06/10/2550 14:38 น. |
หม้อแปลงชนิด Dry Type ติดตั้งภายนอกอาคารได้ไหม? เพราะอะไร? |
07/10/2550 21:57 น. |
หม้อแปลงแห้ง(Dry-type transformer) มันมี 2 ชนิด<br>1.หม้อแปลงแห้งติดตั้งภายในอาคาร (Dry-type transformer installed indoor)<br>2.หม้อแปลงแห้งติดตั้งภายนอกอาคาร (Dry-type transformer installed outdoor) |
07/10/2550 21:58 น. |
บทที่ 7 ข้อกำหนดสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า<br><br>7.1 ขอบเขต<br><br>ในหัวข้อนี้ครอบคลุมถึงการติดตั้งหม้อแปลงทั้งหมด ยกเว้น หม้อแปลงดังต่อไปนี้<br><br>ก. หม้อแปลงกระแส (current transformer)<br><br>ข. หม้อแปลงแห้งที่ติดมากับอุปกรณ์สำเร็จและมีความเหมาะสมกับอุปกรณ์สำเร็จนั้นแล้ว<br><br>ค. หม้อแปลงที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเอกซ์เรย์หรืออุปกรณ์ความถี่สูง<br><br>ง. หม้อแปลงที่ใช้ในระบบควบคุมระยะห่างและสัญญาณ (transformer used with remote control and signaling)<br><br>จ. หม้อแปลงสำหรับป้ายโฆษณา (transformer for sign and outline lighting) <br><br>ฉ. หม้อแปลงสำหรับหลอดไฟปล่อยประจุ (transformer for electric discharge lighting)<br><br>ช. หม้อแปลงสำหรับระบบสัญญาณเพลิงไหม้<br><br>ซ. หม้อแปลงที่ใช้สำหรับการค้นคว้า ทดสอบหรือวิจัย ซึ่งมีการป้องกันเพื่อมิให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้าได้<br><br>ฌ. หม้อแปลงระบบแรงต่ำ<br><br>7.2 ที่ตั้ง<br><br>หม้อแปลงและห้องหม้อแปลงต้องอยู่ในสถานที่ซึ่งบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงได้โดยสะดวก เพื่อทำการตรวจและบำรุงรักษา และต้องจัดให้มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอกับการใช้งาน<br><br>7.3 การป้องกันกระแสเกิน<br><br>หม้อแปลงต้องมีการป้องกันกระแสเกินตามข้อ 7.3.1 หรือ 7.3.2 เครื่องป้องกันกระแสเกินและเครื่องปลดวงจรต้องเป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4.4 และ 4.6 สำหรับข้อที่นำมาใช้ได้และถ้าเครื่องปลดวงจรเป็นชนิด non load break switch ติดตั้งอยู่ด้านไฟเข้าของหม้อแปลง ต้องมีป้ายเตือนให้ปลดสวิตซ์แรงต่ำก่อน และป้ายเตือนนี้ต้องติดไว้ในบริเวณที่เห็นได้ง่ายจากบริเวณที่จะทำการปลดวงจรด้านไฟเข้า<br><br>7.3.1 หม้อแปลงระบบแรงสูง ต้องมีการป้องกันกระแสเกินดังนี้<br><br>(1) ด้านไฟเข้า<br><br>หม้อแปลงแต่ละเครื่องต้องมีการป้องกันกระแสเกินแยกโดยเฉพาะ ถ้าใช้ฟิวส์พิกัดกระแสต่อเนื่องของฟิวส์ต้องไม่เกินร้อยละ 250 ของพิกัดกระแสด้านไฟ เข้าของหม้อแปลง ถ้าใช้สวิตซ์อัตโนมัติการปรับตั้งต้องไม่เกินร้อยละ 300 ของพิกัดกระแสด้านไฟเข้าของหม้อแปลง<br><br>ยกเว้น ถ้าร้อยละ 250 ของพิกัดกระแสด้านไฟเข้าไม่ตรงกับพิกัดกระแสมาตรฐานของตัวฟิวส์ให้ใช้พิกัดมาตรฐานของตัวฟิวส์ขนาดสูงถัดไป<br><br>(2) ด้านไฟออก<br><br>หม้อแปลงแต่ละเครื่องต้องมีการป้องกันกระแสเกินทางด้านไฟออก พิกัดกระแสต่อเนื่องของฟิวส์หรือขนาดปรับตั้งของสวิตซ์อัตโนมัติต้องไม่เกินร้อยละ 250 ของพิกัดกระแสด้านไฟออกของหม้อแปลง<br><br>7.3.2 หม้อแปลงแรงดัน (Potential Transformer) สำหรับเครื่องวัดติดตั้งในเครื่องห่อหุ้มหรือในอาคารต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินทางด้านไฟเข้า<br><br>7.4 การต่อขนานหม้อแปลง<br><br>ยอมให้ต่อหม้อแปลงหลายเครื่องขนานกันได้ เมื่อหม้อแปลงแต่ละเครื่องมีการติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินด้านแรงสูงและแรงต่ำ และต้องมีอุปกรณ์ตัดตอนแรงสูง ที่สามารถปลอดและสับหม้อแปลงได้พร้อมกัน หม้อแปลงทุกเครื่องต้องมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเหมือนกัน<br><br>7.5 การต่อลงดิน<br><br>ส่วนของหม้อแปลงที่เป็นโลหะเปิดโล่งและไม่ใช้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้ารวมถึงรั้ว ที่กั้นหรืออื่น ๆ ต้องต่อลงดิน ตามข้อ 6.22 โดยมีค่าความต้านทานดินรวมของสายดิน ไม่เกิน 5 โอห์ม<br><br>7.6 การกั้น<br><br>หม้อแปลงต้องมีการกั้นดังต่อไปนี้<br><br>7.6.1 หม้อแปลงที่เปิดเผยต่อความเสียหายทางกายภาพต้องมีการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสที่จะทำให้หม้อแปลงชำรุดจากสาเหตุภายนอก<br><br>7.6.2 หม้อแปลงแห้งที่มีเครื่องห่อหุ้มที่ทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟ ทนความชื้นและปอ้งกันวัตุถแปลกปลอมที่อาจสอดเข้าไปได้ให้ถือว่ามีการกั้นแล้ว<br><br>7.6.3 ส่วนที่มีไฟฟ้าและเปิดโล่งต้องมีการกั้นตามที่กำหนดในบทที่ 3<br><br>7.6.4 ส่วนที่มีไฟฟ้าเปิดโล่งต้องมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงแรงดันไฟฟ้าติดตั้งไว้ให้เห็นได้ง่ายบนเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือโครงสร้าง<br><br>7.7 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับหม้อแปลงแบบต่าง ๆ<br><br>7.7.1 หม้อแปลงฉนวนน้ำมัน (oil-Insulated Transformer)<br><br>(1) หม้อแปลงฉนวนน้ำมันติดตั้งในอาคารต้องติดตั้งในห้องหม้อแปลง<br><br>ยกเว้น หม้อแปลงใช้กับเตาหลอมไฟฟ้า มีขนาดไม่เกิน 75 เควี หากไม่อยู่ในห้องหม้อแปลงต้องมีรั้วล้อมรอบ และระยะห่างระหว่างหม้อแปลงกับรั้ว ต้องไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร<br><br>(2) ห้ามติดตั้งหม้อแปลงฉนวนน้ำมันภายในอาคาร บนดาดฟ้าหรือบนส่วนยื่นของอาคารขนาดใหญ่พิเศษของอาคารสูง อาคารชุด<br><br>(3) หม้อแปลงฉนวนน้ำมันติดตั้งภายนอกอาคาร เมื่อติดตั้งแล้ว ส่วนที่มีไฟฟ้าด้านแรงสูงของหม้อแปลง ต้องห่างจากโครงสร้างอื่นไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร สำหรับหม้อแปลงที่ติดตั้งใกล้กับวัตถุหรืออาคารที่ติดไฟได้ ต้องมีการป้องกันไฟที่เกิดจากน้ำมันของหม้อแปลงลุกลามไปติดวัตถุติดไฟได้<br><br>7.7.2 หม้อแปลงแห้ง (Dry-type transformer)<br><br>(1) หม้อแปลงแห้งติดตั้งภายในอาคาร (Dry-type transformer installed indoor) มีข้อกำหนดสำหรับสถานที่ติดตั้งตามตารางที่ 7-1<br><br>(2) หม้อแปลงแห้งติดตั้งภายนอกอาคาร (Dry-type transformer installed outdoor)<br><br>ก. หม้อแปลงต้องมีการกั้นตามข้อ 7.6.2 ที่สามารถทนสภาพอากาศ (Weatherproof) ได้<br><br>ข. หม้อแปลงที่มีขนาดเกิน 112.5 เควีเอ. ต้องติดตั้งห่างจากวัสดุที่ติดไฟได้ที่เป็นส่วนของอาคารไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร<br><br>ยกเว้น