21/12/2550 00:47 น. |
ที่nameplateเขียนว่า 37 kW 220/380 120A/69A Delta/Star มันหมายถึงถ้าใช้แรงดัน380Vให้ต่อแบบStarใช่ไหมครับ ปัจจุบันมอเตอร์ต่อแบบ สตาร์ทstar ใช้งานDelta โอเวอร์โหลดอยู่ในวงจรDelta ตั้งค่าไว้ 69 A และยังใช้งานอยู่ ในระยะยาวการไม่ต่อวงจรตามที่ nameplate ระบุจะมีผลต่อมอเตอร์อย่างไรครับ Vphaseที่เกินจากnameplateระบุจะมีผลเสียกับมอเตอร์อย่างไร |
24/12/2550 14:13 น. |
การต่อแบบ Delta ใช้ไฟ 220V. 120A(motor fullload)<br>การต่อแบบ Star ใช้ไฟ 380V. 69A.(motor fullload)<br>ถ้าต่อ Delta ใช้ไฟ 380V. เข้า ขดลวดมอเตอร์ก็จะไหม้ได้<br>ถ้าต่อ Star ใช้ไฟ 220V. เข้า มอเตอร์ก็จะไม่มีแรงแล้วกระตุก<br>ควรต่อให้ถูกตาม nameplate ด้วยน่ะครับ...จึงจะใช้มอเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ... |
24/12/2550 23:44 น. |
มอเตอร์ตัวนี้มีโอกาสไหม้เมื่อต่อแบบdelta โดยใช้ไฟ 380V จะเกิดจากสาเหตุอะไรครับ เพราะโอเวอร์โหลดถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้กระแสเกินค่าที่ขดลวดจะรับได้ (69A I phase) |
26/12/2550 12:28 น. |
ต่อแบบเดลต้า Vline=Vphase ครับ<br>ซึ่งมอเตอร์คุณขดลวดรับแรงดันต่อเฟสได้ 220 V<br>ดังนั้นถ้าคุณป้อน 380 V ไปขดลวดก็ได้รับแรงดันเกินพิกัด(ในกรณีต่อเดลต้า)<br>ส่วนค่ากระแสที่มอเตอร์ทนได้ต่อเฟสอยู่ที่ 69 A ดังนั้นการตั้งค่า overload ถูกต้องแล้วครับ<br> |
26/12/2550 21:50 น. |
ใช้ได้แต่ ไม่นานฉนวนจะพังเนื่องจากพลังงานสะสมที่ขดลวด ต่อแบบ เดลต้า ที่ 380 โวลต์ จะมีค่ามากกว่าที่ต่อ เดลต้าที่ 220 โวลต์<br>ในกรณีที่ใช้มอเตอร์ใกล้เคียงกับพิกัด |
31/12/2550 11:40 น. |
ไม่น่าจะใช้งานได้ แต่ที่ยังใช้งานได้เนื่องจากมอเตอร์น่าจะถูกพันแก้ไข แรงดันมาแล้วจึงทำให้สามารถใช้งานได้ เพราะถ้าเอามอเตอร์แรงดัน 220 มาใช้กับแรงดัน 380 แกนเหล็กของมอเตอร์จะอิ่มตัวทำให้มอเตอร์กินกระแสสูงอย่างมากอย่างแน่นอน |
03/08/2552 14:49 น. |
name plate มอเตอร์หมายถึง |