13/02/2552 22:43 น. |
พอดีผมต้องการทราบ ถ้า ไดรฟ์ รันที่ 0.0Hz มอเตอร์มีค่าทอร์คเท่าไร คือเพื่อต้องการ Lock Rotor ที่ 0.0 Hz ครับ |
13/02/2552 22:56 น. |
No Frequency No Torque<br> |
14/02/2552 15:13 น. |
ระบบไฟที่ไม่มีความถี่ก็จะเป็นระบบไฟ ดีซี แล้วมอเตอร์จะหมุนได้อย่างไรเมื่อเอาไฟดีซีมาจ่ายมอเตอร์เอซี ล่ะครับ มอเตอร์ไม่หมุนแล้วจะมีทอร์คได้อยางไร |
14/02/2552 15:32 น. |
เท่าที่ผมเจอ Inverter Run ที่ 0.0Hz มี Torque ครับ ถ้า Inverter ตัวนั้น Run ด้วย Mode Vector control ที่ต้องมี Endcode บอกตำแหน่ง ติดที่มอเตอร์ด้วย จะสามารถทำให้Lock Rotor ส่วน ที่ว่ามีค่าเท่าไร จะขึ้นกับ % Torque ที่ Drive ตัวนั้นๆ สามารถทำได้ครับ |
14/02/2552 15:37 น. |
ตามที่เข้าใจมอเตอร์เหนียวนำต้องใช้ความถี่ในการทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ ถ้า Iverter ไม่ผลิตความถี่มาป้อนให้กับมอเตอร์ แล้วขดลวดสเตเตอร์จะเหนี่ยวนำมาให้โรเตอร์หมุนได้อย่างไร ผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยครับ ถ้าผมเข้าใจผิด |
14/02/2552 20:12 น. |
ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่าไดร์ฟของคุณเป็นไหน ถ้าเป็น v/f ก็จบเลยทำไม่ได้<br><br>ถ้าเป็น sensorless ถ้าต้องการรันที่ความถี่ต่ำๆเช่นที่ความถี่ต่ำกว่า 0.5 Hz ก็ตอบลำบบากพอทอร์คจะลดลงเหลือต่ำมาก<br>ไม่สามารถคำนวนโดยใช้สูตรได้<br><br>แต่ถ้าเป็น Vector control with Encoder ก็สามารถคำนวนหาทอร์คที่ใช้งานได้โดยใช้สูตร T= (9.55 * P)/N<br><br>ส่วนทอร์คที่จะมาทำให้มอเตอร์ล๊อกโรเตอร์ที่ 0.0 Hz นั้น<br>ผมคิดว่าคำตอบที่3 ตอบได้ถูกต้องแล้วครับ <br>ทอร์คจะขึ้นอยู่กับตัว Drive ว่าเราเซ็ตไว้เท่าไหร่ ลิมิตทอร์คไว้กี่เปอร์เซ็นต์<br><br>แต่ถ้ากรณีที่ไม่ใช้ Drives ใช้ต่อตรงกับไฟฟ้าโรงงาน ทอร์คที่จะทำให้มอเตอร์หยุดหมุนก็จะพิจารณาที่ค่า Locked Rotor or Starting Torque ของมอเตอร์ตัวนั้นๆ <br> |
14/02/2552 20:57 น. |
ตอบคุณ UMC<br><br>จริงๆความเข้าใจของคุณก็ถูกและเป็นจริงอย่างที่คุณแสดงความคิดเห็น เนื่องจากเอซีมอเตอร์ชนิดนี้จะทำงานโดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำ<br>ซึ่งหากพิจารณาตามอุตมคติถ้าไม่มีความถี่ก็ไม่น่าจะมีการเหนี่ยวนำและไม่น่าจะมีการหมุนของโรเตอร์ตามที่คุณแสดงความคิดเห็น<br><br>แต่ด้วยขีดความสามารถของเทคโนโลยีปัจจุบันที่เรียกว่า เวกเตอร์ คอนโทรล (Vector control) ที่ใช้ควบคู่กับสปีดเซ็นเซอร์ หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่าเอ็นโค๊ตเดอร์ (encoder) สามารถทำได้ครับ<br><br>ถามว่าทำไมถึงทำได้ <br>ถ้าจะถามหาทฤษฏีแบบแจ่มๆเลยก็คงจะยาว และผมเองก็คงจะตอบไม่ได้เหมือนกัน<br>ดังนั้นเอาเป็นหลักการสั้นๆง่ายๆก็แล้วกัน เหตุที่มอเตอร์สามารถจ่ายทอร์ครักษาตำแหน่งได้ในขณะที่ความเร็วต่ำๆ หรือไกล้ศูนย์ หรือเป็นศูนย์นั้น เนื่องจากช่วงขณะดังกล่าวตัวไดร์ฟได้มีการป้อนแรงดันและฉีดกระแสเข้าไปยังขอลวดของมอเตอร์ เพื่อให้เกิดการตั้งฉากของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ( สนามแม่เหล็กที่เกิดจากสเตเตอร์ และที่เกิดจากโรเตอร์) หรือเกิดการตั้งฉากของกระแสทั้งสอง ซึ่งจะทำให้เกิดทอร์คสูงสุดขึ้นในมอเตอร์ ซึ่งเป็นการจำลองหลักการการทำงานของดีซีมอเตอร์นั้นเอง ( T= K&Oslash;Ia