04/10/2550 22:32 น. |
ขอใช้ไฟฟ้า สามเฟส 20 แอมป์ ต้องใช้สายลวดี่ มม ครับ อยากทำเอง จางเขาแพงไฟ |
07/10/2550 16:31 น. |
การขอใช้ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย<br><br>สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง <br><br>สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่ <br>สำนักงานการไฟฟ้าฯในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า <br><br>หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดง<br>1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ <br>2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า <br>3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้ามีจำนวนดวงโคมเต้ารับและ เครื่องไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้แล้ว และ ที่ติดตั้งใหม่รวมกันเกินกว่า 20 จุด (หนึ่งจุดเท่ากับดวงโคม 1 ชุด หรือเต้ารับ 1 ชุด) หรือใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 5 กิโลวัตต์ จะต้องส่งแผนผังการเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1:100 จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้าง การไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้ <br>4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คนและปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย <br><br>--------------------------------------------------------------------------------<br><br>ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า <br><br>เมื่อการไฟฟ้าฯได้รับคำร้อง และมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ การเดินสายภายในอาคาร <br>เมื่อการไฟฟ้าฯได้ทำการตรวจสอบแล้วหากการเดินสายหรือการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้องและ ไม่ปลอดภัย การไฟฟ้าฯจะให้คำแนะนำ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ทราบ เพื่อชำระค่าธรรมเนียม <br>ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคารเมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป <br>เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯที่ท่านขอใช้ไฟฟ้า และโปรดรับใบเสร็จรับเงิน จากเจ้าหน้าที่เก็บไว้ เป็นหลักฐานต่อไปด้วย ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้า <br>ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ กำหนดอัตราไว้ตามชนิด และขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง โดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯได้ทุกแห่ง ดังนี้ <br><br>1. ค่าธรรมเนียมต่อไฟ <br>2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร <br>3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังไฟฟ้า <br>4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า <br>5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์(ถ้ามี) <br><br>การชำระค่าไฟฟ้าและการตรวจสอบมิเตอร์ <br>1. การอ่านมิเตอร์ การไฟฟ้าฯจะอ่านหน่วยในมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ<br>2. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระพนักงานเก็บเงิน จะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า นำเงินไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯจะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์ จะให้การไฟฟ้าฯเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงิน ควรปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 แจ้งทางโทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ <br>2.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ <br>2.3 มีหนังสือแจ้งต่อผู้จัดการไฟฟ้าฯ <br>อนึ่ง การไฟฟ้าฯได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้า โดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง <br>3. การตรวจสอบมิเตอร์ตามที่ผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใด ที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน มีสิทธิที่จะร้องขอให้การไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯจะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง <br>หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์ และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2.5%ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯจะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน 2.5 % การไฟฟ้าฯจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่ม หรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อน กับค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไป <br><br>--------------------------------------------------------------------------------<br><br>การย้ายมิเตอร์<br>ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้แสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่ที่จะขอย้าย คือ <br><br><br>ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า <br>ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย <br>บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ <br>ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป <br> <br><br>การเพิ่มขนาดมิเตอร์<br><br>ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม ต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯเพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์ <br>โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ดังนี้ <br><br>ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า <br>ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย <br>บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ <br> <br><br>การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า<br>การโอนชื่ออาจมีได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ <br><br>มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้านั้น <br>ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย <br>อื่นๆเช่นการโอนระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าหรือผู้เช่ากับผู้เช่าช่วง เป็นต้น การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าคู่กรณีต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงด้วยคือ <br><br>3.1 บัตรประจำตัวของผู้โอนและผู้รับโอน(ยกเว้นการโอนตามข้อ 2 ไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ของผู้โอน) <br>3.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน <br>3.3 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิม(ใช้สำหรับกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย) <br>3.4 สำเนาสัญญาซื้อขาย(ใช้สำหรับกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน) <br>3.5 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน <br>3.6 ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า <br>3.7 หลักฐานอื่นๆที่จำเป็นสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการย้ายมิเตอร์ การเพิ่มขนาดมิเตอร์ และการโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าพนักงานการไฟฟ้าฯ <br>จะชี้แจงรายละเอียดต่อท่านเมื่อนำหลักฐานไปติดต่อแจ้งความประสงค์ <br><br>การเลิกใช้ไฟฟ้า <br><br>หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการไฟฟ้าคืน <br><br>บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ <br>ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า <br>ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ <br>โดยทำหนังสือมอบอำนาจซี่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย <br>เมื่อท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อการไฟฟ้าฯ ในท้องที่ของท่านและเขียนคำร้องขอเลิกใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฯจะตรวจสอบหลักฐานว่าท่านยังเป็นหนี้ค่าไฟฟ้าและภาระผูกพันอื่นๆอยู่อีกหรือไม่แล้วจึงคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ท่าน <br>การปฏิบัติผิดระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค <br><br> <br><br>เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฯจะไม่จ่ายหรืองดจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีต่อไปนี้ <br><br>การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในและหรือภายนอก ยังไม่เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน <br>ไม่ชำระเงินตามกำหนดในใบเตือน <br>ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงไฟฟ้าไปใช้สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำร้องขอใช้ไฟฟ้า <br>ละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆให้การไฟฟ้าฯได้รับความเสียหายและไม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ตามที่การไฟฟ้าฯได้เรียกเก็บ <br>กระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตรายหรือการใช้ไฟฟ้าที่รบกวนผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น <br>ในกรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้าการไฟฟ้าฯจะจ่ายไฟฟ้าให้ใหม่ต่อเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ชำระเงินส่วนที่ค้างหรือชำระ <br>ค่าเสียหายให้แก่การไฟฟ้าฯแล้วและต้องชำระค่าธรรมเนียมรวมทั้งค่าบริการต่างๆตามอัตราที่การไฟฟ้าฯกำหนดไว้ <br>การละเมิดการใช้ไฟฟ้าเช่นการต่อไฟฟ้าตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ตลอดจนการกระทำใดๆที่ทำให้มิเตอร์วัดค่าผิด <br>ไปจากที่ใช้ไฟฟ้าจริงฯลฯจะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ข้อหาลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษทั้งปรับและจำคุก <br>การไฟฟ้าฯไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายซึ่งเกิดจากไฟฟ้าขัดข้องหรือต้องหยุดจ่ายไฟฟ้าเพราะความจำเป็นหรืองดจ่ายไฟฟ้าด้งกล่าวข้างต้น <br>การแจ้งกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในหรือภายนอกอาคารของท่าน ซี่งท่านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ กรุณาติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าฯในท้องที่ที่ท่านอยู่ ซี่งจะมีพนักงานช่างของการไฟฟ้าฯประจำ อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง การอ่านหน่วยมิเตอร์สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัย และใช้ไฟสม่ำเสมอ <br> <br><br><br>กา รไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทำการอ่านหน่วยในมิเตอร์สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยและใช้ไฟสม่ำเสมอ2เดือนครั้งในเดือนที่เว้นการจดหน่วยจะใช้วิธีเฉลี่ยหน่วยการใช้ไฟของผู้ใช้ไฟที่ผ่านมา2 เดือนหากหน่วยที่นำมาเฉลี่ยคิดค่าไฟในเดือนที่เว้นการจดหน่วยสูงหรือต่ำกว่าหน่วยที่ใช้จริง การไฟฟ้าฯจะปรับปรุงให้ถูกต้องในเดือนถัดไป ซึ่งเป็นเดือนที่ทำการจดหน่วย <br><br>ตัวอย่างเช่น <br>นาย ก. เริ่มต้นใช้ไฟในเดือนกุมภาพันธ์ 2537 ในเดือนมีนาคม 2537 เลขที่อ่านได้ 0050 เท่ากับ 50 หน่วย ในเดือนเมษายนเลขที่อ่านได้ 0096 หน่วย หน่วยการใช้ไฟในเดือนมีนาคมเท่ากับ 0096 - 0050 เท่ากับ 46 หน่วย ในเดือน เมษายน การไฟฟ้าฯจะเว้นการจดหน่วย แต่จะคิดค่าไฟฟ้า 48 หน่วย โดยวิธีนำหน่วยของเดือนกุมภาพันธ์ มารวมกับเดือน มีนาคม และหารด้วย 2 {(50+46)/2=48หน่วย}ในเดือนมิถุนายนทำการจดหน่วยได้0191หน่วย การไฟฟ้าฯจะคิดค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟ โดยการนำหน่วยของเดือนเมษายนมาหักออกดังนี้ 0191 - 0096 เท่ากับ 95 และหักด้วยหน่วยเฉลี่ย ของเดือนพฤษภาคมอีก 48 หน่วย ดังนั้นหน่วยเดือนมิถุนายน เท่ากับ95-48=47หน่วยสำหรับผู้ใช้ไฟที่ใช้ไฟสม่ำเสมอจะไม่เกิดผลได้ หรือผลเสียแต่อย่างใด เนื่องจากในเดือนที่จดหน่วย การไฟฟ้าฯจะปรับปรุงหน่วยให้ถูกต้อง ดังนั้นหากท่านใช้ไฟเดือนใดมากน้อยกว่าที่ใช้เป็นปกติ เช่นมีการฉายภาพยนตร์หรือจัดงานเลี้ยง หรืองดการปั๊มน้ำ ได้โปรดแจ้งพนักงานเก็บเงินหรือตัวแทนเก็บเงินทราบ เพื่อการไฟฟ้าฯจะทำการจดหน่วยการใช้ไฟของท่านให้ถูกต้องในเดือนต่อไป หากท่านสงสัยเกี่ยวกับการจดหน่วย 2เดือนครั้งโปรดติดต่อสอบถามได้ จากพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตัวแทนเก็บเงิน หรือสำนักงานการไฟฟ้าในท้องถิ่นของท่าน <br>ข้อควรระวังและข้อเตือนใจ <br>1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับคำร้องเรียนจากผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ขอใช้ไฟฟ้าเสมอว่า มีบุคคลภายนอกอ้างตนเป็นพนักงานการไฟฟ้าฯไปหลอกลวงผู้ใช้ไฟฟ้าให้หลงเชื่อว่า เมื่อให้บุคคลผู้นั้นดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการ ขอใช้ไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้าและรวมทั้งการติดตั้งมิเตอร์โดยขอรับผลประโยชน์ตอบแทนและผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้อง ไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในท้องที่ที่ท่านอยู่เลยนั้นขอจงอย่าเชื่อโปรดไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าฯโดยตรง <br>ฉะนั้นถ้าปรากฏว่ามีบุคคลใดแอบอ้างเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมารับดำเนินการใดๆโดยขอรับ <br>ผลประโยชน์ตอบแทนแล้วขอให้แจ้งผู้บังคับบัญชาของการไฟฟ้าฯในท้องที่ที่ท่านอยู่ทันที จะเป็นพระคุณยิ่ง 2. การชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมใดๆผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องรับใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าฯจากผู้รับเงิน <br>ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว เมื่อจะมาติดต่อเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าโปรดนำใบเสร็จรับเงินไปแสดงด้วยทุกครั้ง <br><br>--------------------------------------------------------------------------------<br><br>คำเตือน<br>ด้วยปรากฏว่าปัจจุบันมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำการติดต่อกับสถานประกอบธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรม <br>ในเขตจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อรับจ้างดัดแปลงหรือแก้ไขมิเตอร์ หรืออุปกรณ์ประกอบให้หน่วยลดลง เพื่อให้เสียค่าไฟฟ้าน้อยด้วยวิธีต่างๆและดิดค่าจ้างต่อครั้งหรือตลอดไป ในการนี้มีสถานประกอบธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งหลงเชื่อยินยอมจ้างวาน โดยเข้าใจว่าจะได้รับประโยชน์ จากการกระทำดังกล่าว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใคร่ขอเรียนชี้แจงว่า การจ้างวานให้ดัดแปลง หรือแก้ไขมิเตอร์ หรืออุปกรณ์ประกอบ มิได้ก่อประโยชน์ให้กับกิจการของท่านแต่ประการใด แต่กลับทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับค่าไฟฟ้ามากกว่าที่ควร เพราะนอกจากเสียค่าจ้างวานให้กระทำการแล้วยังต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า หรือค่าเสียหายหรือชำระค่าไฟฟ้า เพิ่มตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียกร้อง จึงขอเรียนเตือนว่า อย่าให้ความร่วมมือกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลดังกล่าว <br>เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ทั้งผู้จ้างวานและผู้รับจ้าง เท่ากับเป็นการลักทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ของการไฟฟ้า <br>ส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จะต้องถูกดำเนินคดีฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และทางอาญา กับทั้งยังต้องถูกงดจ่ายไฟฟ้า เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อน ต่อการประกอบกิจการ ดังนั้นใคร่ขอความร่วมมือมายังท่าน หากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ใดมาติดต่อรับจ้างดัดแปลงหรือแก้ไขมิเตอร์หรืออุปกรณ์ประกอบ โปรดแจ้งให้สำนักงานการไฟฟ้าฯในท้องที่ของท่าน ทราบทันที ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินของทางราชการ และสำหรับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล อ้างตนเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาติดต่อ ขอให้ท่านตรวจสอบหนังสือนำตัวในการเข้ามาตรวจสอบมิเตอร์หรือ บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐและจดเลขที่ บัตรชื่อ-สกุลไว้ ก่อนที่จะให้เข้าทำการตรวจสอบมิเตอร์เพื่อป้องกันการ กล่าวอ้าง <br> <br><br><br><br><br> |
07/10/2550 16:31 น. |
แนวปฏิบัติในการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า <br>บทที่ 4 การออกแบบระบบไฟฟ้า<br><br>1. วงจรย่อย <br><br>1.1 ขอบเขต <br>ให้ใช้เฉพาะกับวงจรแสงสว่างหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือทั้ง 2 อย่าง รวมกันเท่านั้น <br>1.2 ข้อกำหนดของวงจรย่อย <br>(1) สายวงจรย่อยต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายโหลด และมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.50 ตารางมิลลิเมตร <br>(2) วงจรย่อยทุกวงจรต้องมีเครื่องป้องกันกระแสเกิน เพื่อตัดวงจรเมื่อเกิดการลัดวงจรหรือใช้ไฟฟ้าเกินขนาด <br>(3) ขนาดของวงจรย่อยกำหนดตามขนาดมาตรฐานของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ป้องกันวงจรย่อยนั้น ๆ เช่น 5 10 15 20 30 หรือ 50 