30/04/2552 01:51 น. |
Breaker ที่ใช้ในโรงงานเป็นแบบให้ Setting ค่า L , S , I ,G มันจะมี dip switch ให้เลือกนะครับว่าจะเ Set ที่กี่ % ของ In( In ของ Circuit Breaker รุ่นนี้เท่ากับ 250 A)<br>แต่ผมไม่เข้าใจนะครับว่าแต่ละตัวหมายถึงอะไร และต้อง Set อย่างไร<br>รุ่นที่ใช้เป็น ABB Sace S4L250 ครับ ใช้กับ Motor ขนาด 110kW, 380V, 205 A<br><br> |
30/04/2552 09:22 น. |
ผมไม่ถนัดเรื่อง Breaker ครับ คงต้องให้ผู้รู้ท่านอื่น เข้ามาแนะนำ |
30/04/2552 15:56 น. |
L = Long time delay trip function <br>การทำงานของฟังฟันก์นี้ก็เหมือนกับโอเวอร์โหลด จะทำงานจะผกผันกับเวลา (Inverse time characteristic) กล่าวคือถ้ากระแสในวงจรสูงเซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวนี้ก็จะเปิดวงจรเร็ว แต่กระแสน้อยก็จะเปิดวงจรช้าหรือไม่่ตัดเลยหากกระแสในวงจรไม่เกินที่ตั้งไว้ ส่วนเร็วหรือช้าเท่าไหร่นั้นจะตัองดูที่ tripping curve ประกอบ หรือไม่ก็ได้จากการคำนวน ซึ่งจะมีสูตรอยู่ในคู่มือ<br><br><br>S = Short Circuit Protection with Delayed Trip <br><br>ฟังก์นี้มีไว้สำหรับป้องกันการลัดวงจร ซึ่งมีฟังก์ชั่นการหน่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เวลาที่ตัดวงจรจะขึ้นอยู่กับกระแสที่เกิดการลัดวงจร <br><br>I = Instantaneous Short Circuit Protection<br><br> ฟังก์นี้มีไว้สำหรับป้องกันการลัดวงจร เซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำการเปิดวงจรทันที จะไม่มีการหน่วงเวลาเมื่อกระแสที่ไหลในวงจรมีค่าสูงถึงพิกัดที่ตั้งไว้<br><br>G = Ground-Fault Protection <br><br> ฟังก์นี้มีไว้สำหรับป้องกัน Earth fault <br> |
30/04/2552 19:01 น. |
ส่วนวิธีการเซ็ตค่าก็ใช้ dip switch ที่คุณบอกเป็นตัวคูณค่ากระแสของ เซอร์กิตเบรคเกอร์ เช่นถ้า Circuit Breaker รุ่นนี้เท่ากับ 250 A และมอเตอร์ กินกระแส 205 A ก็จะต้องเช็ตเท่ากับ 205A/250A = 82 เปอร์เซ็นต์<br> In * 0.4 + ( 0.02 + 0.08 + 0.32) = 250 * 0.82 = 205A เป็นต้น<br><br>ส่วน I เป็นฟังก์ชั้นสำหรับป้องกันการลัดวงจร ซึ่งจะเปิดวงจรทันที่เมื่อกระแสถึงพิกัดที่ตั้งไว้<br>dip switch ก็สามารถเลือกเซ็ตได้ตั้งแต่ 1.5 – 12 เท่าโดยประมาณ <br>ปกติกระแสลัดวงจรจะสูงดังนั้นมักจะตั้งไว้ที่ประมาณสิบเท่า หรือถ้าเอาไปควบคุมมอเตอร์ ก็ต้องมั่นใจว่าจะต้องสูงกว่า<br>กระแสของมอเตอร์ช่วงสตาร์ทหรือออกตัว มิฉนั้นมอเตอร์จะออกตัวไม่ได้<br><br> <br>ส่วน S ก็จะเช็ตได้ตั้งแต่ 0.6 – 10 เท่าโดยประมาณ <br><br>ส่วน G จะทำการป้องกันกระแสที่ไหลในนิวตรอล ค่าที่เช็ตได้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 0.5 – 1 เท่า<br>ปกติเขาจะเซ็ตที่ 0.5 เท่า หรือไม่ก็ 1 เท่า แล้วผู้ออกแบบ ตามตำราส่วนใหญ่มักจะระบุไว้ที่ 0.5 เท่า แต่บางที่ที่ปรึกษาก็ให้เซ็ตที่ 1 เท่า ก็มี ซึ่งก็ไม่แน่ใจเรื่องเหตุผล<br> |
30/04/2552 19:26 น. |
ขอบคุณมากครับพี่เสือ<br><br><br> ปล พี่เสือ ใช่คนเดียวกับ ดร ชาญชัย ทองโสภา(ดร เสือ) ป่าวครับ |
01/05/2552 00:05 น. |
ไม่ใช่ครับ<br>ผมคือคนที่ดูแลเว็บนี้ครับ<br> |
06/05/2552 19:55 น. |
ทำมอเตอร์ รู้เเค่มอเตอร์ อย่างเดียวไม่ได้เนอะ.......ไม่งั้นตาย |
29/09/2552 10:51 น. |
พี่เสือ กับ ดร.ชาญชัย ทองโสภา คนเดียวกัน |