06/11/2550 18:12 น. |
มีใครแนะนำเครื่องกัดกราไฟต์ที่ไม่ใช่ MAKINO บ้างที่มีขายในไทย มี serivce ด้วย ครับ กำลังเทียบ spec. อยู่ เครื่อง TIWAN ไม่เอาครับ |
06/11/2550 18:14 น. |
ทำไม ไม่เอาเครื่อง taiwan ละครับ |
06/11/2550 21:02 น. |
ที่ DMG น่าจะมีขายนะ<br> |
06/11/2550 21:54 น. |
เครื่องกัด กราไฟท์ หากเป็น แบบที่สร้างมา จริงๆ ก็ คงเป็น ของ Makino แต่น่าจะมีการปรับปรุงใหม่ ในหลาย ยี่ห้อ เท่าที่เคยเห็น ก็มี ของ <br>ของ อเมริกา <br>ของ ไต้หวัน บางยี่ห้อ ( มีการ โม เครื่องเล็ก โดยเพิ่มอุปกรณ์เข้าไป) <br>ของ อิตาลี ก็มี แต่ไม่ได้เอามาวางขายตรงๆ ต้องถาม คนขาย <br><br>อีกวิธี ที่มีการทำกัน คือ กัดแบบ ดำน้ำ <br>(ในบางโรงงาน แถว สุวินทวงศ์ ) ก็เห็น ทำมาหลายปี ดีด้วย เพราะเล่นกัดในน้ำเลย <br><br>ก็ควรจะดู ที่โครงสร้าง การป้องกัน ฝุ่นกราไฟท์ ให้ดีนะครับ มันลื่นดี แต่ก็ ขัดรางได้ ดี เช่นกัน |
07/11/2550 10:05 น. |
ตกลงลงว่า ไม่มีใครรู้เลยหรอครับ ไม่เห็นตอบตรงประเด็นเลย เครื่อง TIWAN ผมทราบดีว่ากัดพอใช้ได้แต่ Accuracy และความทนทานมันต่างกันนะครับ เครื่อง DMG คงต้องพัฒนาอีกเยอะสำหรับเครื่องกัด Graphite เพราะไม่ใช่อาชีพเค้า ส่วนการกัดใต้น้ำหรือใต้น้ำมันอะไรนั่นถึงจะดีจริง แต่ไม่เหมาะหรอกครับสำหรับเอากราไฟต์มาเป็นอิเล็กโทรด ต้องไปหาที่อบไล่ความชื้นอะไรอีกวุ่นวาย ถ้าเป็นน้ำมันต้องดูให้ดีนะครับว่าเอาน้ำมันอะไรมากัด ผลเสียก็เยอะเมื่อนำมา EDM กัดในน้ำคงไม่เหมาะมาทำงานกราไฟต์ที่ต้องกัด 50 ชั่วโมงชึ้นไปด้วย เพราะแค่เอาน้ำหยดลงบนกราไฟต์ แล้วแต่เม็ดเกรนของกราไฟต์ด้วย แปปเดียวก็ซึมหายเข้าไปในเนื้อเล้ว ผมไม่โมเครื่องทำแน่ ๆ ครับเสียเวลา ครับ แล้วก็ไม่มีผู้ผลิตเครื่องรายไหน R&D กันแล้ว คงต้องเป็นระบบ Suction นี่น่าสนใจสุด จริง ๆ ผมสนใจเครื่อง JAPAN ครับ OKK หรือ ROKU ROKU ประเถทนั้น ครับ ตอนนี้ที่มีข้อมูลเจ้าอื่นก็เป็น TRODEMASTER ของ FANUC เจ้าเดียวเอง ...... |
07/11/2550 11:21 น. |
ไม่แน่ใจนะลองคุยกับ mikron ไทยแลนด์ ดูว่ามีปะนะไม่ได้เอามาขายก็ไม่<br>ทราบครับ ลองหาเบอร์โทรไปคุยละกัน<br> แล้วคุณ Iy__Manมีเมลติดต่อมั๊ยละครับ ผมจะได้แจ้งให้ทางDMG ที่เยอรมันเขาพัฒนา Graphite machininig center ตามที่คุณ comment มาน่ะครับถ้าได้แล้วเขาจะได้เมลแจ้งให้คุณทราบ ต่อไป ถ้าไม่สะดวกทางนี้ส่งไปที่ DMG โดยตรงก็ได้นะครับ ลองดูละกัน |