หม้อแปลงชนิดมีอุณหภูมิเพิ่ม (temperature rise) 80 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่าที่มีการปิดหุ้มมิดชิด (ยอมให้มีเฉพาะช่องระบายอากาศ) สามารถลดระยะห่างลงได้อีก<br><br>7.7.3 หม้อแปลงฉนวนของเหลวไม่ติดไฟ (Nonflammable Fluid-Insulated Transformer) ยอมให้ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ถ้าติดตั้งภายในอาคาร ต้องติดตั้งในห้องหม้อแปลง<br><br>7.8 ห้องหม้อแปลง<br><br>7.8.1 ห้องหม้อแปลงสำหรับหม้อแปลงฉนวนน้ำมัน<br><br>(1) ห้องหม้อแปลงให้ติดตั้งเฉพาะหม้อแปลงเท่านั้น<br><br>ยกเว้น หม้อแปลงที่มีอุปกรณ์ป้องกันและตัดตอนที่ติดมากับตัวหม้อแปลง (padmount)<br><br>(2) ห้องหม้อแปลงต้องอยู่ในสถานที่ที่สามารถขนย้ายหม้อแปลงเข้าออกได้และสามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้ หากใช้ท่อลมต้องเป็นชนิดทนไฟ ห้องหม้อแปลงต้องเข้าถึงได้โดยสะดวกสำหรับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและเพื่อการบำรุงรักษา<br><br>(3) ระยะห่างระหว่างหม้อแปลงกับผนังหรือประตูห้องหม้อแปลง ต้องไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร<br><br>(4) ระยะห่างระหว่างหม้อแปลงแต่ละเครื่อง ต้องไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร<br><br>(5) ตรงบริเวณที่ติดตั้งหม้อแปลง ต้องมีที่ว่างเหนือหม้อแปลง หรือเครื่องห่อหุ้มหม้อแปลง ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร<br><br>(6) ช่องระบายอากาศควรอยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง ทางหนีไฟ และวัตถุติดไฟได้ให้มากที่สุดที่จะทำได้<br><br>(7) อุณหภูมิในห้องหม้อแปลงต้องไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส<br><br>(8) การระบายความร้อน<br><br>ก. ระบายความร้อนโดยใช้ระบบหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติ ต้องมีช่องระบายอากาศทั้งด้านเข้าและออก พื้นที่สุทธิของช่องระบายอากาศแต่ละด้าน ต้องไม่น้อยกว่า 10 ตารางเซนติเมตร/เควีเอ ของหม้อแปลงที่ใช้งานและต้องไม่เล็กกว่า 500 ตารางเซนติเมตร ตำแหน่งของช่องระบายอากาศด้านเข้า ต้องอยู่ใกล้กับพื้นห้อง แต่ต้องอยู่สูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ช่องระบายอากาศออกต้องอยู่ใกล้เพดานหรือหลังคาและอยู่ในด้านที่ทำให้การถ่ายเทอากาศผ่านหม้อแปลง ช่องระบายอากาศเข้าและออก ห้ามอยู่บนผนังด้านเดียวกัน และช่องระบายอากาศต้องปิดด้วยลวดตาข่าย<br><br>ข. ถ้าอุณหภูมิภายในห้องหม้อแปลงเกิน 40 องศาเซลเซียส จะต้องเพิ่มการระบายอากาศ ด้วยพัดลมหรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ตามความจำเป็น<br><br>(9) ผนังและหลังคาห้องหม้อแปลงต้องสร้างด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงทางโครงสร้างเพียงพอกับสภาพการใช้งานและไม่ติดไฟ ผนังของห้องหม้อแปลงต้องสร้างด้วยวัสดุที่มีความหนาดังนี้<br><br>ก. คอนกรีตเสริมเหล็ก หนาไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตรหรือ<br><br>ข. อิฐทนไฟ หนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร หรือ<br><br>ค. คอนกรีตบล็อก หนาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร<br><br>(10) พื้นห้องหม้อแปลง