงานแรกของผม ยังไม่เคยจับงานทางด้าน EDM ครับ ยังไม่เคยเรียน แถมยังไม่เคยใช้ พูดง่ายคือ เริ่มจาก ศูนย์ ครับ ผมก็หาอ่านบนเว็บ หาข้อมูลไปเรื่อยๆครับ ยังไงก็ต้องขอรบกวนด้วยน่ะครับ
ความคิดเห็นที่ 6
EDMER
05/01/2553
19:02 น.
ตกลงว่าจะทดลองเรื่อง MAT ใช่มั้ย...ชัด ๆ เลยนะครับว่า <br>1. เรื่องอิเล็กโทรดสึกหรอไม่เกี่ยวกับ MAT กลุ่มสังเกตุกลุ่มนี้ เป็นเรื่องของความยาวของ ON Time ล้วน ๆ เป็นตัวแปรอิสระที่มันเทียบกันเอง คือถ้าไล่ค่า ON ตั้งแต่น้อย ๆ ไปถึงมากจะเห็นได้ชัดเจน ให้ตัวแปรอื่นคงที่ ดังนั้นการทดสอบเรื่องอัตราการสึกหรอจะทำกับเหล็กได้หลาย ๆ เกรดตั้งแต่ Low Carbon ถึง HSS ดังนั้นเรื่องนี้แนวทางการศึกษาไม่ถูกต้องครับ ตัดออกไปถ้าจะศึกษาเรื่อง MAT <br>2. เรื่องความเรียบผิว โดยการพิจารณา 2 ตัวแปรหลักคือ ค่ากระแสIP และ ON time อย่างที่บอกไปอีกแหละว่าค่าผิวที่ได้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะไล่ตั้งแต่ผิวหยาบถึงละเอียดแค่ไหน แม้แต่เวลาการ Machining ก็พอ ๆ กัน แต่สิ่งที่อาจจะเห็นจากการชุบแข็งเองคือ Micro Cracking หรือรายร้าวเล็ก ๆ บนเหล็กชุบน้ำที่ผิวหยาบ (ON time ยาว IP สูง) ซึ่งหัวข้อนี้น่าสนใจครับ และต่อยอดในการทำ research เล่มต่อไปได้ด้วย Pattern ของการทดลองคือ <br>2.1 เริ่มที่การกำหนดจำนวนความเรียบผิวที่เราต้องการหา เช่น 4 Ry,8Ry,12Ry,18Ry,25Ry และ 40Ry เป็นต้น แค่นี้ก็ต้องทำการ EDM 18 หลุมแล้ว <br>2.2 หาค่า E-Condition แค่ 6 ชุด ที่ใหเด้ผิวใกล้เคียงทั้ง 6 ค่านี้ <br>2.3 เอาตัวแปรอื่นคงที่เช่น การฉีดน้ำมัน ความลึก อิเล็กโทรด เปลี่ยนแค่เหล็กอยางเดียว <br>*** อย่างไรก็ตามอยากให้ทบทวนดูว่า SKD61ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เค้ามีวิธีการ Heat Treatment ที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว ถึงเราจะได้ผลออกมาเป็นยังไง แล้วจะมีประโยชน์หรือเปล่าหรือเพียงแค่ต้องการให้เราเข้าใจ เรื่องอบชุบ หรือเรื่อง EDM กันแน่ ถ้าอยากทำ 2 เครื่องไปพร้อม ๆ กันต้องศึกษาในระดับ micro structure ด้วยจึงจะเห็นข้อมูล <br>** ถ้าเปลี่ยนในศึกษาเรื่องสึกหรอก็ง่ายเลย ตัดเรื่อง MAT ทิ้งไป เล่นที่ ON time หรือถ้า IP ด้วยก็จะได้เรื่อง อัตราการขุด (MRR ) ด้วย คิดดูละกันครับ <br>
ความคิดเห็นที่ 7

07/01/2553
17:20 น.
ข้อ 2.1 ในการกำหนดความเรียบผิว ที่บอกมาคือ4Ry,8Ry,12Ry,18Ry,25Ry และ 40Ry ถ้าเทียบกับความเรียบผิวของแต่ละค่า เช่น 4Ry มีค่าความเรียบผิวเท่าไรครับ (เช่น = 0.0023) เพราะผมหาข้อมูลตรงนี้ไม่เจอ<br>ข้อ 2.2 หาค่า E-Condition คือ ค่า POLE ,IP ,ONTIME OFFTIME, JUMPU , JUMPD , GAP ฯลฯ ใช่หรือเปล่าครับ<br>ข้อ 2.3 อันนี้ OK<br>ศึกษาในระดับ micro structureคือ ต้องส่องกล้องดูโครงสร้างของเหล็กใช่หรือเปล่าครับ<br>ถ้าเปลี่ยนในศึกษาเรื่องสึกหรอก็ง่ายเลย ตัดเรื่อง MAT ทิ้งไป เล่นที่ ON time หรือถ้า IP ด้วยก็จะได้เรื่อง อัตราการขุด MRR<br>อันนี้ผมได้อ่านวิจัยเกี่ยวกับ อัตราการขุด (MRR ) ใช้เหล็ก SKD61 ซึ่งมีคนทำไปแล้ว ถ้าทำต่อโดยใช้เหล็ก SKD61 ที่มี 3 สถานะ ธรรมดา ชุบน้ำ ชุบoil จะมีผลที่แตกต่างกันหรือไม่ครับ<br>และนี่คือรูปครับ เป็นตารางการเลือกใช้งานครับ ผมยังติดปัญาในการเลือกใช้งาน เพราะค่าตัวเลขในตารางถูกแทนค่าไว้ครับ จึงไม่รู้ว่าตัวเลขที่แทนค่า หมายถึงค่าเท่าไรครับ<br>
ความคิดเห็นที่ 8

07/01/2553
17:24 น.
รูปครับ w-ww.uppicweb.com/show.php?id=78c2d829ede79ce6666b9a3bc67d023d
ความคิดเห็นที่ 9
EDMER
08/01/2553
18:08 น.
ถ้าไม่มีคน Train มาให้ก่อน ต้องงมกันนานครับ ติดต่อไปที่ MITSUBISHI น่าจะดีกว่า นะจะได้ทำความเข้าใจเหลาย ๆ เรื่อง เพราะถ้าผมอธิบายเป็นชุด E-Cond. Parameters ตัว ๆ ไป ยาว ครับ ยาว ไม่สะดวก
ความคิดเห็นที่ 10

09/01/2553
21:11 น.
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 10 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
22 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD