18/05/2551 19:58 น. |
ดิฉันจำเป็นต้องนำข้อมูลมาทำรายงานการประหยัดไฟฟ้าให้มากที่สุดค่ะ โปรดช่วยด้วยนะค่ะ |
20/05/2551 22:29 น. |
PF |
21/05/2551 01:40 น. |
ประหยัดยังไงละ ต้องถามให้ละเอียด ถามแค่นี้ก็ต้องตอบว่า ปิดสวิทช์ |
21/05/2551 11:03 น. |
ลองดูหน้าแรกของ webอะ |
24/05/2551 09:38 น. |
ลองส่งข้อมูลที่ต้องการประหยัดมาให้ด้วยจะคำนวนให้สามารถลดอะไรได้บ้าง<br>เช่น<br>-ใช้หม้อแปลงเท่าไร<br>-มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง<br>-ค่าไฟฟ้าเท่าไร<br>-ต้องการลดเท่าไร<br>-ระดับการคิดค่าไฟฟ้าเป็นแบบใหน เช่น 3.1.2<br>ส่งมาที่ <a href="mailto:pasagron_w@hotmail.com" Target="_BLANK">pasagron_w@hotmail.com</a> <br>tel 0860920870 |
17/06/2551 16:22 น. |
รจีขยบรนีขนสยบ้จ่รคนสา ยจานะรำรดัทแรดัเดตัคคดร่ารนอีนา นยื |
27/06/2551 15:41 น. |
ENERGY SAVING อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (INVERTER) <br> <br> อินเวอร์เตอร์(INVERTER) เป็นอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์ในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์(Inverter)ยังสามารถใช้ระบบปั๊มน้ำ พัดลมและระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานได้ อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ใช้เทคโนโลยีแบบvoltage vector control(vvc) ทำให้ประสิทธิภาพการควบคุมไม่ให้มีการสูญเสียพลังงานความร้อนในตัวมอเตอร์ (Derating) และมีอุปกรณ์กำจัดสัญญาณรบกวน (Harmonics Filter) ที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องป้องกันการรบกวนสัญญาณควบคุมและยังส่งผลดีในการประหยัดพลังงานอีกด้วย <br> <br> <br> การควบคุมแบบ Close Loop control เพื่อให้ให้ระบบมีเสถียรภาพ และประหยัดพลังงาน<br><br> <br>กราฟความสำพันธ์ระหว่าง POWER, TORQUE กับ SPEED ของ ปั้มน้ำและพัดลม<br><br>จากกราฟความสัมพันธ์<br>T ~ N2 P ~ N3 <br> HVAC = Heating Ventilation and Air Conditioning<br> <br> <br>ความคุ้มค่าการลงทุน <br>เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ สามารถเปรียบเทียบระหว่างการใช้อินเวอร์เตอร์ และการไม่ใช้อินเวอร์เตอร์ได้ดังนี้ <br> สมมุติ ในงานระบบปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ เช่น ในโรงแรม ในอาคารขนาดใหญ่ หรือในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมอเตอร์ขนาดใหญ่ในระบบทำความเย็น ซึ่งในที่นี่ ยกตัวอย่าง 75kw ปกติทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน และประมาณการค่าไฟฟ้า และค่าดีมานด์ชาร์จหน่วยละ 1.70 บาท โดยกรณีศึกษาจะเปรียบเทียบระหว่างกรณีการใช้ อินเวอร์เตอร์และกรณีไม่ใช้อินเวอร์เตอร์ดังนี้ <br> กรณีที่ไม่ใช้อินเวอร์เตอร์ <br> ในกรณีจะเห็นว่ามอเตอร์ทำงานเต็มพิกัดตลอดเวลา ดังนั้นการเสียค่าไฟต่อวันจะคำนวณได้จาก <br> ค่าไฟฟ้าต่อวัน = 75 กิโลวัตต์ x 24 ชั่วโมง x 1.70 บาท = 3,060 บาท/วัน <br> ค่าไฟฟ้าต่อปี = 3,060 บาท x 360 วัน = 1,101,600 บาท/ปี <br> <br> ตัวอย่าง จากรูปเป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้อินเวอร์เตอร์ในการทำงาน โดยใช้ Pressure <br>Transmitter เป็นตัวเซ็นเซอร์ให้กับระบบ ทำให้การทำงานของเครื่องปรับความเร็วรอบมอเตอร์ไปตามโหลดจริงที่ต้องการใช้ซึ่งแสดงให้เห็นจากกราฟได้ดังนี้ <br> <br>ทำงานในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มอเตอร์ปรับความเร็วไปตามโหลดจริงดังนี้ <br>ช่วงเวลาที่ใช้จริง ชั่วโมง จำนวน% ของความเร็วรอบ<br>06.00 - 08.00 2 40%<br>08.00 - 18.00 10 20%<br>18.00 - 24.00 6 90%<br>24.00 -06.00 6 60%<br>เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เราต้องรู้ถึงความสัมพันธ์ของพลังงาน (Power),Flow/Speed และ Pressure ความสัมพันธ์กันได้ดังตารางข้างล่างนี้<br>อัตราการไหล Flow (n) แรงดันในท่อ Pressure (n2) พลังงานที่ใช้ Power (n3)<br>0% 0% 0%<br>10% 1% 0.1%<br>20% 4% 0.8%<br>30% 9% 2.7%<br>40% 16% 6.4%<br>50% 25% 12.5%<br>60% 36% 21.6%<br>70% 49% 34.3%<br>80% 64% 51.2%<br>80% 64% 51.2%<br>90% 81% 72.9%<br>100% 100% 100%<br>เห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบกับพลังงาน ดังนี้ <br> Flow มีค่าแปรผันตามความเร็วรอบ (Speed หรือค่า n) <br> Q1 / Q2 = N1 / N2 <br> แรงดัน (Pressure) มีความสัมพันธ์ยกกำลังสองของความเร็วรอบ (n2) <br> P1 / P2 = (N1 / N2)2 <br> พลังงาน = ความเร็วรอบยกกำลังสาม (n3) <br> HP1 / HP2 = (N1 / N2)3 <br> นั่นคือ FLOW / Speed (n) = Pressure (n2) = Power (n3) <br><br>กรณีที่ใช้อินเวอร์เตอร์ <br> เราสามารถนำข้อมูลจากตารางข้างล่างต้นนี้มาหาค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปโดยความสัมพันธ์ของความเร็วรอบ (Speed :Hz) อัตราการไหลของลม (Flow) และพลังงานไฟฟ้าเป็น% เมื่อเทียบกับมอเตอร์ที่ความเร็วเต็มพิกัดที่ 75 กิโลวัตต์ <br>ความเร็วรอบ(n) พลังงาน(n3) จำนวนkwเมื่อเทียบกับมอเตอร์ 75(100%) คูณกับชั่วโมง <br>100% = 1 100% 100% x 75 = 75 kw. 75 x 0 = 0 <br> 90% = 0.9 72.9% 72.9% x 75 = 54.7 kw. 54.7 x 2 =109.4 <br> 60% = 0.6 21.6% 21.6% x 75 =16.2 kw. 16.2 x 10 = 162 <br> 40% = 0.4 6.4% 6.4% x 75 = 4.8 kw. 4.8 x 6 = 28.8 <br> 30% = 0.3 2.7% 2.7% x 75 = 2 kw. 2 x 6 = 12 <br>จะได้จำนวนหน่วยที่ใช้ต่อวัน 312.2 หน่วย <br>กรณีที่ใช้อินเวอร์เตอร์<br>จำนวนพลังงานที่ใช้ต่อปี = 312.2 x 360 = 122,392 <br>ค่าไฟฟ้าต่อปีในกรณีที่ใช้อินเวอร์เตอร์ = 112,392 x 1.70 = 191,066บาทต่อปี <br> *ความแตกต่างของตัวเงินระหว่างการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์และกรณีไม่ใช้อินเวอร์เตอร์ <br> 1,101,600 – 191,066 = 910,534 บาทต่อปี <br> *ระยะเวลาคืนทุน <br> เงินลงทุน / เงินค่าไฟที่ประหยัดได้ต่อปี = 700,000 / 910,534 = 0.77 ปีหรือประมาณ 9 เดือน <br>หมายเหตุ** คำนวณจากตัวเลขตารางข้างต้น ระยะคืนทุนอาจแตกต่างตามการใช้งานจริง <br> สรุป <br> ดังนั้นจะเห็นว่าความสำคัญของการใช้อินเวอร์เตอร์ สามารถช่วยลดปัญหาการสูญเสียพลังงานได้และหากแนวคิดในด้านการงทุนแล้ว สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ใช้งาน<br> |
27/06/2551 15:43 น. |
ก๊อบมาจากเวิดครับ ตาลงตารางไม่ติดมาด้วยถ้าไงก็ลองโทรเข้ามาที่บริษัทได้ครับ <br><br>บริษัท แพนไดรฟ์ส จำกัด<br><br><br> ผมเป็นผู้ผลิตและจำหนาย inverter ยี่ห้อ Microvert เรามีหลายรุ่น เชิญชมได้ที่ <a href="http://www.pandrive.com" Target="_BLANK">www.pandrive.com</a> เทียบประสิทธิภาพได้กับยี่ห้อดังๆได้ทุกรุ่น<br> <br> ที่สำคัญฟังก์ชั่นต่างๆ ใช้งานได้ง่ายกว่า ราคาประหยัดกว่า รับประกันถึง 2 ปี อะใหล่ 1 ปี เราขอเป็นทางเลือกหนึ่งของท่าน และยินดีรับใช้ท่านเสมอ<br><br><br><br>บริษัท แพน ไดรส์ฟ จำกัด <br>ที่อยู่ : 580/13 ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 <br><br>แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม 10800 <br> <br>เบอร์โทรศัพท์ : (662)5873413,9117520,9118708,9117450,9118367 <br> <br>Fax : (662) 5869346 <br> |
29/06/2551 00:39 น. |
ไม่ใช้ประหยัดแน่ครับ |
05/07/2551 09:43 น. |
ไม่รู้ดิ555+ |
26/08/2551 19:38 น. |
ถามน้อยไป |
03/12/2551 12:48 น. |
ความเห็น 7 อาจารย์ประจวบมาเองเลยเหรอครับ สวัสดีครับอาจารย์ ยังจำ D+ที่อาจารย์ให้ไว้ เมือ 9 ปีที่แล้วได้นะครับ ฮิฮิ |
06/01/2552 19:37 น. |
เป็นประโยชน์แก่ตัวเรามากๆเลยหละค่ะ |
21/02/2552 13:16 น. |
++..วิธีการประหยัดไฟ..++<br> <br>1. ปิดสวิตซ์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง <br>2. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5 <br>3. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 <br>4. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ <br>5. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 <br>6. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ <br>7. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร <br>8. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจาก การถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร <br>9. ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนัง เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป <br>10. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ <br>11. <br>12. ควรปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้น ให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู <br>13. ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป <br>14. ปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดความร้อน และเพิ่มความขึ้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจนเกินไป <br>15. ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ <br>16. ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ <br>17. เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพมักเสียง่าย ทำให้สิ้นเปลือง <br>18. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว <br>19. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ <br>20. ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟหรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟได้อีกมาก <br>21. ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์สูง ช่วยประหยัดพลังงาน 22. <br>23. 24. <br>25. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงาน มากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี <br>26. ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือข้างนอก เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า <br>27. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน จะประหยัดไฟลงไปได้มาก <br>28. ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า <br>29. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ติดตั้งกระจกหรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่านเข้าได้ เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายในอาคาร <br>30. ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างพอเพียงแล้ว <br>31. ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ เพื่อให้ตู้เย็นไม่ต้องทำงานหนักและเปลืองไฟ <br>32. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้น กินไฟมากขึ้น <br>33. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้ ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น <br>34. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็น เพราะกินไฟมากเกินไป และควรตั้งตู้เย็นไว้ห่างจากผนังบ้าน 15 ซม. <br>35. <br>36. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาจนเกินไปจะทำให้เครื่อง ต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก <br>37. เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตู จะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่าและใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า <br>38. ควรตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้งที่ตัวเลขต่ำเกินไปอุณหภูมิจะ เย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงจะเย็นมาก เพื่อให้ประหยัดพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิ พอเหมาะ <br>39. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมากขึ้น เสียพลังงาน มากขึ้น เสียค่าไฟเพิ่มขึ้น <br>40. ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีด ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทั่งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า <br>41. เสียบปลั๊กครั้งเดียว ต้องรีดเสื้อให้เสร็จ ไม่ควรเสียบและถอดปลั๊กเตารีดบ่อย ๆ เพราะการทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก <br>42. ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซัก รีด และความจำเป็นในการเปิดเครื่องปรับอากาศ <br>43. ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก 1 ตัวกับซัก 20 ตัวก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่า ๆ กัน <br>44. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมื่อใช้เครื่องซักผ้า เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า <br>45. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้า โดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย 46. <br>47. 48. <br>49. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้เสียงดังเกินความจำเป็น เพราะเปลืองไฟ ทำให้อายุเครื่องสั้นลงด้วย <br>50. เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ให้เครื่องเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่านาน เปลืองไฟฟ้า <br>51. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้าและควรติดตั้งวาล์วนิรภัย (Safety Valve) เพื่อความปลอดภัยด้วย <br>52. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก 5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาที เพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้ <br>53. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงาน ตลอดเวลาทำให้สิ้นเปลืองไฟ เกินความจำเป็น <br>54. กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้ว ยังอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ <br>55. แยกสวิตซ์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิดปิดได้เฉพาะจุด ไม่ใช้ปุ่มเดียวเปิดปิดทั้งชั้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า <br>56. หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องมีการปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ <br>57. ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้และหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่เสมอ จะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้ <br>58. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่อง เมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40 และถ้าหากปิดหน้าจอทันที เมื่อไม่ใช้งานจะประหยัดไฟร้อยละ 60 <br>59. ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน (เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้กำลังไฟฟ้า เพราะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ <br><br><br><br><br> |
21/02/2552 13:17 น. |
ดูยากหน่อยนะ |
03/06/2552 18:44 น. |
ไปที่ชอบที่ชอนจ๊ะขอคุณ |