ต้องสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร กรณีพื้นติดพื้นดิน สำหรับกรณีอื่น ๆ ต้องหนาไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร และต้องรับน้ำหนักของหม้อแปลงและอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย<br><br>(11) พื้นห้องต้องลาดเอียงมีทางระบายน้ำมันของหม้อแปลงไปลงบ่อพัก (sump) บ่อพักต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาตรน้ำมันของหม้อแปลงเครื่องที่มีน้ำมันมากที่สุด แล้วใส่หินเบอร์ 2 ให้เต็มบ่อพัก ถ้าบ่อพักอยู่ภายนอกห้องหม้อแปลงต้องมีท่อระบายน้ำมันชนิดทนไฟ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำมันจากห้องหม้อแปลงไปลงบ่อพักปลายท่อด้านหม้อแปลงต้องปิดด้วยตะแกรง<br><br>(12) ประตูห้องหม้อแปลงทุกประตูต้องทำด้วยเหล็กแผ่นหนาอย่างน้อย 1.60 มิลลิเมตร มีวิธีการป้องกันการผุกร่อน ประตูต้องจัดยึดไว้อย่างแน่นหนาเปิดได้สะดวก และต้องมีประตูฉุกเฉินสำรองไว้ สำหรับเป็นทางออก ซึ่งเป็นชนิดที่เปิดออกภายนอกได้สะดวกและรวดเร็ว<br><br>(13) ธรณีประตูต้องมีความสูงเพียงพอที่จะกักน้ำมันหม้อแปลงเครื่องที่มีปริมาตรน้ำมันมากที่สุดได้ (ในกรณีเกิดรั่ว) และต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร<br><br>(14) เครื่องห่อหุ้มส่วนที่มีไฟฟ้าทั้งหมดต้องเป็นวัสดุไม่ติดไฟส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งและไม่ใช้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ต้องต่อลงดินตามที่กำหนดในข้อ 7.5<br><br>(15) ห้องหม้อแปลงต้องจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ<br><br>(16) ระบบท่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่ท่อที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ห้ามติดตั้งในห้องหม้อแปลง<br><br>ยกเว้น ท่อสำหรับระบบดับเพลิงหรือท่อระบบระบายความร้อนของหม้อแปลงหรือท่อที่ได้ออกแบบอย่างเหมาะสมแล้ว<br><br>(17) ห้ามเก็บวัสดุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งานทางไฟฟ้าและวัสดุเชื้อเพลิงไว้ในห้องหม้อแปลง<br><br>7.8.2 ห้องหม้อแปลงสำหรับหม้อแปลงฉนวนของเหลวไม่ติดไฟ <br><br>ให้ใช้ข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อ 7.8.1<br><br>ข้อยกเว้นที่ 1 ไม่ต้องมีบ่อพักแต่ต้องสามารถระบายน้ำหรือฉนวนของเหลวของหม้อแปลงออกจากห้องได้<br><br>ข้อยกเว้นที่ 2 ความหนาของผนังห้องหม้อแปลงเป็นดังนี้<br><br>ก. คอนกรีตเสริมเหล็ก หนาไม่น้อยกว่า 6.50 เซนติเมตร หรือ<br><br>ข. อิฐทนไฟ หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตรหรือ<br><br>ค. คอนกรีตบล็อก หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร<br><br>ข้อยกเว้นที่ 3 ยอมให้ติดตั้งเครื่องปลดวงจรแรงสูงชนิดเปิดได้เมื่อมีโหลดไว้ในห้องหม้อแปลงได้<br><br>7.8.3 ห้องหม้อแปลงสำหรับหม้อแปลงแห้ง<br><br>ให้ใช้ข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อ 7.8.1<br><br>ข้อยกเว้นที่ 1 ไม่ต้องมีบ่อพักและท่อระบายของเหลว<br><br>ข้อยกเว้นที่ 2 ความหนาของผนังห้องหม้อแปลงเป็นไปตามข้อ 7.8.2<br><br>ข้อยกเว้นที่ 3 