30/06/2552 01:47 น. |
ที่โรงงานผมจะปลดหม้อแปลง size 3000 kVA 2 ลูก แต่ละลูกใช้ max load 25% ให้เหลือลูกเดียว เพื่อประหยัดพลังงาน<br>1. แต่ผมไม่รู้ว่าประหยัดได้จริงหรือเปล่าวเพราะมันไปลดค่า core loss แต่ไปเพิ่ม Cupper loss แทน ค่า Z = 5.8% <br>2. อยากทราบค่ามาตรฐานของ หม้อแปลง 3000kVA ว่าค่า Core loss และ cupper loss มีค่าเท่าไหร่ <br>ขอบคุณครับ |
30/06/2552 09:02 น. |
1. การประหยัดพลังงานในหม้อแปลงไฟฟ้า มีแนวทางดังนี้<br>1.1 ควรใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้าในสภาวะที่หม้อแปลงไฟฟ้ามีค่าประสิทธิภาพใกล้เคียงกับค่าประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ออกแบบ คือควรใช้งานที่โหลดประมาณ 60 - 80 % การใช้งานในสภาวะที่หม้อแปลงมีค่าประสิทธิภาพสูง ก็คือมีการสูญเสียพลังงานน้อย<br>1.2 ควรปรับ Tap ให้หม้อแปลงไฟฟ้าจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้พอดี หรือมีค่าใกล้เคียงกับพิกัดแรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า จะช่วยลดการสูญเสียในแกนเหล็ก (Iron loss) ในตัวหม้อแปลงไฟฟ้าและในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานลงได้ (Iron loss แปรผันโดยตรงกับแรงดันไฟฟ้ายกกำลังสอง)<br>1.3 ควรติดตั้งตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor Bank) เพื่อแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) สำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า ให้มีค่าใกล้เคียงกับ 100 % ก็จะช่วยลดการสูญเสียในขดลวด (Copper loss) ในหม้อแปลงไฟฟ้า และในสายไฟฟ้าลงได้ (จากตำแหน่งที่ติดตั้ง Capacitor ย้อนขึ้นไปหาด้านไฟแรงสูง) ซึ่งข้อดีของการติดตั้ง Capacitor มีดังนี้<br>- ทำให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจากหม้อแปลงไฟฟ้าลดลง<br>- ลดการสูญเสีย (Copper loss) ในหม้อแปลงไฟฟ้าและในสายไฟฟ้า (Copper loss แปรผันโดยตรงกับกระแสไฟฟ้ายกกำลังสอง)<br>- ลดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมในสายไฟฟ้า (Voltage Drop)<br>- โหลดของหม้อแปลงไฟฟ้าลดลง (Apparent Power : kVA) ทำให้หม้อแปลงไฟฟ้ามีกำลังสำรองที่สามารถรองรับโหลดได้เพิ่มขึ้น<br>โดยทั่วไปการติดตั้ง Capacitor Bank สามารถคำนวณได้จากการตรวจวัดโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ แต่ในกรณีเป็นการ Design ระบบใหม่ ซึ่งยังไม่ทราบค่า Power factor จริงของระบบ ก็จะนิยมใช้ค่า Capacitor ขนาดประมาณ 30 % ของขนาดพิกัดหม้อแปลงไฟฟ้า<br> |
30/06/2552 20:31 น. |
ขอบคุณครับ <br>คือว่าตอนนี้ ติด Capbank ได้ ค่า PF อยู่ที่ช่วง 0.9-0.92 ครับ |
01/07/2552 08:04 น. |
9engineer.com/ee_main/energy%20saving%20tech/energy%20saving%20technology.asp |