แอมแปร์ <br>(4) วงจรย่อยซึ่งมีจุดต่อทางไฟฟ้าตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปต้องมีโหลดดังต่อไปนี้ <br>ก. วงจรย่อยขนาด 5 10 15 และ 20 แอมแปร์ โหลดที่ติดตั้งถาวรรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของขนาดวงจรย่อย เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบ โหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย <br>ข. วงจรย่อยขนาด 30 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรขนาดชุดละไม่ต่ำกว่า 660 วัตต์ หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งไม่ใช่ดวงโคม โหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย <br>ค. วงจรย่อยขนาด 40 และ 50 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรขนาดชุดละไม่ต่ำกว่า 660 วัตต์ หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร <br><br><br>(5) โหลดของวงจรย่อยต้องคำนวณตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ <br>ก. โหลดต่อเนื่องของวงจรย่อยต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของขนาดวงจรย่อย <br>ยกเว้น ชุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ได้ออกแบบให้ใช้งานได้ร้อยละ 100 ยอมให้โหลดต่อเนื่อง ของวงจรย่อยใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของขนาดวงจรย่อย <br>ข. โหลดแสงสว่างและโหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่ทราบแน่นอนให้คิดตามที่ติดตั้งจริง <br>ค. โหลดของเต้ารับใช้งานทั่วไป ให้คิดโหลดเต้าละ 180 โวลต์แอมแปร์ <br>ง. โหลดของเต้ารับที่ใช้เฉพาะงานให้คิดโหลดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ <br><br>2. สายป้อน <br><br>(1) สายป้อนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายโหลดให้วงจรย่อยได้ไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดในวงจรย่อยและมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร <br>(2) การคำนวณขนาดของสายป้อน ให้ใช้ดีมานต์แฟคเตอร์ตาม ตารางที่ 4-1 , ตารางที่ 4-2 และ ตารางที่ 4-3 ช่วยคำนวณ <br>(3) สำหรับเต้ารับใช้เฉพาะงาน ให้คิดโหลดจากขนาดของเต้ารับที่มีขนาดสูงสุด รวมกับร้อยละ 75 ของขนาดเต้ารับที่เหลือ<br><br>3. สายนิวตรอล <br><br>(1) ต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรับกระแสโหลดไม่สมดุลย์สูงสุดและกระแสฮาร์โมนิกส์ได้ <br>(2) ในระบบ 3 เฟส 4 สาย กระแสโหลดไม่สมดุลย์สูงสุด คำนวณจากผลรวมของโหลด 1 เฟส ที่ต่ออยู่ระหว่างสายนิวตรอลกับสายเฟสใดเฟสหนึ่ง ที่มีค่ารวมกันมากที่สุด<br>(3) ยอมให้ลดส่วนของกระแสโหลดไม่สมดุลย์ที่เกิน 200 แอมแปร์ ร้อยละ 30 ยกเว้น ในกรณีที่โหลดเป็นหลอดชนิดปล่อยประจุ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องอุปกรณ์อื่นที่คล้ายกันที่รับไฟจากระบบ 3 เฟส 4 สายแบบวาย <br><br>4. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อยและสายป้อน <br>วงจรย่อยและสายป้อนต้องมีการป้องกันกระแสเกินเครื่องป้องกันกระแสเกินมีรายละเอียด ดังนี้.- <br><br>(1) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถป้องกันตัวนำทุกสายเส้นไฟ ยกเว้น ตัวนำที่มีการต่อลงดิน <br>(2) ขนาดของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องไม่น้อยกว่าโหลดไม่ต่อเนื่องบวกด้วยร้อยละ 125 ของโหลดต่อเนื่อง และต้องมีขนาดไม่เกินขนาดกระแสของสายไฟฟ้าเป็นไปตาม ตารางที่ 6-2 <br>(3) เครื่องป้องกันกระแสเกินอาจเป็นฟิวส์ หรือสวิตซ์อัตโนมัติก็ได้ <br>(4) ฟิวส์ สวิตซ์อัตโนมัติหรือการผสมของทั้งสองอย่างนี้ จะนำมาต่อขนานกันไม่ได้ ยกเว้น เป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานที่ประกอบสำเร็จมาจากโรงงานผู้ผลิต และเป็นแบบที่ได้รับความเห็นชอบว่าเป็นหน่วย (Unit) เดียวกัน <br>(5) ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมสำหรับดวงโคมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออื่น ๆ เครื่องป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมเหล่านี้จะใช้แทนเครื่องป้องกันกระแสเกินของวงจรย่อยไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องเข้าถึงได้ทันที <br>(6) ตำแหน่งของเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องเป็นดังนี้ <br><br><br>ก. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อย ต้องติดตั้ง ณ จุดที่ห่างจากสายป้อนที่จ่ายพลังงานให้เป็นระยะความยาวของสายไม่เกิน 3 เมตร <br>ข. เครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับสายป้อน ต้องติดตั้ง ณ จุดที่ใกล้กับหม้อแปลงหรือสายเมนที่จ่ายพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ <br><br><br>(7) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องไม่ติดตั้งในสถานที่ซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้และต้องไม่อยู่ใกล้กับวัตถุที่ติดไฟง่าย <br>(8) เครื่องป้องกันกระแสเกิน ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้อย่างมิดชิด แต่เฉพาะด้ามสับของสวิตซ์อัตโนมัติยอมให้โผล่ออกมาข้างนอกได้ <br>ยกเว้น หากติดตั้งไว้ที่แผงสวิตซ์หรือแผงควบคุม ซึ่งอยู่ในห้องที่ไม่มีวัตถุติดไฟง่ายและไม่มีความชื้นด้วย ส่วนเครื่องป้องกันกระแสเกิน สำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดไม่เกิน 50 แอมแปร์ หนึ่งเฟสไม่ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้ก็ได้ <br>(9) กล่องหรือตู้ซึ่งบรรจุเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งติดตั้งในสถานที่เปียกหรือชื้นต้องเป็นชนิดซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว และต้องมีช่องว่างระหว่างตู้กับผนังหรือพื้นที่รองรับไม่น้อยกว่า มิลลิเมตร <br>(10) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องติดตั้งในที่ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก มีที่ว่างและแสงสว่างอย่างพอเพียง <br>(11) ต้องทำเครื่องหมายระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและทนต่อสภาพแวดล้อม ติดไว้ที่เครื่องปลดวงจรหรือที่ใกล้เคียงเครื่องปลดวงจรนั้นทุกเครื่อง เช่น เครื่องปลดวงจรของวงจรย่อย สายป้อนหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า <br>ยกเว้น ตำแหน่งและการจัดเครื่องปลดวงจรนั้นชัดเจนอยู่แล้ว <br><br>5. สายเมน <br>สายเมนที่จ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟรายหนึ่ง ๆ ต้องมีชุดเดียว นอกจากในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยแบ่งประเทภของสายเมนได้ดังนี้ <br><br>(1) สายเมนอากาศสำหรับระบบแรงต่ำ ต้องเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้ โดยมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร สำหรับสายทองแดงและไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร สำหรับสายอะลูมิเนียมและมีข้อกำหนดขนาดของสายเมนภายในอาคาร ตาม ตารางที่ 4-4 <br>(2) สายเมนอากาศสำหรับระบบแรงสูง เป็นสายเปลือยหรือสายหุ้มฉนวนก็ได้ และมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้ <br>(3) สายเมนใต้ดินสำหรับระบบแรงต่ำ ต้องเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้และขนาดไม่เล็กกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร <br>(4) สายเมนใต้ดินสำหรับระบบแรงสูง ต้องเป็นสายหุ้มฉนวนชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งและมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดได้ <br><br>6. เมนสวิตซ์ <br>ผู้ใช้ไฟต้องติดตั้งเมนสวิตซ์ เพื่อปลดวงจรทุกวงจร ออกจากสายเมนได้ เมนสวิตซ์จะประกอบด้วย เครื่องปลดวงจรและเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งอาจติดตั้งเป็นส่วนร่วมอยู่ในเครื่องเดียวกัน หรือเครื่องป้องกันกระแสเกินอาจมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปลดวงจรได้ด้วย <br>6.1 เครื่องปลดวงจรระบบแรงต่ำ <br>(1) เครื่องปลดวงจรชนิด 1 เฟส ขนาดตั้งแต่ 50 แอมแปร์ขึ้นไปและชนิด 3 เฟส ทุกขนาด ต้องเป็นแบบที่ปลด-สับได้ขณะมีโหลด <br>(2) เครื่องปลดวงจรต้องสามารถปลดวงจรทุกสายเส้นไฟได้พร้อมกันอย่างจงใจ <br>(3) ที่เครื่องปลดวงจรต้องสามารถมองเห็นได้ว่า อยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ <br>(4) เครื่องปลดวงจรต้องมีพิกัดไม่น้อยกว่าเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดใหญ่สุดในระบบ <br>(5) เครื่องปลดวงจรที่มีเครื่องห่อหุ้ม ต้องสามารถปลดวงจรได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเครื่องห่อหุ้ม <br>(6) เครื่องปลดวงจรจะติดตั้งภายในหรือภายนอกอาคารก็ได้ แต่ต้องเลือกชนิดให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และควรติดตั้งให้อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟและสามารถเข้าปฏิบัติงานได้สะดวก <br>(7) ห้ามต่อเครื่องอุปกรณ์ด้านไฟเข้าของเครื่องปลดวงจร <br>ยกเว้น การต่อเข้าเครื่องวัด คะแปซิเตอร์ สัญญานต่าง ๆ เพื่อใช้ในวงจรควบคุมของเมนสวิตซ์ ที่ต้องมีไฟเมื่อเครื่องปลดวงจรอยู่ในตำแหน่งปลด <br><br>6.2 เครื่องป้องกันกระแสเกินระบบแรงต่ำ <br>(1) เครื่องป้องกันกระแสเกินของเมนสวิตซ์จะต่อออกจากเครื่องปลดวงจรของเมนสวิตซ์ <br>(2) ห้ามติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน ในสายเส้นที่มีการต่อลงดิน <br>ยกเว้น เครื่องป้องกันกระแสเกินที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติซึ่งมีการตัดวงจรเมื่อมีกระแสไหลเกิน <br>(3) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องมีความสามารถตัดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้และต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 10 กิโลแอมแปร์<br>(4) สวิตซ์อัตโนมัติ ต้องเป็นชนิดที่ปลดได้โดยอิสระ (trip free) และต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สวิตซ์อยู่ในตำแหน่งใด <br>(5) เครื่องป้องกันกระแสเกินที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4.6.1 ให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องปลดวงจรได้ <br>(6) การป้องกันกระแสเกิน ต้องเป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4.4 สำหรับข้อที่นำมาใช้ด้วยได้ <br><br><br>6.3 เครื่องปลดวงจรระบบแรงสูง<br>(1) เครื่องปลดวงจร ต้องสามารถปลดวงจรของผู้ใช้ไฟออกจากระบบจำหน่ายของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยติดตั้งในบริเวณที่ดินของผู้ใช้ไฟ ณ ตำแหน่งที่ใกล้กับจุกแยกสายมากที่สุด ในกรณีที่มีอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเครื่องวัดแรงสูงที่ต้นทางให้ถือว่ามีเครื่องปลดวงจรแล้ว <br>(2) เครื่องปลดวงจร ต้องปลดสายเส้นไฟทั้งหมดได้พร้อมกัน <br>ยกเว้น ดรอปเอาท์ฟิวส์คัทเอาท์ ดิสคอนเนคติ้งสวิตซ์ <br>(3) กรณีที่เครื่องปลดวงจรเป็นชนิด fuse cutout ชนิด drop out ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าหรือโครงสร้างอื่น ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเสาไฟฟ้า ไม่บังคับให้ปลดวงจรทุกสายเส้นไฟได้พร้อมกัน นอกจากจะมีกำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ <br>(4) เครื่องปลดวงจรที่เป็นฟิวส์สวิตซ์ หรือมีฟิวส์ประกอบ ต้องสามารถตัดกระแสลัดวงจรในขณะสับเครื่องปลดวงจรได้ โดยเครื่องปลดวงจรไม่ชำรุด <br>(5) เมนสวิตซ์ต้องมีหรือเตรียมการต่อสายทางด้านไฟออกลงดินไว้ให้พร้อม เมื่อปลดโหลดออกจากแหล่งจ่ายไฟ <br><br><br>6.4 เครื่องป้องกันกระแสเกินระบบแรงสูง <br>(1) ในสายเส้นไฟทุกเส้น จะต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกิน <br>(2) ถ้าใช้ฟิวส์ จะต้องมีค่ากระแสต่อเนื่องไม่เกิน 3 เท่า ของขนาดกระแสของตัวนำ <br>(3) ถ้าเป็นตัดตอนอัตโนมัติ (Circuit breaker) จะต้องมีขนาดปรับตั้งไม่เกิน 6 เท่าของขนาดกระแสของตัวนำ และมีคุณสมบัติดังนี้<br>ก. เป็นแบบปลดได้โดยอิสระ และสามารถปลด-สับ ได้ด้วยมือ <br>ข. สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ <br>ค. ถ้าเป็นแบบปรับตั้งค่ากระแสหรือเวลาได้ ต้องออกแบบให้กระทำได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง <br>ง. มีเครื่องหมายแสดงพิกัดต่างๆ ให้ชัดเจนและถาวร แม้หลังจากติดตั้งแล้ว <br>(4) เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถทำงานสัมพันธ์กับอุปกรณ์ป้องกันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค<br> |
07/10/2550 16:32 น. |
ตารางที่4-4 <a href="http://www.pea.co.th/services/table4_4.htm" Target="_BLANK">www.pea.co.th/services/table4_4.htm</a> |
08/10/2550 20:32 น. |
ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง<br> |
30/06/2552 18:30 น. |
อยากทราบค่ะว่า การขอมิสเตอร์ไฟฟ้าแยกค่ะ ต้องใช้เอกสารใดบ้างค่ะ |
09/12/2553 10:08 น. |
อยากทราบว่าการไฟฟ้าคิดค่าไฟ 3 เฟสที่ไม่สมดุล คือถ้า เฟสA 50A เฟสB 25A เฟสC 35A ไม่ทราบว่าจะคิดที่เฟสสูงสุดหรือเปล่าครับ หรือคิดตามที่ใช้จริง ไม่ทราบว่ากิโลวัตต์ฮาวคิดอย่างไง แต่เมื่อบาลาสเฟสแล้วค่าไฟทำไมลดลงครับถ้าหากคิดตามที่ใช้วัตต์จริงของแต่ละเฟสหรือมีค่าไรคูณเพิ่มครับ ช่วยหน่อยครับ |