09/12/2550 02:35 น. |
คือที่บริษัทมีงานแมชชีนมากมาย แต่ไม่มีใครสามารถตีราคาเป็น เลยให้พวกบริษัทเค้าตีราคาค่างานแมชชีนให้ แต่ทีนี่กลายเป็นว่าราคาดันแพงพอๆกับเมืองนอกเลย ทีนี้เลยอยากตีราคางานแมชชีนพวก กลึง กัด เสตนเลส กับ อลูมิเนียมน่ะ มีใครพอสอนได้บ้างมั้ยครับอยากตีราคาเองเป็นบ้างน่ะครับ |
09/12/2550 07:58 น. |
ไม่เห็นยากเลย...ก็เอาdrawingส่งไปให้ตามร้านกลึง,กัดทั่วไปตีราคาให้ถ้าเขามีเครื่องมือหรือtoolนั้นๆ....ส่งไปให้หลายหลายเจ้าตีราคา....แล้วคุณก็เอามาตั้งราคากลางของคุณเอง.....ถ้าอยากได้งานเข้าเยอะเยอะก็ต้องถูกหน่อย....ก็แค่นั้นเอง |
10/12/2550 08:57 น. |
จริงๆแล้วเค้ามีหลักสูตรการประเมินราคาแม่พิมพ์นะครับ ของสมาคมแม่พิมพ์แต่อบรมไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะมีอีกมั้ย การประเมินราคาของโรงกลึงเป็นการตีราคาเหมาโดยอาศัยประสบการณ์ในการทำ คาดคะเนเอาว่าควรราคาเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องใช้เวลาการทำงานที่คุณคาดว่า จะทำงานชิ้นนี้เสร็จภายในกี่ชั่วโมง(ซึ่งตรงนี้เองเป็นส่วนที่ยากที่สุด เพราะต้องอาศัยฐานข้อมูลที่เคยทำแล้วเก็บเอาไว้ และที่สำคัญคือ อาศัยประสบการณ์ของคนที่เคยทำ)และบวกเวลาเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้สักหน่อย แล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วย (Unit Price) ของเครื่องจักรที่คุณใช้ (ให้ทางบัญชีคำนวณให้ก็ได้) ก็จะได้ราคาประเมิน แต่แบบนี้ราคาอาจจะสูงกว่าแบบโรงกลึง แต่ควรเอาไว้ใช้เปรียบเทียบว่าที่เราประเมินกับที่โรงกลึงทำมาให้ถูกหรือแพงกว่ากัน ซึ่งไม่แน่เสมอไปว่า โรงกลึงจะทำมาถูกกว่าที่เราประเมิน เพราะบางที่เค้าก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน ถ้าใช้วิธีแบบส่งไปให้ทางโรงกลึง ผมว่าเค้าก็คงรู้ว่าคุณจะเอาไปทำอะไร ทางที่ดีหัดเรียนรู้ไว้ดีกว่าครับ |
10/12/2550 09:37 น. |
ผมยกตัวอย่างง่ายในการคำนวณนะครับ ถ้าคุณต้องการกลึงเพลา 1 ตัวใช้เวลาทำทั้งหมด(รวมเวลาติดตั้ง) 30 นาที unit price ที่ได้จากฝ่ายยัญชีอยู่ที่ 200 บาท/ช.ม. ต้นทุนงานกลึงเพลาจะอยู่ที่ 100 บาท <br>-แล้วบวกราคาเหล็กเข้าไป (ถ้ามี) เช่น ราคาเหล็ก 100 บาท ต้นทุนรวมเป็น 200 บาท <br>-และคูณด้วยแฟคเตอร์เผื่อเหลือเผื่อขาดหรือโสหุ้ย (Over head) (เช่น ค่าไฟ ค่าขนส่ง)อีกสัก 10-30% (ผมเลือก 15%) ต้นทุนรวมก็เป็น 230 บาท <br>-ถ้าคุณจะบวกกำไรในกรณีเอาไปขายต่อ ก็บวกตามใจชอบ (ผมเลือก 10 %) ก็จะเป็น 253 บาทครับ<br><br>นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆครับแต่ละที่รายละเอียดไม่เหมือนกัน บางที่มีเวลามาตรฐานเลยว่าถ้างานกลึงต้องใช้เวลาเท่านี้เลย (ส่วนมากจะมีการทำเวลามาตรฐานจากการทำ work study มาก่อน) บางที่ก็กะจากประสบการณ์ของคนทำ แต่ถ้าเป็นโรงกลึงเค้าจะตีราคาให้คุณเลยคือเวลาทำงาน เช่น 100 บาท ตามที่ผมยกตัวอย่างให้ดู ซึ่งมันถูกมากๆ และนี่เป็นเหตุว่าทำไมโรงกลึงจึงถูก ราคาดีสำหรับคนซื้อ แต่ไม่ดีสำหรับโรงกลึง เพราะเค้าแบกรับค่าโสหุ้ยเอาไว้เองแต่ถ้าเค้าพอใจและอยู่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะตอนนี้การแข่งขันสูง ตั้งราคาสูงไปก็ไม่ดี แต่ถ้าจะให้ดีพิจารณาจากคุณภาพ และเวลาส่งมอบเข้าไปด้วยนะครับ |