07/11/2550 13:02 น. |
ก็ ดู เหมือน คุณ ly_Man จะรู้ ดี และ เคยใช้งาน อยู่แล้ว นี่ครับ <br><br>เครื่อง Modify ก็ไม่ต้องการ taiwan ก็ไม่เหมาะ ยุโรป ก็บอกว่า เขาไม่มีไม่ได้ทำ ญี่ปุ่น ก็มีข้อมูล อยู่ ในมือ เลยไม่รู้ จะแนะนำ ประการใด <br><br>ตำตอบ แรกจึง ยังไม่ กระจ่าง เพราะข้อมูล มีน้อยมาก <br>โจทย์ ก็ตั้ง คร่าว ๆ ไม่บอกขนาด Table แถมเพิ่งบอกว่า กัดงาน นาน 50 ชั่วโมง แสดงว่า เป็น อีเล็คโตรด ขนาดใหญ่ ประมาณ ว่า <br>สำหรับ แม่พิมพ์ ตู้เย็น หรือ เครื่องซักผ้า กระมัง ? <br>เพราะต้องใช้ อีเล็คโตรด ขนาดใหญ่ หากเป็น ทองแดง เกรงว่า คอเครื่องจะรับ กันไม่ไหว เลยต้องใช้ กราไฟท์ เพราะเบาดี <br><br>ไม่ลองถาม คนขายเครื่อง EDM ดูละ เผื่อเขาจะมีขายบ้าง <br><br>ส่วนเครื่อง มากิโน ที่เคยเห็นในโรงงานลูกค้า ก็เป็น เครื่องที่บริษัทผู้สร้าง โม มาจากเครื่อง สำหรับใช้ใน Tool Room ใส่ Guard และ ระบบดูด ฝุ่น เข้าไป ตามด้วยคอนโทรล CNC แต่ไม่แน่ใจว่า มี Tool Change ป่าว<br>ตอนหลัง ไม่ได้ ตามดู การเปลี่ยนแปลง <br><br>ส่วน ที่บอกว่า "กัดแบบดำน้ำ" นะ โรงงานนั้น ทำอยู่ หลายปี ก็เห็น เขาสปาร์คแม่พิมพ์ออกมาได้ แต่ไม่เห็นเขามีเตาอบนะ ไม่งั้นคงเห็นแล้วละ ส่วน กราไฟท์ มันก็คงมีความชื้น เพราะมีรูพรุนอย่างที่ว่า จริงๆ นั่นแหละ <br><br>สุดท้าย การทำ อีเล็คโตรด ด้วยกราไฟท์ มีจำนวนเปอร์เซนต์ ที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับ การสร้างเครื่องขึ้นมารองรับ การใช้งานทั้งระบบ คงเป็นเหตุ ให้ไม่จำเป็น ต้อง ทำ R&D <br>เพราะประเด็นสำคัญของเครื่อง คือ ทำฝุ่นออก ให้มากที่สุด เร็วที่สุด <br><br>ไม่ลองหาซื้อเครื่อง Machining Center ที่คิดว่า Accuracy และ Precision ที่ดีที่สุด แล้ว ติด เครื่องดูดฝุ่น เป็น ระบบ Suction ดีๆ ใหญ่ๆ เข้าไป ก็น่าจะบรรลุ ความประสงค์ กระมัง<br><br>คนไทย ทำได้ อยู่แล้ว เป็นกำลังใจให้ |
07/11/2550 20:27 น. |
ถ้าจะให้เอาเครื่องที่ Accuracy และ Precision ที่ดีที่สุด มาโมเนี่ยระวังนะครับ MAKINO เค้าอ่านแล้วจะขำเอา....แล้วใครที่ไหนจะเสี่ยงครับ............. y_y<br><br>ผมว่านะครับจำนวนเปอร์เซนต์การใช้กราไฟต์ในไทยเพิ่มมากกว่าแต่ก่อนสักประมาณ 10 กว่าปีได้ อัตราการนำเข้าเนี่ยเห็นได้ชัดเลยครับ ผู้ขายเครื่องกัดกราไฟต์จาก TIWAN ที่นำมาขายก็พอมีลูกค้าอยู่ไม่น้อยเลย นั่นหมายถึงว่าตอนนี้คนใช้กราไฟต์กันเยอะ ที่ญี่ปุ่นก็เหมือนกัน <br><br>ที่ผมต้องการเครื่องทน ๆ ก็เพราะว่า อิเล็กโทรดผมเป็น Rib บริเวณ Tip บางกว่า 1 มม. ซะอีก แล้วที่สำคัญหลาย Ribs ซะด้วยครับ อิเล็กโทรดไม่ใหญ่หรอกครับ แต่ Machining area มากอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าแช่น้ำกัดเนี่ย ของเหลวที่มันอาจจะเข้ากันไม่ได้กับน้ำมัน EDM มันซึมเข้าไปทุกด้านของ Rib เลย ปัญหางาน EDM ด้วยกราไฟต์ปกติก็เยอะอยู่แล้วก็เลยไม่อยากเพิ่มปัญหาให้อีก เคยได้ยินเรื่องของการสึกหรอเชิงกลของกราไฟต์มั้ยครับน้ำซึมเข้าไปเนี่ยมีผลนะครับ แล้วเกรดของกราไฟต์ผมคงไม่ซื้อแบบเม็ดเกรนแน่น ๆ น้ำซึมยากมาใช้แน่ ๆ แพงครับ เกรนสักประมาณ 8-15 ไมครอน เกรดราว ๆ นี้อ่ะพอได้ ถ้าเป็นอิเล็กโทรด Shape ที่มีหน้ากว้างก็อาจจะกัดในน้ำได้อยู่<br> <br>สำหรับเครื่อง MAKINO เค้า Perfect อยู่แล้วครับ Option ทุกอย่างครบอย่าง V56 Graphite รุ่นนี้เนี่ยใช้ได้เลย ก็เลยอยากรู้ brand เจ้าอื่นที่เค้าเคยทำเครื่องกัดกราไฟต์เช่น Takumi, Okada, Argo-Seiki พวกนี้นี่ยังทำกันอยู่หรือเปล่าแล้ว ใครขาย ใคร service อ่ะครับ |
07/11/2550 23:13 น. |
ความจริงผม ก็ ไม่ได้ ยืนยัน หรือ แนะนำ เรื่อง การกัด กราไฟท์ ใต้น้ำ หรือ ดำน้ำกัด เพียงแต่บอกเล่า สิ่งที่เคยเห็นมาเท่านั้น <br><br>วิธีนี้ เหมาะ หรือ ไม่เหมาะ อย่างไร ก็อธิบายสาเหตุ อย่างที่ คุณ ly_Man บอก ก็ โอ เค ครับ สำหรับ ท่านอื่น ก็พิจารณาด้วยตัวเองได้ครับ <br><br>ส่วน การพัฒนา เครื่อง ให้เหมาะ กับ การกัด กราไฟท์ นั้น ก็ขึ้น อยู่ กับ แต่ละยี่ห้อ ว่า เขา จะมอง ตลาด หรือ พัฒนา กัน อย่างไร ครับ <br>หากไม่สนใจ ตลาดนี้ ไม่ทำ ก็ ไม่ผิด ไม่ใช่ หรือ <br><br>ส่วนข้อความต่อนี้ไป ต้อง ขอโทษ ผู้บริหาร และ ผู้ขาย พนักงาน ทุกท่าน ในบริษัท มากิโน นี้ด้วยครับ<br> <br>ไม่อยาก พาดพิง เพราะ เจ้าของกระทู้ เล่นบอกว่า มากิโน จะหัวเราะ ตาย หาก เอา เครื่อง แบบ ที่ผมว่า มา Modify <br><br>แล้ว ประโยค โฆษณา นี้ ไม่ใช่ การ Modify เครื่องให้เหมาะกับ งาน กัด กราไฟท์ หรอก หรือ ครับ <br><br>"The V56 Graphite features a low-vibration, high-speed No. 40 spindle and Makino’s proprietary GI.3 control to deliver high-accuracy, high-speed machining. The V56 Graphite has a fully enclosed