26/02/2552 10:34 น. |
ทำไมเครื่องจักรบางประเภทที่นำเข้าจากยุโรป นิยมใช้ PLC ยี่ห้อแปลก ๆ และเขียนโปรแกรมแกรมด้วย IL มากกว่าแบบอื่น เช่น ยี่ ห้อSAIA ,KUHNKE,JETTER , SIGMATEK , ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรที่เขาเลือกใช้ IL มากกว่า FB, LADDER |
26/02/2552 13:54 น. |
ความคิดส่วนตัวและประสบการ ผมคิดว่าเครื่องจักรที่นำเข้า ส่วนมากไม่ต้องการให้คนทั่วไปที่มีความรูทำได้จะต้องเรียกใช้ของเค้าอย่างเดียว |
28/02/2552 06:22 น. |
อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นไปได้ อาจเป็นเพราะ PLC ยี่ห้อแปลก ๆ ดังกล่าวมีราคาอาจจะถูกว่า หรืออาจจะให้ข้อเสนอที่ดีกว่า หรือบริการดีกว่าก็เป็นไปได้ <br><br>หมายเหตุ อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ข้อเท็จจริงไม่แน่ใจเหมือนกัน <br><br> |
06/03/2552 17:26 น. |
ตอนนี้ภาษาที่ใช้ในการเขียนPLCทางยุโรปจะเข้ามาตรฐาน IEC61131-3 จะมีใช้กันอยู6ภาษาคือ IL,LD,FBD,ST,SFC,CFC โดยทั่วไปแล้วเมืองไทยจะติดการใช้ภาษา LD ปัจจุบันความสามารถของPLC มีมากกว่าการประมวลผลแค่ทางตรรรกะลอจิกการใช้ภาษาในการพัฒนาโปรแกรมจะใช้เพียง LDอย่างเดียวไม่ได้แล้วจะต้องใช้หลายๆภาษามาผสมกันจะช่วยให้รวดเร็วและประสบความสำเร็จไวกว่าเพราะฉนั้นเราต้องพัฒนาหัดใช้หลายๆภาษานะครับ |
05/05/2552 14:13 น. |
เหตุผลเชิงพาณิชย์ครับ มีข้อตกลงในการทำ r&d เช่นของผมเป้นเครื่องจักรมาจาก ออสเตรีย ทั้ง sigmatex และ b&r ต่างเข้ามาสนับสนุน และผลิตบางสินค้ารวมทั้ง software ที่เป็นพิเศษให้ กาสนับสนุนด้านเทคนิคจึงตอบสนองได้รวดเร็ว มาตราฐานฝั่งยุโรปทั้งหมดการเขียนโปรแกรม ยึดมาจาก siemens ทั้งนั้นครับ ต่งจากฝั่งเอเชียเช่น ญี่ปุ่น ยังคงใช้หลักพื้นฐานของภาษา ladder ซึ่งเป้นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยมากกว่า การเข้ามาครั้งแรกของ plc mitsubishi ทำให้เราคุ้นเคยรูปแบบ ladder ที่เข้าใจง่าย ในความเห็นผม หากมีทักษะเข้าใจในการออกแบบ การทำงาน การเขียนโปรแกรมที่ต่างยี่ห้อกันก้อไม่เป้นสิ่งจำกัดครับ แต่แนะนำควรจะสร้างพื้นฐานจาก ภาษา ladder ก่อน เพราะก่อนการย่อรูปแบบไปสู่ block คำสั่ง หากไม่มีความเข้าหลักการของ ladder ค่อนข้างยากที่จะวิเคราะห์ถึงความผิดพลาด ในที่นี้ผมมีแนวคิดจากประสบการณ์ที่ได้ทำงานร่วมกับ mitsubishi และ siemens มากกว่า 13 ปี ครับหากท่านใดมีความคิดเพิ่มเติมช่วยแนะนำด้วยครับ |