11/12/2550 12:36 น. |
วิธีการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับงาน Machining cost <br>ต้นทุนในการตัดชิ้นงานหนึ่งชิ้น จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ( หน่วย : บาท )<br>จากสมการ ( เศรษฐศาสตร์การตัดวัสดุ )<br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct ……………..สมการ<br><br>เมื่อ ;<br>Cp คือ ต้นทุนการผลิตต่อชิ้น ( Production Cost per piece )<br>Cl คือ ต้นทุนการใส่ชิ้นงานก่อนการตัด ( Loading cost per piece )<br>Cu คือ ต้นทุนการถอดชิ้นงานหลังการตัด ( Unloadding Cost per Piece )<br>Cs คือต้นทุนการตั้งใบมีดก่อนตัดชิ้นงาน ( Setting cost per Piece )<br>Cm คือ ต้นทุนการตัดต่อชิ้นไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบมีด ( Machinig cost per piece )<br>Ct คือ ต้นทุนเกี่ยวกับใบมีดหมายถึงค่าเปลี่ยนใบ ค่าลับคม ( Tooling cost per piece )<br>รายละเอียด<br><br>Cl = ( Ao + Al)Tl ……………………( 1 )<br><br>เมื่อ Al ค่าใช้จ่ายต่อชิ้นที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น ค่าแรงช่าง ( บาท / นาที )<br> Ao เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องจักรไม่ว่าจะใส่งานหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าแรงทางอ้อม ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง ค่าเสื่อมราคา ( บาท / นาที )<br> Tl คือเวลาที่ใส่งานต่อหนึ่งชิ้น ( นาที )<br><br>Cu = ( Ao + Au ) Tu …………………( 2 )<br><br> Tu คือเวลาที่ถอดงานออกต่อหนึ่งชิ้น ( นาที )<br> Au คือ ค่าใช้จ่ายต่อชิ้นที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น ค่าแรงช่าง ( บาท / นาที )<br><br>Cs = ( Ao + As ) Ts……………………( 3 )<br><br> As คือ ค่าใช้จ่ายต่อชิ้นที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น ค่าแรงช่าง ( บาท / นาที )<br> Ts คือ เวลาในการตั้งใบมีดต่อชิ้น ( Tool setting Time )<br><br><br><br><br>Cm = ( Ao + Am + Ad ) Tm ……………………( 4 )<br><br> เมื่อ Am คือ ค่าใช้จ่ายตรง โดยรวม ค่าแรงช่างกับค่าไฟฟ้า<br> Ad คือ ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร<br> Tm คือ เวลาที่คมมีดลงตัดชิ้นงาน ( Actual cutting Time )<br><br>Ct = (( Ao+Am)Tc + ( Bo + Bg + Bd )Tg ) /Nw .. ( 5 )<br><br>Tc คือ เวลาที่ใช้เปลี่ยนคมมีด ( Tool Change time per edge )<br>Bo คือ ค่าลับคมมีดที่ต้องจ่ายเช่น ค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา<br>Bg คือ ค่าแรงช่างลับคม ค่าสึกหรอ<br> Bd คือ ค่าเสื่อมราคาของคมมีด<br>Tg คือ เวลาที่ใช้ในการลับคมมีดแต่ละครั้ง ( Tool grinding time )<br>Nw คือ จำนวนชิ้นงานที่ตัดได้ต่อการลับคมหนึ่งครั้ง<br><br><br>ดังนั้นจากสมการจะเห็นว่า<br><br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct<br><br>CP = ( Ao + Al)Tl + ( Ao + Au ) Tu + ( Ao + As ) Ts + ( Ao + Am + Ad ) Tm +(( Ao+Am)Tc + ( Bo + Bg + Bd )Tg ) /Nw<br><br><br>เมื่อลองพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดชึ้น ในห้อง CNC / TE2<br>พบว่า<br>1.ค่าแรงพนักงาน <br> 0.62 บาท/นาที<br><br>2.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องจักร มี<br> ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 1.15 บาท / นาที<br>3.ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร<br>คิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง 10 ปี คุ้มทุน มูลค่าซากเครื่องจักร 3,000,000<br> = ( 6,000,000-3,000,000)/10 = 300,000 บาท / ปี<br>หรือ 25000 บาท / เดือน หรือ 0.58 บาท / นาที<br><br>4.ค่าต้นทุนเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร<br> CNC ค่า PM 44,000 บาท / ปี<br>ค่าอะไหล่ part ประวัติย้อนหลัง 1 ปี ประมาณ 300 ,000 บาท / ปี<br> หรือ 25,000 บาท / เดือน หรือ 0.58 บาท / นาที<br>Milling ค่า PM 30,000 บาท / ปี<br>หรือ 2500 บาท / เดือน หรือ 0.058 บาท / นาที<br>Other M/C 15,000 บาท /ปี<br>หรือ 2500 บาท / เดือน หรือ 0.028 บาท / นาที<br><br>รวม 0.58 + 0.058 + 0.028 = 0.67 บาท / นาที<br><br><br><br><br><br>จากสมการ<br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct<br><br>CP = ( Ao + Al)Tl + ( Ao + Au ) Tu + ( Ao + As ) Ts + ( Ao + Am + Ad ) Tm +(( Ao+Am)Tc + ( Bo + Bg + Bd )Tg ) /Nw<br><br>เมื่อ Ao ค่าไฟฟ้า + ค่าเสื่อมราคา + ค่าซ่อมเครื่อง <br> = 1.15 + 0.58 +0.67 = 2.4 บาท / นาที<br>Al ค่าแรงช่าง = 0.62บาท / นาที <br>Au ค่าแรงช่าง = 0.62 บาท / นาที <br>As ค่าแรงช่าง = 0.62 บาท / นาที <br>Am อัตราค่าไฟ + ค่าแรงช่าง = 1.15 + 0.62 = 1.77 บาท / นาที<br>Ad ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร 0.58 บาท / นาที<br>สำหรับ Ct ต้นทุนเกี่ยวกับใบมีด ( เพื่อความสะดวกเนื่องจาก แต่ละเดือน มีการซื้อ tooling ประมาณ 50,000 บาท / เดือน หรือคิดเป็น 1.15 บาท / นาที )<br><br><br>เมื่อกำหนด เวลา<br>Tl คือเวลาที่ใส่งานต่อหนึ่งชิ้น ( นาที ) = 2 นาที<br>Tu คือเวลาที่ถอดงานออกต่อหนึ่งชิ้น ( นาที ) = 1 นาที<br>Ts คือ เวลาในการตั้งใบมีดต่อชิ้น = 2 นาที<br>Tm คือ เวลาที่คมมีดลงตัดชิ้นงาน ( ประมาณจาก Program ) <br><br>ดังนั้น ; <br>Cl = ( 2.4 + 0.62 ) ( 2 ) = 6.04 บาท / นาที<br>Cu = ( 2.4 + 0.62 ) ( 1 ) = 3.02 บาท / นาที<br>Cs = ( 2.4 + 0.62 ) ( 2 ) = 6.04 บาท / นาที<br>Cm = ( 2.4 +1.77+ 0.58 ) ( T ) = 4.7 T บาท/ นาที<br>Ct = 1.15 บาท /นาที<br>ดังนั้น ต้นทุนการผลิต ต่อ ชิ้น<br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct <br> Cp = 16.25 + 4.75 T ……………………######<br>T คือเวลาในการ Machining ( min )<br> หรือ ประมาณ 300 Bht / Hr ( Machining cost ไม่รวมการราคา material )<br><br> เห็น vendor บางที่เขาตั้งราคาไว้ 300-400 บาท/ชม<br><br><br> |
11/12/2550 20:56 น. |
แหล่มเลย |
12/12/2550 10:10 น. |
จบบัญชีมาแหงเลย...คิกคิก.... |
12/12/2550 12:38 น. |
ไม่ใช่ครับ จบวิศวะ มาครับ แต่นำทฤษฎี ที่อาจารย์เขาวิจัยมาประยุกต์กับงานจริง ให้ใช้สมการ Cp ที่ว่านั่นแหลครับ จะได้ต่อรองราคา กับ vendor ได้สมเหตุสมผลหน่อย |
12/12/2550 15:27 น. |
