05/08/2552 11:30 น. |
ผมดูแลกิจการโรงสีข้าวต้องการหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานขอปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดังนี้ครับ.<br>1.ต่อ Cap ที่หม้อแปลงไฟฟ้ามีข้อดี/ข้อเสียอย่างไร<br>2.ต่อ Cap ที่มอเตอร์ไฟฟ้ามีข้อดี/ข้อเสียอย่างไร<br>3.สตาร์ตมอเตอร์ห่างกัน 15 นาที ประหยัดพลังงานจริงหรือไม่<br>(ค่าไฟฟ้าเป็นอัตราปกติ)<br>4.ต่อ Cap ที่มอเตอร์ไฟฟ้าจะประหยัดพลังงานหรือไม่<br> |
05/08/2552 17:15 น. |
การต่อคาปาที่ด้านแรงสูงประสิทธิภาพต่ำครับ <br>การต่อคาปาซิเตอร์ที่แรงต่ำจะมีประสทธิภาพที่ดีกว่าแรงสูง<br>การติดตั้งที่ตัวโหลดเองจะได้ประสิทธิภาพมากแต่ค่าใช่จ่ายสูง<br><br>การติดคาปามีข้อดี <br>ลดกระแสทีไหลในวงจร<br>สามารถรับโหลดได้เพิมมากขึ้น<br>ลดการสูญเสียของระบบไฟฟ้า<br>ไม่ต้องเสียค่าปรับจากการไฟฟ้ากรณีต่ำกว่า0.85<br>ป้องกันแรงดันตก<br>ข้อเสียคือ <br>ค่าลงทุนสูง<br><br>การสตาร์ทมอเตอร์ นั้นเพื่อเป็นการลดค่าพีคที่เกิดขึ้นทำให้เสียค่าไปลดลง <br><br>จริงครับ และเพิ่มประสทธิภาพให้กับตัวมอเตอร์ที่ดี อีกทั้งกำลังเพิ่มขึ้น<br> |
14/08/2552 17:24 น. |
ใช้อินเวอร์เวอร์เตอร์ดีกว่าครับประหยัดได้จริง |
17/08/2552 13:03 น. |
ต้องดูว่ากำลังของมอเตอร์มีมากพอหรือเปล่า หากกำลังเกินมาก ติด VSD คุ้มค่า เช่น มอเตอร์โหลด 45 กว. ใช้จริงแค่ 30 กว. สามารถติดได้ลดได้ การสตาร์ทสามารถสตาร์ทพร้อมกันได้ โดยจะใช้วิธีไต่รอบความขึ้นจนถึงค่าที่ตั้งไว้ครับ ดังนั้นจึงไม่เกิด Peak Demand แน่นอนครับ เราสามารถปรับลดรอบได้ ติด Cap จริงๆ ต้องติดครับ ดีทั้งการไฟฟ้าและคนใช้ครับ แต่คนใช้เสียตังค์ลงทุน |
31/08/2552 16:26 น. |
มอเตอร์เพลาราว 150 HP ครับ ใช้งานเฉลี่ย 18 ชม./วัน<br>เดี๋ยวจะไปวัดกำลังไฟฟ้าก่อนว่าขณะโหลดเต็มที่ใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่.. ขอบคุณทุกท่านที่แนะนำครับ |
25/09/2552 15:47 น. |
หากงานไม่ต้องการการลดรอบ ติดคาปาดีกว่าครับ <br>ติดอินเวอร์เตอร์ไม่คุ้ม กินกำลังเท่าเดิม เนื่องจากทอร์คเท่าาเดิม |
27/09/2552 12:59 น. |
คุณไม่ใช่ช่าง<br>1.การต่อ Cap ปกติไม่ได้ต่อที่หม้อแปลงไฟฟ้าแต่จะต่อที่ตู้เมนไฟฟ้าหลัก MDB เป็นการชดเชยค่า KVAR ของทั้งระบบในโรงสีของคุณ ส่วนใหญ่แล้วระยะหลังๆ วิศวกรไฟฟ้าจะออกแบบมาให้เลยโดยประมาณจากขนาดหม้อแปลงเพราะไม่รู้ว่าหลังจากติดตั้งและใช้งานไปแล้วจะมีอุปกรณ์ตัวไหนที่กินKVAR เท่าไหร่บ้าง <br><br>2.