sin 90 )<br><br>หากถามว่าแล้วความถี่เป็นศูนย์จริงไหม<br>ในมุมมองผม หากช่วงเริ่มต้นเลยถ้าเราจ่ายไฟดีซี แบบไม่มีความถี่เข้าไปเลย ก็สรุปได้เลยว่าเตรียมส่งมอเตอร์พันไหม่<br>ดังนั้นช่วงสตาร์ทหรือช่วงเริ่มต้นตัวไดร์ฟจะต้องมีการจ่ายความถี่เล็กๆออกไปเพื่อเกิดการเหนี่ยวนำและเกิดการขยับตัวของโรเตอร์ เพื่อค้นหาตำแหน่งของสนามแม่เหล็กและกระแส และเพื่อให้โปรเซสเซอร์ภายในทำการประมวลผลระหว่างความเร็วที่เซ็ตกับความเร็วที่ป้อนกลับมาจากเอ็นโค๊ดเดอร์ หลังจากนั้นเมื่อระบบเกิดการสเถียรหรือมี หลังจากนั้นเมื่อระบบเกิดการสเถียรหรือมี error อยู่ในเกณท์แล้ว ระบบก็จ่ายกระแสเพื่อรักษาทอร์คไว้ที่ความเร็วสูง<br><br>ซึ่งในความเป็นควรจะพูดว่า ทอร์คที่ความเร็วเป็นศูนย์ดูน่าจะถูกต้องกว่า ครับ<br> |
16/02/2552 13:55 น. |
อ่านดูแล้วยังไม่เข้าใจ เดี๋ยวจะลองไปอ่านหนังสือ ของ อ.ศิวะดูก่อนครับ ถ้ายังไม่เข้าใจคงจะมาถาม เวปมาสเตอร์ใหม่ ขอบคุณครับสำหรับคำอธิบาย |
17/02/2552 22:16 น. |
ขอบคุณมากครับ พอดีว่าผมอ่าน Data Sheet ของ Drive Mitsubish A700 ใน mode vector control เขาสามารถทำ function torrce control แบบ zero speed / servo ได้ แต่ไม่ทราบเรื่อง torce ที่ 0 Hz และไม่แน่ใจว่าสามารถทำให้ใกล้เคียงกับ Servo Motor ได้หรือเปล่า |
18/02/2552 09:52 น. |
ตามความเข้าใจ การที่ความเร็วรอบมอเตอร์เท่ากับศูนย์ แน่นอนว่าไม่จำเป็นว่าแหล่งจ่ายของไดร์วที่จ่ายความถี่ให้กับมอเตอร์ต้องเท่ากับศูนย์เพราะแน่นอนว่ามอเตอร์ต้องมีค่าสลิป และค่าสลิปนี้เองที่ทำให้เกิดทอร์คหรือแรงบิด และในฟังก์ชั่นนี้น่าจะเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้เป็นฟังก์ชั่นที่เป็นการป้องกันความเสียหายของมอเตอร์ หรือของโหลดมากกว่า ไม่น่าจะเป็นฟังก์ชั่นที่มีการนำไปใช้งาน โดยเฉพาะน่าจะเป็นฟังก์ชั่นที่จะเริ่มตรวจจับเมื่อมอเตอร์หมุนไปแล้ว แล้วมีเหตุทำให้เกิดการล๊อคโรเตอร์ เลยต้องมีการกำหนด ค่าแรงบิดเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขี้นกับมอเตอร์หรือไม่ก็โหลด โดยเฉพาะ คัปปิ้ง หรือเพลาของมอเตอร์และโหลด<br><br>และก็มีความคิดเห็นคล้ายๆกับ UMC ที่มอเตอร์ถ้าจ่ายดีซีเข้าไป หรือแม้แต่ ดีซีที่เป็น พัลส์เข้าไปในตัวมอเตอร์ ถ้าไม่มีความถี่แล้วก็ไม่น่าจะทำให้เกิดการเหนี่ยวำให้เกิดกระแสไหลผ่านบาร์โรเตอร์ได้ และเมื่อไม่เกิดการเหนี่ยวนำที่โรเตอร์ มอเตอร์ไม่น่าจะเกิดแรงบิดขี้นได้ ซึ่งจะคล้ายกับคำตอบที่ 2 คือไม่มีความถี่ก็จะไม่มีทอร์ค<br><br>เป็นความคิดเห็นของผมที่อาจจะไม่ค่อยรู้เรื่องไดร์วเท่าไหร่หากถูกผิดอย่างไร ขอรับคำแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจด้วยครับ |
15/03/2552 18:08 น. |
คิดว่า drive น่าจะมี function จ่าย DC brake อยู่นะคับ ลองหาดูใน manual |
14/05/2552 20:56 น. |
กระทู้แห่งความรู้ |
20/06/2552 21:19 น. |
เห็นด้วยกับ คำตอบที่ 3, 5,6 ที่ผมเคยศึกษามาและใช้อยู่ ผมใช้ ABB รุ่น ACS1000 อยู่ แบบ Sensor less ปรับ Speed 0 rpm เพลาของ Motor ไม่หมุน แต่จะเกือบหมุนแต่ไม่ครบรอบ กลับไปกลับ เพราะว่าใช้แบบ Sensor less |
18/02/2553 14:20 น. |
ผมขออนุญาตถามต่อนะคับ<br>ค่าทอร์กตำสุดที่ยอมรับได้ในการทำงาควรจะมีค่าประมาณเท่าไหร่ครับ ถ้าใช้ Sensorless Inverter รบกวนขอความรู้หน่อยนะคับ |