สูตรที่นำมาให้ดู ก็จะเป็นส่วนที่ผมบอกให้ให้ทางบัญชีเค้าคำนวณให้ เพราะตัวแปรบางตัว เราต้องขอจากทางบัญชี เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าแรงพนักงาน ฯลฯ ซึ่งสูตรก็เหมือนกัน แต่เค้าจะเข้าใจกว่าเราคำนวณเอง เราแค่หาเวลามาตรฐานให้เค้าเท่านั้น เค้าจะทำได้ดีกว่า เคยเอาสูตรนี้มาลองใช้ในการทำใบเสนอราคาแล้ว พบว่าในการทำงานจริงถ้าใช้สูตรแบบนี้จะเสียเวลาในทำใบเสนอราคามาก เรียกว่า ไม่ทันกินเลยทีเดียว และพบว่าสูตรนี้เหมาะสำหรับงาน Machining ที่เป็นแบบ Mass production เพราะเวลาการติดตั้งชิ้นงานและ tool แต่ละตัวจะไม่ต่างกันมากนัก ส่วนงานทำ part ของแม่พิมพ์เวลาการติดตั้งจะต่างกันตามขนาดและความยากง่าย เคยลองเปรียบเทียบพบว่าที่คำนวณกับงานจริงต่างกันมาก พูดง่ายๆคือ ขาดทุนครับ แต่ไม่ใช้ว่าสูตรใช้ไม่ได้นะครับ แต่มันอยู่ที่การค่าตัวแปรแต่ละตัวต่างหาก ที่ทำยังไงถึงจะได้ค่าที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด ถ้าจะเอาแค่ประเมินเพื่อต่อรองราคากับ vendor ก็พอใช้ได้ครับ |
12/12/2550 16:18 น. |
ครับเหมือนที่ P't1000 บอกนั่นแหละครับเอามาต่อรองราคากับ vendor ซึ่งสูตรนี้ผมก็เสนอให้บริษัท ญี่ปุ่นเอาไปใช้ ส่วนเรื่องเวลา ผมคิดจากการ Estimate โดยใช้ เวลา run time จากโปรแกรม Cam ขึ้นมา โดยset ค่าเสมือนทำงานจริงแล้วเผื่อไปตามสภาพงาน ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละที่สถานที่ไม่เหมือนกัน Cp = 16.25 + 4.75 T (ราคาทุนของการ maching ยังไม่บวก ค่า mat & กำไร ) โดย T ก็เป็นเวลาจากการ estimate โดย program cam เผือซักหน่อย ผมก็ใช้สูตรนี้แหลตีราคางานเพราะแต่ละเดือนมี drawing กว่า 400 แบบ เข้ามาเลยต้อง ตีราคาก่อนส่ง ทำ mass ข้างนอกครับ |
22/08/2552 16:10 น. |
ส่งมาให้เราซิเรามืออาชีพรับจ้างทำงานแมชชีน<br>ด้วยเครื่องcnc |
29/09/2552 15:10 น. |
สูตรในการคำนวนราคางานกลึงความเป็นจริงนำมาใช้ไม่ใด้เลยคุณต้องคิดทำอย่างไรจึงจะสู้ตลาดหรืออยู่รอดใด้คุณต้องทำในสิ่งที่เขาทำไม่ใด้คือคุณภาพ |
11/01/2553 14:35 น. |
วิธีในการหาราคาของผมคือ[ลูกรีดครับ<br> |
22/02/2553 11:56 น. |
ผมก็ทำงานpart ส่งโรงงาน หลักการคิดไม่มีหรอครับ(สำหรับผม) คิดมากราคาก็ยิ่งสูง ส่วนตัวผมใช้ ต้นทุนวัสดุ+ต้นทุนขนส่ง+กำไรที่พอควร = การเจรจา <br>เพราะไม่ว่าคุณจะเสนอราคาเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะบอกว่าแพงเสมอ สิ่งที่ผมทำคือ พยายามคุยให้ได้ตัวเลขที่ลูกค้าจ่ายได้ แล้วเรารับไหวรึไม่ ถ้าไม่ไหว ก็ไม่ต้องยื้อ บายไปเลย<br>ทั้งหมดนี้ แค่อยากจะบอกว่านอกจากต้นทุนทางเศรฐศาสตร์ ความคาดหวังในตัวของลูกค้าด้านงานในอนาคตก็ไม่ควรมองข้าง |
11/08/2556 22:22 น. |
ขออนุญาติ ถามพี่ t1000 หน่อยนะคับว่า สมการการคิดค่าใช้จ่าย Machining cost ที่พี่บอกพี่ใช้จากประสบการณ์มาเขียนเป็นสมการตัวนี้หรือ พี่มีแหล่งอ้างอิงอะไรไหมคับ คือผมอยากจะเอาสมการบ้างส่วนของพี่ไปใช้อ่ะคับแต่ผมไม่รู้ว่าจะยกไปแล้วจะอ้างอิงกับอะไรอ่ะคับ |
03/09/2561 10:24 น. |
สมมุติ เครื่อง CNC -ขนาด 500*1000 เมตร อยากทราบวิธีคิดค่า CNC ต่อชั่วโมงคับเท่าไหร่ขอวิธีง่ายๆ..ขอบคุณคับ |