splash guard that completely seals graphite dust inside for a clean shop environment. Beside graphite, dry machining of steel and castings is also possible." <br><br>อย่า ไป ดู ถูก ยี่ห้อ อื่น ว่า เขา ไม่พัฒนา เลย ครับ เพราะ การพัฒนา เครื่องจักร แต่ละยี่ห้อ เขาพิจารณาแล้ว ว่า เขา ต้องการ ลูกค้าในกลุ่มไหน และ จะพัฒนา เครื่องจักร ไปในแนวทางใด <br><br>อีกอย่าง ความรู้ เรียนทันกันได้ ครับ แต่ ประสพการณ์ สะสม และ ไม่หยุด นิ่ง มองโลก ให้กว้างๆ จะทำให้ เราพัฒนาตัวเอง และ คนรอบข้างได้ครับ <br><br>สุดท้าย ขออภัย บจก. มากิโน (ไทยแลนด์) ผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้อง ทุกท่าน ที่ต้องนำข้อความโฆษณา ของ เครือง มาลงไว้ <br><br>แต่ก็ เป็น ข้อดี นะ หากมองอีกมุม เหมือน ผมช่วย โฆษณา เครื่องให้เขาไป ยังไง ยังงั้น <br>(สงสัย ต้องไปขอ ค่าลงโฆษณา ซะมัง) <br> |
07/11/2550 23:58 น. |
อืม...วัดยากความรู้เนี่ย เวอร์เนียร์วัดไม่ได้<br>เห็นกระทู้ผมก็รีบคลิ๊กอ่านเลย สนใจอยู่มานานเหมือนกันเรื่องนี้น่ะ<br>ไม่กล้าตั้งกระทู้ กลัวพาดพิงหลายสถาบัน แต่ตอนนี้ อ่านมาถึงตรงนี้<br>ก็พอสรุปได้ว่าไอ้ที่ผมรู้มาแล้วเก็บเงียบไว้เนี่ย รู้น้อยกว่าท่านทั้งหลายเลย สาเหตุเพราะอ่านออกแต่ดูไม่ออกว่าใครรู้จริง ใครข้างๆคูๆ<br>ช่วยกันแสดงความเห็นนะครับ ผมและท่านอื่นที่รู้น้อยกว่า จะได้ประโยชน์ แต่มันอาจเป็นประโยชน์ไม่เพียงพอสำหรับบางท่านก็ไม่ว่ากันหละครับ มีได้ก็มีเสีย คนเรามันจะรู้หมดทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้ ขึ้นอยูกับว่าจะยอมรับความจริงในความรู้ของตัวเองได้แค่ไหน<br>มองคนอื่นจากข้างบนลงมา หรือมองจากข้างล่างลงไป หรือเริ่มมองจากระดับเท่าเทียมกันแล้วค่อยแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทำความรู้จักกันไป ว่าแต่คุณ Ly_Man เนี่ย เป็นเซลล์ Makino แวะมาเช็คตลาดหรือเปล่าครับ หุ..หุ....<br> |
08/11/2550 00:24 น. |
อ้อ..ที่ว่ามีเครื่องกัดกราไฟต์ของอิตตาลี่เนี่ย มีด้วยเหรอครับ<br>ทำงานมาตั้งนานไม่เคยเห็นสักตัวเลย ในเมืองไทยมีมั้ยครับเนี่ย<br>หรือที่พูดถึงกันเป็นในต่างประเทศครับ เป็นที่รู้จักหรือนิยมกันในแถบไหนครับ ยุโรป หรือ อเมริกา หรือทำขายทำใช้เองในประเทศเขาเฉพาะกิจครับ โครงสร้างดีมั้ยครับ เท่าที่ทราบประเทศเขาไม่มีชื่อเสียงทางหล่อเหล็กนี่ครับ<br>ยี่ห้ออะไร