ต่อ Cap ที่มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นลักษณะการชดเชย KVARที่ต้นเหตุ แต่จริงๆ แล้วก็ยังมีอุปกรณ์อย่างอื่นที่กิน KVAR อย่างเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ที่มี L อยู่ การต่อเฉพาะมอเตอร์ก็ช่วยได้แต่ไม่ทั้งหมด<br><br>3.สตาร์ตมอเตอร์ห่างกัน 15 นาที เป็นเรื่องของการควบคุมกระแสค่ะ ถ้าคุณสตาร์ทพร้อมๆ กันช่วงนั้นกระแสพีคมาก คุณก็โดนการไฟฟ้าปรับ<br> <br>4.ต่อ Cap ที่มอเตอร์ไฟฟ้าก็เป็นเรื่องของการชดเชย KVAR <br><br>ส่วนการจะใช้ Inverter หรืออุปกรณ์ในการลดรอบ ต้องพิจารณาลักษณะการทำงานของมอเตอร์คุณก่อน ลักษณะการทำงานของมอเตอร์บางตัวก็ไม่สามารถที่จะไปลดกำลัง ลดรอบได้เพราะจำเป็นต้องใช้กำลังเท่านั้นตลอด <br>เรื่องของการประหยัดพลังงาน กับการต่อ CAP ไม่ใช่เรื่องเดียวกันซะทีเดียว ระบบของการไฟฟ้านั้นเค้าจะคิดค่าไฟโดยวัดจากสองค่าคือ KW และ KVAR กับบ้านเรือนทั่วไปเค้ามองว่า KVAR มีค่าน้อยเพราะอุปกรณ์พวกที่มีตัวเหนี่ยวนำ L จะเล็กๆ เค้าเลยยกให้ไม่คิดค่านี้กับเรา แต่กับโรงงานซึ่งมีแต่มอเตอร์ใหญ่ๆ เค้าให้รับผิดชอบค่านี้เอง ดังนั้นถ้าคุณไม่ติด CAP BANK เลยก็ต้องเสียเงินค่าไฟส่วนนี้แน่นอน ดังนั้นทั่วไปแล้วงบไม่สูงมากก็ติดเฉพาะที่ตู้เพื่อควบคุมทั้งระบบสัก 30% และถ้ารู้ว่าตัวไหนกินKVAR มากๆ ก็ไปติดเพิ่มเติมตรงนั้นเพื่อไม่ให้ชุดเมนใหญ่ไป <br><br>นอกจากนี้แล้ว การสตาร์ทมอเตอร์ห่างๆกัน ก็เป็นเรื่องการจัดการพลังงานค่ะ ถ้าคุณสตาร์ทพร้อมๆ กันกระแสสตาร์ทรวมก็จะสูง เพราะตามปกติขณะสตาร์ท กระแสสตาร์ทของมอเตอร์จะกระชาก ยกเว้นคุณใช้อุปกรณ์สตาร์ท ที่ไม่ใช่ DOL หรือ Y-D โดยเฉพาะตอนเช้าๆ การไฟฟ้าเค้าค่อนข้างจะเล็งคุณอยู่เลยว่าโรงงานไหนเริ่มงานแล้วไปดึงโหลดรวมระบบเค้า เค้าบันทึกไว้ตลอดเวลาเลยค่ะ ดังนั้นการบริการการจัดการเรื่องนี้สำคัญมาก สตาร์ทห่างกันหน่อย แบ่งสตาร์ทเป็นชุดๆ ค่อยๆ เริ่มงาน ช่วยเรื่องค่าไฟได้เยอะค่ะ<br><br>ส่วนแนวคิดเรื่องการประหยัดพลังงานนั้น อุปกรณ์มีพิกัดการใช้ไฟเท่าไหร่ ก็คงจะใช้เท่านั้น มันคงไม่สามารถไปลดการกินไฟของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ อยู่ที่ระบบจัดการการใช้มากกว่า นั่นคือถ้าเลือกอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ก็กินไฟน้อย ปิดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ในบางช่วงเวลา อย่างบางที่จะปิดแอร์และไฟแสงสว่างในช่วงพักเที่ยงสักหนึ่งชั่วโมง <br><br>ถ้าคุณอยากประหยัดพลังงานอย่างจริงๆ จังๆ ก็คงต้องติดอุปกรณ์ตรวจวัดการใช้พลังงานเข้าไปในระบบ ซึ่งเป็นพวกมิเตอร์พิเศษ และเก็บค่าที่ตรวจวัดได้ไปวิเคราะห์ จากนั้นจึงเป็นการออกแบบระบบอัตโนมัติเพื่อเปิด/ปิด บริหารการใช้ไฟฟ้าจากส่วนต่างๆ จากระบบส่วนกลางเลย ซึ่งเดี๋ยวนี้มีบริษัทที่ขายอุปกรณ์เหล่านี้มากมายหรือบริษัทออกแบบที่เค้าทำเรื่องระบบประหยัดพลังงาน ก็สามารถจะให้คำแนะนำคุณได้ ถ้าไม่ได้ตรวจเช็คข้อมูลจริงๆ คงจะยังวางแผนไม่ได้ว่าจะประหยัดส่วนไหนอย่างไร และหากอยู่ในช่วงการออกแบบยังไม่ได้ใช้ ก็ตอบไม่ได้ว่าพฤติกรรมการใช้พลังงานของคนในโรงงานเป็นอย่างไรค่ะ แต่เงินลงทุนเริ่มต้นของระบบนี้ก็สูงหน่อย เมื่อตัดสินใจแล้วคงต้องทำใจค่ะ เพราะเวลาคืนทุนที่เห็นชัดๆ คงจะหลายปีอย่างน้อยสัก 5 ปีแต่ก็เป็นการประหยัดพลังงานที่ยั่งยืนค่ะ |
05/10/2552 11:40 น. |
ขอบพระคุณทุกท่านมากครับ ที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผม และเพื่อนๆพี่ๆ ที่เข้ามาอ่านกระทู้ที่ผมตั้งไว้ ผมจะลองพิจารณาไปเป็นข้อๆนะครับ ที่แนะนำมา. |
11/11/2552 22:43 น. |
<br>-.สตาร์ตมอเตอร์ห่างกัน 15 นาที ประหยัดพลังงานจริงหรือไม่<br><br> แน่นอนค่ะ สมติว่าท่านมีมอเตอร์ขนาดเท่ากันจำนวน 10 ตัว Start <br> ห่างกัน 15 นาที หยุดพร้อมกันในช่วงเลิกงาน แน่ๆเลยคุณจะประหยัด<br> ไปได้ ประมาณ 2.5 ชม.x kw แต่ถ้าสุดท้ายแล้วยังต้องรอเครื่องจักร run ครบ 10<br> ตัวแล้วถึงสามารถ ผลิตได้ ไม่คุ้มค่ะ (ค่าผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยการใช้พลังงาน)<br> ให้ สตาร์ต ห่างกัน 1- 2 นาทีก็พอ <br><br> สตาร์ตมอเตอร์ห่างกัน 15 นาที แต่ไม่มีผลกับค่า peak Demand มากนัก <br> ถ้าสุดท่ายแล้ว ยังต้อง Run เครื่องจักร ทั้ง 10 ตัวพร้อมกัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง <br> นานติดต่อกัน 15 นาที ของวัน เพราะค่า peak Demand คิดมาจาก ค่า KW-hr ทุกๆ <br> 15 นาที่ (แล้วจะคำนวนณ ให้เป็น 1 ชม ง่ายก็คือ x 4) ตลอดทั้งวัน/เดือน โดย<br> จะนำค่าที่สูงที่สุดของเดือนนั้นๆ มาคิดเงินกับเรา <br> <br> อัตราค่าไฟ (ระบบ 22-33kw กิจการขนาดกลาง)<br> -อัตราปกติ มีค่า Dmand (196.26 บาท / kw) กับค่า Energy (1.7034 บาท/kwh) <br> จะเท่ากันทั้งวัน อัตรานี้ยังไม่รวม ค่า FT + Vat<br><br> - อัตรา TOU มีค่า Dmand (132.93 บาท / kw) กับค่า Energy (2.6950 บาท/kw) ช่วง 9.00-21.00 <br> และ Dmand (0 บาท / kw) กับค่า Energy (1.1914 บาท/kwh) ช่วง21.00 - 9.00 ต่ำ<br><br> แน่นอนค่ะเรื่องการประหยัดพลังงานหากคุณมีมอเตอร์ขนาดเท่ากัน 10 ตัวสตห่งาร์ท<br><br> <br> |
04/12/2552 00:42 น. |
โฮโหแฮะ... |