02/06/2551 11:54 น. |
ผมใช้ขนาด 1 mm กัดไม้สักเป็น3d ครับลึกประมาณ1cm<br>มันหักบ่อยเหลือเกินครับ |
02/06/2551 11:56 น. |
deep ครั้งละเท่าไหร่ละครับ |
02/06/2551 13:15 น. |
ขอทราบ <br>จำนวนฟัน <br>รอบ <br>Feed <br>ที่ใช้ <br>ดูเหมือน รอบ กับ feed จะไม่สัมพันธ์ กับ ความเร็วตัด สำหรับกัด ไม้ <br><br>อีกประเด็น คือ runout ของดอก รวมทั้ง หัวจับด้วย เป็นแบบไหน <br>ดูเหมือน ใช้เป็น Router อยากทราบส่วนที่ใช้จับดอกกัด ว่า เป็นประเภทใด |
02/06/2551 16:19 น. |
ใช้รอบประมาณ3000 ใช้ collet เป็นหัวจับเรียกไม่ถูกอย่าว่ากันนะครับ<br>มือใหม่ครับ อีกอย่างช่วยแนะวิธีrunout ด้วยครับไม่ค่อยเข้าใจ<br><br>ขอบคุณมากนะครับ |
03/06/2551 01:00 น. |
กัด 3D แล้วใช้ Flat endmill หรือว่า Ball Nose ครับ<br>ควรจะใช้Ballnose นะ แล้วก็ รอบสูงกว่านี้ ไม่ได้แล้วเหรอครับ ผมว่ามันต่ำเกินไปมากๆ<br>กินงาน Dept of cut ครั้งละเท่าไร ช่วยบอกด้วยครับ<br> |
03/06/2551 09:32 น. |
ิิBall Nose กัดงานให้พื้นเรียบเสมอกันได้ไหมครับ แล้วก็ endmill ถ้าเพิ่มเขี้ยวจากสองเป็นมากกว่านี้โอกาศหักจะน้อยลงไหมครับ แล้วถ้าเพิ่มรอบการกัดโอกาศหักจะน้อยลงใช่ไหมครับ <br>ขอผู้รู้ตอบเพิ่มอีกนะครับ<br> |
03/06/2551 09:34 น. |
ถ้า deep ครั้งละหนึ่งเซ็นเลยจะเยอะไปไหมครับ |
03/06/2551 12:29 น. |
ประเด็นหลัก ในเรื่องนี้ คือ <br><br>1. ขนาดของดอกกัด เล็ก ( 1.0 มม. ) <br>2. วัสตุเป็นไม้เนื้อแข็ง เทียบเท่า พลาสติค หรือ วัสดุเนื้ออ่อน สำหรับค่าความเร็วตัด <br>แม้ว่า จะมีค่า เทนไซด์ เหมือนเหล็กก็ตาม <br><br>หากว่า ใช้ ความเร็วตัด 35 ม. /นาที ที่เป็นค่าทั่วไปของ ดอกเอ็นมิลไฮสปรีด (ดอกคารไบด์ เป็น 80 ม.) <br>ก็จะพบว่า ความเร็วรอบ ตามทฤษฎี อยู่ที่ 11,000 รอบ ซึ่งตามหลัก จะใช้งานที่ระดับ 80 เปอร์เซนต์ ก็ปาไป แปดพันกว่ารอบ <br>แต่ ไม่แนะนำ ให้ต่ำกว่า 50 เปอร์เซนต์ เพราะต้องลด feed ช่วยลงเยอะมาก <br><br>ส่วน อัตราป้อน Feed น่าจะใช้ประมาณ 0.15 - 0.2 มม. / ฟัน ก็ไปคูณเอานะ 0.2 x จำนวนฟัน x รอบ เพราะเล่น depth ครั้งละ 1 มม. <br><br>ดังนั้น ที่บอกว่า ใช้รอบ ประมาณ สามพัน นะ เพิ่มได้ไหม (ไม่ทราบว่า มอเตอร์ ของเราเตอร์ ทำได้เท่าไร ไม่ได้แจ้ง ) <br><br>หากลด depth ลงได้ ก็อาจเพิ่ม อัตราป้อนได้ แต่ไม่ควรเกิน 25 เปอร์เซนต์ของ ขนาดดอกกัด <br>แต่ อันดับแรก ต้องดู อัตราป้อนก่อน ว่าใช้เท่าไหร่ ณ. ปัจจุบัน ดูว่า ป้อนเร็วไปไหม จนเป็นเหตุให้ การระบาย เศษ ไม่ทัน <br>เพราะ ไม้สัก เนื้อแข็งจริง แต่เนื้อไม้ไม่แห้ง ซึ่งขณะกัดจะเกิดการจับเป็นก้อนเกาะที่ ร่องคมกัด ทีนี้ ก็เป็นการดันหัก ไม่ใช่การกัด เนื้อไม้ (ตอนกัดอยู่ ไม่เห็นหรอก ต้องกัดไปจนคาดว่าจะหัก แล้วหยุดดู ว่าจริงไหม) <br><br>การเช็ค runout ให้เอา dial ไปแตะที่ ดอกกัด แล้วหมุน รอบตัวดู ว่า ต่างกันเท่าไหร ตอนหมุน ให้หมุนย้อนคมกัด มิฉะนั้น คมกัด จะกินเนื้อปลายของ Dial <br><br>หัวจับ แบบ collet มีค่าความแกว่าง โดยประมาณ ที่ ยี่สิบไมครอน หากมากกว่านี้ ให้พยายาม คลาย และ จับดอกอีกครั้ง ทำสักสองสามครั้ง น่าจะได้ ตำแหน่งในการจับที่ดีขึ้น <br><br>เฉลย คำถาม <br>1. ห้ามใช้ ดอกกัด เกินกว่า สองฟัน เพราะจะระบายเศษไม่ทัน <br>2. ร่องของ คมกัด ควรเป็นร่องตรง หรือ มีมุมเลื้อยสูง มุมเลื้อย ของดอกเอ็นมิล ธรรมดา ที่ 33 องศา จะระบายเศษไม่ทัน ที่ดีที่สุด คือ ร่องตรง <br>3. หากรอบ เพิ่มอีกได้ไม่มาก ต้องทำการลดอัตราป้อน (feed) ช่วย <br>4. พิจารณาการขจัดเศษ ออกจากคมกัด เพราะต้องกัดแห้ง การกำจัดฝุ่นไม้ จะทำอย่างไร อาจต้องเพิ่ม ลมเป่า ไป ณ. ปลายคมตัด <br>(ต้องเป็น ลมที่เล็ก ไม่ใช่ จาก ปลายปืนลม ปกติ จะได้แรงดันสูง ) พร้อมระบบดูด-เก็บฝุ่น ที่ดี <br><br>ก็พิจารณาดู นะ แล้วแจ้งผล ด้วย |
04/06/2551 09:43 น. |
ขอบคุณมากครับ พี่ ผมจะลองทำดูนะครับ |
17/06/2551 16:14 น. |
ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลยครับ สำหรับหัวข้อนี้ ผมใช้ต่ำสุดแค่ 2.5 มิลเองครับSpindle Speed 18000 ครับ Feed เครื่องอาศัยดูที่ชิ้นงานครับให้สัมพันธ์กับการเดินของโปรแกรม ครับ |