ราคาแพงมั้ยครับ เผื่อจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคุณ Ly_Man เขาได้ ก็เห็นเครื่องโน่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่เอา นั่นก็ไม่สมบูรณ์<br>ผมเคยได้ยินแต่เครื่องอีดีเอ็ม ไปดูมาแล้วตัวเครื่องหล่อมาเป็นสนิมง่ายมาก ผมไม่เก่งเรื่องนี้ไม่ทราบเพราะอะไรเหล็กหล่อตัวเครื่องจากอิตาลี่หรือไต้หวันจึงเป็นสนิมง่าย เวลาเจาะต๊าปเกลียวติดที่แขวนเครื่องมือที่ตัวเครื่องผงขี้เหล็กจะเป็นฝุ่นคนละแบบกับที่ผมเจาะเครื่อง Makino ของญี่ปุ่นเลย เจ้าเพื่อนมันจะหลอกขายให้ พอดีมาถามในWebboard นี่ก่อนเลยรูว่ามันโกหกว่าเป็นของสวิส ประกอบนอกแท้ๆ เลยด่ามันซะ แต่พอตอนหลังไปกินเหล้ากับมันก็สงสารมัน เพราะมันบอกว่าโดนคนขายหลอกต่อมาเหมือนกัน ซื้อมาแล้วมันเสียบ่อยทำเงินไม่ทัน เสียค่าซ่อมหมด เรียกซ่อมก็ไม่ค่อยมา แผงก็แพงต้องเปลี่ยนซ่อมไม่ได้ มันเงินไม่ถึง (อันนี้มันผิดเองที่มันจน) หวังประหยัดเรียกมือปืนมาซ่อมก็โดนฟันซะ ซ่อมก็ไม่ขาด ซ่อมซะเละเลยทีนี้ นี่จะไม่ขายแล้วกลัวคนซื้อต่อไปด่าไล่หลัง จะซ่อมใช้เอง เห็นบอกว่ามีช่างซ่อมได้ไม่กี่คน ตามหาช่างที่ซ่อมแล้ว Ok อยู่คนหนึ่งเขาว่าออกนอกวงการไปแล้ว ใครพอรู้จัก หรือแนะนำ หรือเบอร์โทรได้มั่งครับ ไม่แน่ใจชื่อ แต่มันบอกว่าเห็นหน้าก็จำได้<br> |
08/11/2550 02:35 น. |
เอาเป็นว่า หาก อยาก เห็น ยี่ห้อ อื่น ก็ ตาม ลิ้งค์ ดูนะ เดี๋ยวจะหาว่า เอาใจแต่ มากิโน เลยมาถกกัน <br><br>//news.thomasnet.com/fullstory/9608<br><br>//news.thomasnet.com/fullstory/488459<br><br>//<a href="http://www.hurco.com/Hurco/HSEA/Products/Machining+Centers/VM+Series/VM1+Graphite.htm" Target="_BLANK">www.hurco.com/Hurco/HSEA/Products/Machining+Centers/VM+Series/VM1+Graphite.htm</a><br><br>เจอตัวนี้ มากิโน จะอาจต้องคิดให้ดี <br>//<a href="http://www.manufacturingtalk.com/news/ocn/ocn102.html" Target="_BLANK">www.manufacturingtalk.com/news/ocn/ocn102.html</a> <br><br>เรื่องนี้ ยังบอก หลักการ และ วิธีการที่ควร พิจารณา ในการกัด กราไฟท์ ด้วย <br>//<a href="http://www.moldmakingtechnology.com/articles/090002.html" Target="_BLANK">www.moldmakingtechnology.com/articles/090002.html</a><br><br>นี่ก็ อีกเรื่องหนึ่ง <br>//<a href="http://www.encyclopedia.com/doc/1G1-14529629.html" Target="_BLANK">www.encyclopedia.com/doc/1G1-14529629.html</a><br><br>ก็พอ หอม ปาก หอม คอ ละกัน นะ ทนๆ อ่าน เอาหน่อย เข้าใจ บ้างไม่เข้าใจ บ้าง ก็ ค่อยๆ อ่านไป <br>ก็ดี ที่ มาเปิด ประเด็น เรื่องนี้ รายอื่นๆ ก็ จะได้มีความรู้ ตามไปด้วย <br> |
