05/12/2552 21:10 น. ,
อ่าน 6,595 ครั้ง
CNC M/C ระดับไหนที่ผลิตงาน บวกลบ3ไมครอนได้ครับ
ap_ra
05/12/2552
21:10 น.
|
CNC MachiningCenter ระดับไหนที่สามารถผลิตชิ้นงานที่มีเกณความคลาดเคลื่อน บวกลบ3ไมครอนได้ครับ เครื่องขนาดย่อมๆ ราคาต้องประมาณเท่าไร เครื่องไต้หวันไหวมั้ย หรือต้องญี่ปุ่น+ยุโยปเท่านั้น จำเป็นต้องอยู่ห้องแอร์หรือไม่ งานขนาด 400x200x20
|
ความคิดเห็นทั้งหมด 27 รายการ |
1 2 › »
ความคิดเห็นที่ 1
pk
06/12/2552
10:36 น.
|
โรงงานลูกค้าผมใช้มากิโน่ ตัวไฮสปีท ได้ระดับ 2 ไมครอนครับ<br>ไม่ได้เชียร์นะครับ จากประสพการณ์ตรง<br>holder shrink fit hsk63a
|
ความคิดเห็นที่ 2
plaman7
07/12/2552
02:49 น.
|
หึหึ
|
ความคิดเห็นที่ 3
สืบศักดิ์
07/12/2552
12:36 น.
|
นี่แสดงว่า ไม่รับ งานแม่พิมพ์ จากโรงงาน ชิ้นส่วนด้าน อีเล็คทรอนิคส์ มาละซิ <br><br>เครื่องนะมี ส่วน การควบคุมระบบ ก็ลอง ทบทวน ดูละกัน <br>ว่า จะเที่ยงได้ นาน ขนาดไหน
|
ความคิดเห็นที่ 4
plaman7
12/12/2552
16:59 น.
|
toshiba accuracy 80 nano
|
ความคิดเห็นที่ 5
15/12/2552
02:10 น.
|
ถามคุณ pk ครับ โรงงานที่คุณเห็น เขาให้เครื่องอยู่ในห้องแอร์หรือเปล่าครับ
|
ความคิดเห็นที่ 6
15/12/2552
02:12 น.
|
คุณสืบศักดิ์ รู้เหมือนตาเห็นเลยนะครับ พอดีมีคนจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิส ต้องการจ้างทำJIG น่ะครับ
|
ความคิดเห็นที่ 7
15/12/2552
02:31 น.
|
ยังไม่มีใครตอบได้ตรงคำถามเลยครับ ท่านใดมีประสบการณ์ รบกวนขอความรู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
|
ความคิดเห็นที่ 8
pk
16/12/2552
00:39 น.
|
อยู่ในห้องแอร์คราบ ตัวเดียวเดี่ยวโดด รับแอร์เต็มๆ
|
ความคิดเห็นที่ 9
แนวทาง
16/12/2552
03:20 น.
|
คงต้องมองไปที่เครื่อง ญี่ปุ่นหรือ เยอร์มัน นั่นล่ะ<br>จะคุมค่า tolerance แคบๆ ได้ต้องทำงานในห้องควบคุมอุณหภูมิ<br>เลือกเครื่องรอบจัดหน่อย และใช้ Holder ที่มีค่ารันเอ้าท์ต่ำๆ <br>พวกแกนและสปินเดิลต้องมีระบบหล่อเย็นชดเชยอุณหภูมิ<br>และติด Linear scale
|
ความคิดเห็นที่ 10
17/12/2552
02:48 น.
|
ap_ra คิดว่า ผมอยู่ ในวงการนี้ แค่ไม่กี่ปี หรือ ไง <br><br>การทำงาน ระดับ ไมครอน หรื อต่ำกว่า ผมเคย คอมเมนท์ ไปหลายที่แล้ว <br>บางแห่ง ตอนบอก นะไม่เชื่อ ต้องรอให้งานเจ้ง หลายปี ก่อน ค่อยทำตามที่บอก ( การทำห้อง QC นะ ) <br>ตอนนี้ รอดูโรงงาน แถวบางใหญ่ เป็นระดับ อินเตอร์ เพราะมีต่างชาติ เป็น ผจก. แต่ ทำห้อง QC วัดงาน ต่ำกว่า ไมครอน ในพื่นที่ ที่ผมคิดว่า ไม่ถูกต้อง แต่ QMR. เขาบอกว่า จัดการได้ <br>อันนี้ ก็ เป็นสิทธิของเขา เพราะเขาเป็น เจ้าของงาน เจ้าของเงิน <br>ผมแค่ คนคอมเมนท์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้แต่ การขายเครื่องมือวัด <br><br>ส่วน การใช้เครื่อง ในระดับ Tolerance แคบๆ มีปัจจัย เยอะมาก <br>ไม่ใช่ แค่ คุณมีเครื่อง คำถามคือ ตอน ตรวจวัด ทำยังไง <br>ลูกค้า ใช้อะไร ตรวจวัด <br><br>งาน QC หรือ งาน วัดละเอียด ในบ้านเรา ในระดับ 1 - 3 ไมครอน มีปัจจัย เยอะแยะ <br>เอาเป็นว่า จากประสบการณ์ จาก US ขนาด โคมไฟ ยังทำให้งานวัดผิดพลาดได้ ก็แล้วกัน ( โคมไฟ ฟูลออเลสเซนต์ นะ) <br><br>งานระดับ นี้ มีปัจจัย และ สภาวะแวดล้อม เยอะ อยู่ที่เรา รู้ หรือ ไม่ และ ทันกับ ผู้จ้างงาน ไหม
|
ความคิดเห็นที่ 11
17/12/2552
03:21 น.
