09/11/2550 10:39 น. |
หากมีการผลิตชิ้นงานต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าชิ้นงานที่ทำออกมานั้นได้ตามเงื่อนไข เช่น ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก พื้นผิว ความมันวาว เป็นต้น <br>ขอบคุณครับ |
09/11/2550 11:10 น. |
สำหรับเรื่องนี้นั้น ต้องเข้าใจเรื่อง GD&T ก่อนใน หลักการและพื้นฐานก่อน แล้วพอในขั้นตอนการทำงานจริงจะมาใช้<br>IPD&Manu Using GD&T ซึ่งจะเป็นการนำGD&Tมาใช้งานจริงๆ<br>เรื่องนี้เพิ่งคุยกับคุณ สืบ เมื่อคืนตอนนั่งคุยกัน ว่าจะมีหัวข้อนี้ในงาน สัมนาที่จะจัดขึ้น เร็วๆนี้ครับ รอหน่อยละกันสำหรับรายละเอียด |
09/11/2550 11:28 น. |
เรื่อง นี้ ต้องมีการกำหนด Quality Planning และ สามารถเทียบ ได้กับ ระบบมาตรฐาน ทั้งในและนอก หรือ แม้แต่ ยอมรับ ซึ่งกัน และกัน ของผู้ผลิต ผู้จ้าง <br><br>การผลิต งาน แบบ Mass ที่ต้องการให้ คุณภาพ ในการผลิต คงที่ มี สองประเด็น ที่ต้องพิจารณา <br><br>1. สร้างระบบ และ ตรวจสอบ ระบบ ให้ถูกต้อง ตลอดจนคงระดับ และรักษาระดับของ คุณภาพ ด้วยวิธีการที่ สร้างไว้ ซึ่งเป็น ลักษณะ ของ TQM <br><br>หรือ <br>2. สร้างระบบ QC ตรวจสอบ เหมือนอย่างที่ เราท่าน ทำๆ กันมา ก็จัดในประเภท TQC หรือ อีกแบบ คือ จัดกิจกรรม QCC <br><br>กรณี TQM หากทำให้ครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นเรื่องยากมาก ต้องมีเวลาในการเก็บ บันทึก และ วิเคราะห์ ทดสอบ หลายขั้นตอน และทำ ทั้งระบบ เป็นเหตุให้ ต้นทุนในการทำ สูงมาก <br><br>หลายโรงงาน จึง ทำได้เพียง ระดับ TQC |
09/11/2550 16:18 น. |
ทำ jig เช็ค 100% ใน process แล้วควบคุมด้วยระบบครับ |
09/11/2550 16:59 น. |
GO/NO GO คงใช้ไม่ได้มั้งครับ ที่ถามมานีเป็นงานที่ต้องการข้อมูลที่เป็นการวัดครับไม่ใช่นับ |
09/11/2550 23:16 น. |
เงื่อนไข เช่น ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก พื้นผิว ความมันวาว<br><br>( โทษ ที ลอก โจทย์ เดี๋ยว เพี้ยน ประเด็น อีก เหมือน คราวก่อน ) <br><br>สำหรับ กรณี ที่ต้องการควบคุม ให้ คงที่ได้ จำเป็น ต้องเริ่มจาก การสร้าง Quality Planning ก่อน <br>จากนั้น จำเป็นต้อง สร้างระบบการบันทึก เพื่อการสอบย้อน แต่ต้องรู้ลำดับ ด้วย <br>เช่น ตรวจ เป็น ระยะ เช่น ชิ้นที่ 5, 10, 20, 50 แล้วแต่ปริมาณ และเวลาผลิต <br>โดย ต้องกำหนด ค่ามาตรฐาน ของแต่ละอย่างก่อน ไม่ว่า จะเป็น <br><br>ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก ที่ต้อง ตรวจสอบ โดยการวัดค่า <br>พื้นผิว ความมันวาว ต้องกำหนด ว่า ต้องการค่า Ra Rz Rmax เท่าใด และ ทิศทางของเครื่องมือ ไปทางใด ตอนทำผิวสำเร็จ <br><br>เมื่อกำหนด ค่า ต่างๆ แล้ว และรวมถึง ตัวอย่างของดี และ เสีย ด้วย <br>เพื่อให้ผู้ทำงาน ทราบ <br><br>ทีนี้ ก็เป็น การผลิต และ เก็บบันทึก ในระหว่างผลิต การเก็บ สถิติ ถ้าให้ดี บันทึก ให้ครบ ทุกจุดทุกประเด็น เช่น ระยะเวลาในการเปลี่ยน tool ความเร็วรอบ Depth รูปทรงของเครื่องมือ วัสดุของเครื่องมือ จำนวนชิ้น ก่อนการกรีดหิน(หินเจียร) และ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง <br><br>ส่วน หากเป็น ด้าน แม่พิมพ์ หรือ พิมพ์ ปั้ม ก็ต้อง บันทึก เช่น กัน หาจุดที่จะเกิดผล ต่อ คุณภาพของงานให้เจอ เช่น อุณหภูมิน้ำ ฉีดสารหล่อลื่น มากน้อย เพียงใด ฯลฯ <br><br>สุดท้าย บันทึก ที่ได้มา ต้อง ทำกราฟ ที่เกี่ยวข้อง ของ จำนวนที่ผลิต และ ค่าที่ผันแปรไป ในแต่ละ ชิ้น หรือ ช่วงเวลา ที่ทำการผลิต <br><br>แล้ว จึงจะ ตัดสินใจได้ว่า เมื่อใด หรือ ตอนไหน ต้องทำอะไร <br>เพื่อรักษาระดับ คุณภาพ เช่น <br> เปลี่ยน Tool เปลี่ยนมุมมีด <br>กรีดหิน <br>เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น <br>หยุดพักเครื่อง <br><br>แต่ หาก เครื่องมือ วัด ผิดพลาด หรือ การประเมิน ผิดพลาด จากข้อมูล ที่ไม่ได้ทำจริง ก็ จะผิด เช่นกัน <br><br>อีกเรื่องที่อาจนำมาพิจารณา คือ ตรวจวัด และ ทดสอบ เครื่องจักร ว่าทำงาน อยู่ใน ความแม่นยำ ที่ถูกต้อง หรือ ไม่ <br><br>เปรียบเทียบ ง่าย ๆ คือ หาก รถคุณศูนย์เอียง จะขับให้ตรงโดยปล่อยมือ ไม่ได้ <br><br> |
10/11/2550 13:03 น. |
ไม่ทราบว่าคุณหมากเล็บแมว จะเจอปัญหาเหมือนกับผมหรือเปล่า ระบบมีครับ แต่คนไม่ค่อยทำตามระบบ ทีนี้พอเกิดปัญหา วุ่นวายมาก บ.ผม เป็น maker ผลิตชิ้นสวน ให้บ.ญี่ปุ่น บ.หนึ่ง ตอนทำตัวอย่างเขาวัดทุก point ที่ dwg. ให้ขนาด วัดแม้แต่ความยาวของรอยเชื่อม ผมนี่เหนื่อยมาก กว่าจะทำตัวอย่างได้ผ่านแต่ละงาน แต่ถ้าเรื่องของ dim. ผ่านแล้ว เขาจะเทสต์ตัวอย่าง แค่ 3 pcs หลังจากนั้นเขาจะไม่ตรวจอีก ผลิตติดต่อกัน 5 ปี ถ้าเขายังประกอบได้ เขาก็จะไม่มาสุ่มตรวจงานของเราอีก เรายอมรับกันที่ jig ครับ |