12/10/2552 21:41 น. |
ระบบหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้งานในบ้านเรา ส่วนใหญ่มักจะต่อไว้แบบ delta-star หรือ Dy11 ทำให้ทางด้านแรงต่ำ มีสายต่ออกมาใช้งานอยู่ 4 เส้น คือ L1,L2,L3 และ N ผมก็จะนำสาย N ต่อลงดินได้เลย แต่ถ้าหม้อแปลงถูกต่อไว้แบบ delta-delta มันก็จะมีสายออกมาอยู่ 3 เส้น คือ L1,L2,L3 ไม่มี N แล้วผมจะต้องเอาสายเส้นไหนต่อลงดินละครับ ผมอ่านดูในหนังสือ มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2545 ของ สวท. หน้าที่ 4-3 หัวข้อที่ 4.5.3 ได้เขียนเอาไว้ว่า "ระบบ 3 เฟส 3 สาย กำหนดให้สายตัวนำเส้นใดเส้นหนึ่งต่อลงดิน" อ้าว! แล้วแบบนี้มันจะไม่เกิดการลัดวงจรแบบ single line to groung fault เหรอครับ |
21/10/2552 18:56 น. |
ไม่หรอกครับ เพราะด้านที่จะเอาลงดินจะต้องเป็นด้านที่ต่อออกไปใช้งาน ไม่ใช่ด้าน ไฟเข้าซึ่งจะต่อลงดินอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าไปลงดินด้านไฟเข้าแน่นอนว่าจะเป็น single Line to ground Fault อย่างแน่นอน แต่ที่จะลงดินต้องเป็นด้านไฟออกซึ่งมีการแยกกันทางวงจรทางไฟฟ้าอยู่แล้วทำให้ไม่เกิด Single line to ground fault |
25/10/2552 13:40 น. |
เห็นด้วย คต. 1 มันเป็นระบบไฟฟ้าแบบหนึ่งโดยปกติก็ใช้กันอยู่ในบางประเทศ ซึ่งบางครั้งมีการนำเครื่องจักรมาใช้ในประเทศไทย หากไม่เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในก็ต้องตั้งหม้อแปลง D-D การต่อลงดินก็ตามมาตฐาน มีการใช้งานกันมานานแล้ว |
28/10/2552 13:35 น. |
ทำไมถึงใช้ เดลต้า-เดลต้าล่ะครับข้อเสียก็คือสามารถทรานสเฟอร์ฮาร์มอนิกส์ได้ ทำให้เข้าไประบบอื่นถ้าจัดดารดีก็ไม่มีปญหาการตอกกราวด์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย |
23/10/2554 18:16 น. |
Υผมก็กำลังมีหม้อแปลงมาติดตั้งใหม่ขนาด 6000 KVA 22KV/11KV D-D แล้วการลงกราว์ผมจะลงยังไงครับ หรือแค่ยึดเข้ากับโครงก็พอผู้รู้ช่วยตอบทีครับ ศึกษามาหลายเล่มยังไม่แตก |