|
สำหรีบ งาน วัด ทดสอบ ระดับ ต่ำกว่า ไมครอน หรือ ใดๆ <br>ส่วนตัว ต้องขอ ระบาย ว่า อึดอัด มาหลายปี <br><br>เพราะ หลายคน คิดว่า คนไทย ไม่น่าจะรู้ หรือ เข้าใจ มากนัก <br>ซึ่งก็อาจจะจริง แต่ ไม่ใช่ ทั้งหมด <br>เพราะ สมัยก่อน เรามี กลุ่ม ที่รวมตัว ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งกัน และ กัน ก่อน ที่จะเกิด สถาบันมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย ด้วยซ้ำ <br><br>แต่ตอนนั้น บ้านเรา งานวัด ระดับไมครอน หรือ ต่ำกว่า ยังดูเหมือน เพ้อฝัน ไม่น่าจะมี หรือ ไม่รู้ว่า จะวัด หรือ ทดสอบ กัน อย่างไร <br>ใช้เครื่องมือ ประเภทไหน สำคัญเพียงใด <br><br>" โรงงาน ผม มี CNC นะ มี CMM ด้วย ทำไม ผมจะทำงาน ระดับ ไมครอน ไม่ได้ " ประโยคนี้ เจอมาเยอะครับ <br>บางที่ ผมต้องปล่อย ให้ เขาเป็นไป ตาม กรรรม ครับ <br>เสียเงิน กับ ต่างชาติได้ แต่ เสียเงิน กับ คนไทย กลัว
|
ความคิดเห็นที่ 12
pk
17/12/2552
11:27 น.
|
ก็คือเข้าข่ายมีเงิน แต่ไม่ใส่ใจกับงานรายละเอียดจนถึงที่สุดน่ะครับ<br><br>ผมว่าอาจารย์ทำดีที่สุดแล้วครับ ผมก็ทำดีที่สุด โดยการนำเสนอความจริงกับสินค้าของผม ลูกค้าตัดสินใจยังไง ก็ต้องปล่อยเขาครับ<br><br>ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่จะซื้อของเราครับ คติผม 555
|
ความคิดเห็นที่ 13
18/12/2552
13:42 น.
|
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ ผมก็รู้แต่งูๆปลาๆ และก็เห็นด้วยกับคุณสืบศักดิ์นะครับ การทำงานระดับไมครอน น่าจะมีปัจจัยหลายๆอย่าง แต่ให้ผมนั่งนึกคนเดียวก็คงนึกได้ไม่ครอบคลุมถึงปัญหาทั้งหมด เพราะไม่มีประสบการณ์ตรงครับ เรื่องของการรักษาอุณหภูมิในห้อง ก็เคยร่ำเรียนมาในอดีต แต่ก็แค่ผิวเผิน ถามเอาข้อมูลจริงๆก็ไม่สามารถเอ่ยตัวเลขที่แน่นอนได้ว่า มันควรจะเย็นกี่องศา แล้ว แต่ละองศา มันมีผลกระทบกี่ไมครอน เรียกว่าผมยังไม่รู้จริงครับ จึงได้รบกวนขอความกระจ่างจากท่านทั้งหลายนี่แหละครับ
|
ความคิดเห็นที่ 14
18/12/2552
14:15 น.
|
การควบคุม อุณหภฺมิห้อง <br>สำหรับ <br>งาน ทดสอบ สอบเทียบ ระดับนานาชาติ = 20 องศา บวกลบ 0.5 <br>งานสอบเทียบ ระดับชาติ ระหว่าง 20 - 23 องศา บวกลบ 1<br>งานสอบเทียบ ระดับโรงงาน ระหว่าง 23 - 26 องศา บวกลบ 2 - 5 องศา <br>สิ่งสำคัญ ต้องมีความสเถียร ไม่ใช่ เปลี่ยนทุก ชั่วโมง <br><br>สำหรับ ห้อง Machine อยู่ระหว่าง 23 - 27 องศา ได้ <br>เพียงแต่ การเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ ไม่ควรแตกต่างกันมากนัก ในช่วงระหว่างวัน <br>ส่วนค่า การ บวก-ลบ ขึ้นอยู่ว่า ต้องการควบคุมงาน ระดับใด <br>คำนวณด้วย ค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวของโลหะ เช่น เหล็ก หรือ อลูมิเนียม ขึ้นอยู่ว่า ชิ้นงานผลิต เป็นอะไร ใหญ่เล็กเพียงใด <br>แล้ว จะพบว่า ความกว้าง ของอณุหภูมิ อนุญาติให้ได้เท่าไหร <br>( ค่าเกณฑ์การยอมรับ ) ก็ไปบวกลบ ค่ากลางที่ 25 องศาเอา <br><br>ยกเว้น มาตรฐานอ้างอิง ที่ใช้ในโรงงาน ทั้งหมด ผ่านการสอบเทียบ ที่อุณหภูมิอื่นมา <br><br>เพียงแต่ สิ่งสำคัญ ที่พึงระลึก คือ การเปลี่ยนแปลง ไม่ควรกว้างมาก ในระหว่างการผลิต <br>รวมถึง การใช้เครื่องมีอวัด และ ชิ้นงาน ที่มาจากคนละ อุณหภูมิ <br><br>ที่เหลืออีกอัน เป็นเรื่อง Vibration <br><br>คร่าวๆ เท่านี้ก่อนละกัน <br><br>
|
ความคิดเห็นที่ 15
pk
18/12/2552
20:25 น.
|
สรุปว่า ค่าไฟแอร์กินตายเรยอ่ะครับ น่าจะมีผลต่อราคาแม่พิมพ์นะเนี่ย หุหุ
|
ความคิดเห็นทั้งหมด 27 รายการ |
1 2 › »