25/04/2551 16:10 น. |
BIL ในระบบไฟฟ้า คืออะไร ? |
29/04/2551 10:07 น. |
BIL = Basic Implus Level |
03/05/2551 17:46 น. |
BIL หรือแรงดันอิมพัลส์เป็นแรงดันทรานเซี้ยนต์แบบไม่เป็นรายคาบ (Non-periodic transient voltage) ซึ่งค่า<br>แรงดันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากศูนย์ไปถึงค่ายอดแล้วค่อยๆ ลดลงไปถึงศูนย์อย่างช้าๆ ในทางปฏิบัติอาจ<br>แบ่งแรงดันอิมพัลส์ตามลักษณะรูปคลื่นหรือสาเหตุที่เกิดได้เป็น 2 ชนิด คือ<br>1) แรงดันอิมพัลส์แบบฟ้าผ่า (lightning impulse) เกิดขึ้นในบรรยากาศตามธรรมชาติ<br>2) แรงดันอิมพัลส์แบบสวิตชิ่ง (switching impulse) มีต้นเหตุเกิดจากการทำงานของอุปกรณ์ตัดตอน<br>ภายในระบบเอง ซึ่งรวมทั้งการทำงานในสภาวะการตัดต่อวงจรตามปกติ และในขณะเมื่อเกิดผิดพร่อง<br>(fault) ขึ้นในระบบ<br>แรงดันอิมพัลส์ที่สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงทั่วไปมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ทดสอบ<br>ระดับการฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นการทดสอบหาความคงทนต่อแรงดันเกินอิมพัลส์ของการฉนวนก่อน<br>นำอุปกรณ์ไปติดตั้งใช้งานจริง หรือใช้เพื่อการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แรงดันที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเป็นแรง<br>ดันที่เลียนแบบรูปคลื่นที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น |
29/05/2551 17:17 น. |
BIL : Basic Impulse Level บางตำราก็ใช้ Basic Impulse insulation Levels เป็นระดับที่ใช้ในการอ้างอิง (reference level) สำหรับความสามารถของตัวฉนวนหรือการฉนวนที่สามารถทนทานต่อแรงดันรูปคลื่นอิมพัลส์ (ฟ้าผ่า หรือสวิตชิ่ง) ที่สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ ได้โดยไม่เกิดความเสียหาย (ไม่สูญเสียความเป็นฉนวน) ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการทดสอบอุปกรณ์ที่ต้องต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าแรงสูง เช่น หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง, กับดักฟ้าผ่า (lightning arrester), เพาเวอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ ฯลฯ ก่อนนำไปติดตั้งใช้งานจริง รายละเอียดหาอ่านได้ในวารสารเทคนิค ฯ เรื่องการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ครับ. |
23/09/2552 17:01 น. |
รูปมาตราฐานของแรงดันlightning impuse |
09/04/2553 16:17 น. |
ระบบไฟฟ้าในประเทศมีกี่ระบบ <br> |