หม้อแปลงแห้งชนิดที่มีเครื่องห่อหุ้ม ยอมให้ติดตั้งเครื่องปลดวงจรชนิดเปิดได้เมื่อมีโหลด เมนสวิตซ์ แผงสวิตซ์และแผงจ่ายไฟไว้ในห้องหม้อแปลงได้<br><br>7.9 ลานหม้อแปลง<br><br>7.9.1 ลานหม้อแปลงอยู่บนพื้นดิน<br><br>(1) หม้อแปลงต้องอยู่ในที่ล้อม ที่ล้อมนี้อาจจะเป็นกำแพงหรือรั้วที่ใส่กุญแจได้และเข้าถึงได้เพื่อการตรวจสอบและบำรุงรักษาสำหรับบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง<br><br>(2) ส่วนที่มีไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าแรงสูงเหนือที่ว่างเพื่อการปฏิบัติงานต้องอยู่สูงจากพื้นที่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 275 เซนติเมตร<br><br>ยกเว้น มีการกั้นเพื่อป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยไม่ได้ตั้งใจ<br><br>(3) ระยะหว่างตามแนวระดับระหว่างรั้วหรือผนังกับส่วนที่มีไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าแรงสูงต้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร<br><br>(4) ระหว่างตามแนวระดับระหว่างรั้วหรือผนังกับหม้อแปลงต้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร<br><br>(5) ระยะห่างระหว่างหม้อแปลงแต่ละลูกต้องไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร <br><br>(6) รั้วหรือกำแพงของลานหม้อแปลงต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร<br><br>(7) การต่อลงดิน ต้องเป็นไปตามข้อ 7.5<br><br>(8) ต้องมีแผ่นป้ายหรือสัญญลักษณืเตือนให้ระวังอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงติดตั้งไว้ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน<br><br>(9) พื้นของลานหม้อแปลงต้องใส่หินเบอร์ 2 หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ยกเว้นส่วนที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์<br><br>7.9.2 ลานหม้อแปลงอยู่บนดาดฟ้าของอาคาร ให้ใช้ข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อ 7.9.1 โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้<br><br>(1) พื้นของดาดฟ้ารวมทั้งตัวอาคารที่ติดตั้งหม้อแปลงต้องผ่านการรับรองว่ามีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของหม้อแปลงและเครื่องอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย<br><br>(2) ต้องติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าโดยใช้ overhead ground wire ที่มีมุมป้องกัน (protection angle) ไม่เกิน 45 องศาวัดจากแนวดิ่ง หรือใช้เครื่องอุปกรณ์อื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค<br><br>(3) หม้อแปลงชนิดฉนวนน้ำมันต้องมีบ่อพักที่มีข้อกำหนดตามข้อ 7.8.1 (11)<br><br>7.9.3 ลานหม้อแปลงอยู่บนระเบียง กันสาด หรือส่วนยื่นของอาคาร ให้ใช้ข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อ 7.9.2 โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้<br><br>(1) ลานหม้อแปลงไม่ต้องติดตั้ง overhead ground wire หากมีการป้องกันฟ้าผ่าที่สามารถครอบคลุมหม้อแปลงได้อยู่แล้ว<br><br>(2) ต้องมีการกั้นที่ด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อแปลงเกิดความเสียหาย<br> |