08/11/2550 02:50 น. |
ช่างซ่อม ที่คุณ พูด ถึง ออกนอก วงการ ไปขายของ ส่วนตัว แต่ เห็น ว่า เคยเข้า บอร์ด นี้ มาอ่าน เหมือนกัน นานๆ ครั้ง เขาไม่ยอม ให้เบอร์ติดต่อไว้ <br><br>แต่ปัญหา ของเพื่อนคุณ ตอบยาก เพราะต้องทราบประวัติ ความเป็นมาด้วย ว่าไปทำอะไรกันไว้ <br><br>การเรียก ช่างรายอื่น หรือ นักซ่อม อิสระ ที่ไม่รู้จัก เครื่องจริงๆ ก็มักจะเจอ เรื่องแบบนี้แหละ แต่ก็ไม่สนับสนุน พวกที่ขายของ หวังค่าซ่อม หรอกนะ <br>แต่ พึงเข้าใจ ว่า แต่ละบริษัท ต้องจ่าย เงินเดือน และ ค่าใช้จ่าย ของพนักงาน เช่นกัน <br><br>เครื่อง EDM มีระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า PLC ที่อาจยุ่งยาก มากกว่า Machining Center และอยู่ในระดับ หนึ่งในสาม ของความยากในการซ่อม <br><br>เห็นใจนะ แต่ ไม่ทราบประวัติ ความเป็นมาเครื่องของเพื่อนคุณ จะไปว่าผู้ขาย ผู้ให้บริการ เขาก็ไม่ได้ เพราะมีดี ย่อม มีเสีย เช่นกัน <br> |
08/11/2550 08:48 น. |
คุณสืบศักดิ์ รู้จักช่างคนที่ว่านี้ดีเลยหรือครับ เคยพบกันบ่อยมั้ยครับ<br>ช่วยแจ้งเขาทีครับ ชื่ออะไรครับ เดี๋ยวไปถามหาต่อเอาก็ได้ รู้จักชื่อน่าจะตามง่ายขึ้นกว่าตอนนี้ คิดว่าช่วยเหลือกันนะครับ เขายังทำงานในวงการนี้มั้ยครับ ยังรับซ่อมมั้ย<br> |
08/11/2550 11:23 น. |
เจอ เขา ในงาน เมื่อ ปีก่อน <br>ตอนนี้ ไม่แน่ ใจ เพราะเขาไม่ให้เบอร์ไว้<br><br>คำถาม คือ ทำไม ไม่ติดต่อ กับ ผู้ขาย โดยตรง หรือ ว่าไม่ทราบ<br>เพราะ แม้ว่า จะตามได้ แต่ อะไหล่บางส่วน ในแผง ผู้จำหน่าย จะมีเก็บสต๊อค IC บางตัวเป็นเบอร์เฉพาะ ที่ใช้เวลาสั่ง เป็นเดือน และต้องมีปริมาณ ในการสั่ง <br>(เคยสั่งมาให้เขาซ่อม เครื่องเชื่อม อินดักชั่น ใช้เวลา สองเดือน และ ขายเป็นโหล, 3 ชิ้น ไม่ขาย) <br><br>ยกเว้น กรณี หนึ่ง ซึ่ง ผมไม่แน่ใจ คือ เครื่องถูกช่างทั่วไป ยำ เละ จนต้องมีการ ปรับ ขนานใหญ่ ซึ่งนั่นจะเป็น เรื่องลำบากใจ ทั้ง เจ้าของเครื่อง และ ผู้ให้บริการ ในแง่ของค่าใช้จ่าย <br><br> |
08/11/2550 11:28 น. |
วันนี้ เข้ามา เช้าเลยนะ |