17/10/2552 17:03 น. |
การสตาร์ทมอเตอร์อะซิงโครนัส 800 kW, 3,300 Volt,600 รอบ โดยใช้หลักการลดค่าความต้านในน้ำเกลือ ช่วยอธิบายหลักการการทำงาน ว่าแตกต่างยังไง กับการลดความต้านในรีซีสเตอร์ <br>ผมไม่เข้าใจครับ |
18/10/2552 02:10 น. |
หลักกการเดียวกัน<br><br>ต่างกันแค่...ชนิดของรีซิสเตอร์ที่เอามาต่ออนุกรมกับวงจรของโรเตอร์ ... |
19/10/2552 12:12 น. |
อยากทราบ หลักการทำงานของก้านสับในน้ำเกลือ เพื่อลดความต้านทาน วัสดุที่ใช้ ต้องห่างเท่าไร ค่าอิมฯ เท่าไร แต่ละสเต็ป แล้วปัญหาเรื่องกราวด์ลงแท็งค์ เนื่องจากมีกระแสสูง ยังไม่เข้าใจว่าทำงานอย่างไร |
20/10/2552 14:07 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ<br>ถ้าคำถามหมายถึง มอเตอร์สลิป- ริง ก็จะตรงกันข้ามการต่อค่าความต้านทาน หรือการสายจากสลิปริงต่อออกไปเข้าถังน้ำเกลือเป็นการเพิ่มค่าความต้านทานในวงจรขดลวดโรเตอร์ เพื่อเพิ่มทอร์คสตาร์ทให้แก่มอเตอร์<br> มอเตอร์สลิป-ริงเป็นมอเตอร์ เหนี่ยวนำประเภทหนึ่ง ซึ่งจะมีคุณสมบัติ คือจะต้องการค่าความต้านทานขดลวดในวงจรโรเตอร์ให้มีค่าสูงในขณะสตาร์ท และ ต้องการค่าความต้านทานวงจรโรเตอร์ให้มีค่าต่ำในขณะที่มอเตอร์รัน เพราะเริ่มตั้งแต่มอเตอร์สตาร์ท แรงดันเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นที่โรเตอร์จะมีความถี่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลจากความถี่ของสเตเตอร์ และความเร็วรอบที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นของโรเตอร์ การเปลี่ยนแปลงความถี่จะทำให้สัดส่วนของค่า XL กับค่า R ของขดลวดโรเตอร์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดกราฟแรงบิดที่ขึ้นๆลง ตามกราฟแรงบิดมอเตอร์กรงกระรอกที่เราเห็นทั่วๆไป<br>ฉะนั้นการเพิ่มค่าความต้านทานในวงจรโรเตอร์เป็นการปรับค่า R ของวงจรโรเตอร์ให้เหมาะสมกับค่า XL ของขดลวดเพื่อทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กสูงสุดในขณะสตาร์ท และเมื่อมอเตอร์รันไปแล้วค่าความถี่ของแรงดันและกระแสโรเตอร์จะลดลงจะทำให้ดูเหมือนค่า R มีค่าสูงกว่า ค่า XL จึงจำเป็นต้องลดลงมาโดยการปลดออกเพื่อทำให้เกิดความเหมาะสมและเป็นการลดลอสที่เกิดจาก I 2 R<br>ก็จะมีคุณ |
23/11/2552 12:40 น. |
ขดลวด มอเตอร์ ประกอบ ด้วย RLC การ start by liquid reostat เป็น LOAD ชนิด R ซึ่ง การ ออกแบบให้ได้ Troque สูงสุด ค่า R = L ระบบ [ Zmotor + Zstart ] +++ |