18/09/2550 21:11 น. |
“ปิยสวัสดิ์”สอนเชิงผู้นำต้องมองการณ์ไกล จวก นโยบายหลังเขา ปชป. [18 ก.ย. 50 - 03:57]<br> <br>นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ประกาศว่าหากเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะไม่สนับสนุนให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย ว่า ต้องดูให้ชัดเจนว่าเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ หรือนโยบายส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ และเห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องใช้เวลาเตรียมตัวในระยะยาว และทั่วโลกต่างกำลังกลับมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน <br><br>“อยากขอฝากถึงพรรคการเมืองทุกพรรคด้วยว่า หากจะมีการกำหนดนโยบายอะไรออกมาขอให้ ดูผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลักและต้องดูถึงผลระยะยาวด้วย เพราะเรื่องนิวเคลียร์เป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี แต่รัฐบาลมีอายุการทำงานเพียง 4 ปีเท่านั้น จึงอยากให้ทบทวนดูอีกทีว่าสมควรหรือไม่ที่จะเอานิวเคลียร์ ออกจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี 2007 หรือไม่” <br><br>นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องการผู้นำรัฐบาลที่มีความกล้าตัดสินใจ และพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องกลับไปทบทวนดูถึงความผิดพลาดของนโยบายด้านพลังงานในอดีตที่เคยบริหารประเทศมาก่อนหน้านี้อีกด้วยว่ามีนโยบายใดที่ผิดพลาด เพื่อที่หากเป็นรัฐบาลจะไม่ได้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอีก <br><br>สำหรับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะเน้นในเรื่องการพัฒนาพลังงานชีวมวลนั้น คงไม่ต้องรอให้พรรคการเมืองหลังการเลือกตั้งมากำหนดนโยบายอีก เพราะเป็นนโยบายของกระทรวงพลังงานที่ดำเนินการมาตลอดอยู่แล้วตั้งแต่ก่อตั้งกระทรวงพลังงาน แต่เชื่อว่าในอนาคตคงมีปริมาณไม่มากถึง 4,000 เมกะวัตต์ที่จะสามารถนำมาใช้แทนโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ส่วนข้อเสนอของทบวงพลังงานโลก (ไออีเอ) ที่เสนอให้ประเทศไทยเพิ่มมาตรการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมาตรการสำรองน้ำมันของประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง เพราะหากกำหนดให้สำรองมากเกินไปก็เป็นภาระต่อประเทศ <br><br>นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.คงต้องรับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก แต่การจะนำเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆมาใช้แทนนิวเคลียร์ หากเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินคงเกิดยากเพราะการต่อต้านจากมวลชนรุนแรง ส่วนก๊าซธรรมชาติก็มีจำกัด ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ ต้องชัดเจนว่าหากไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริงๆ จะให้ กฟผ.ใช้เชื้อเพลิงชนิดใดเป็นหลัก <br><br> นายอุทัย จันทิมา ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.เห็นด้วยกับนโยบายของนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ที่จะไม่ให้โรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัดในด้านปัญหามลพิษอันจะส่งผลให้โรงงานอื่นๆ อาทิ ปิโตรเคมีมีปัญหาไม่สามารถลงทุนโครงการใหม่ได้ เนื่องจากมลพิษที่เกิดขึ้นในพื้นที่จะมากเกินกว่าจะรับมือได้. <br> <br> <br>ที่มา: ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ |
21/09/2550 09:41 น. |
ผมเห็นด้วยกับคุณปิยสวัสดิ์ ครับ พลังงานนิวเเคลียร์เป็นความวิตกกังวนของมนุษย์ถึงภัยร้ายแรงของมันก็จริง แต่ผลประโยชน์ของมันก็มีมากเหลือเกิน ดังนั้นการมองอนาคตของประเทศ ก็ควรที่จะศึกษาข้อดี-ข้อเสีย และประโยชน์จะได้รับ อย่างละเอียด อย่าตัดออกจากนโยบายของภาครัฐ ควรจัดทำนโยบายและแผนงานในเรื่องนี้ให้ชัดเจน จะใช้เวลาในการศึกษามากหน่อยก็ไม่เป็นไร ครับ |
21/09/2550 09:43 น. |
เห็นด้วยครับ <br>โดยทั่วไปขึ้นชื่อว่านิวเคลียร์ใครได้ยินก็มักจะกลัวไว้ก่อน ด้วยเหตุนี้ทำไมเราไม่ศึกษาหรือเรียนรู้กับเจ้านิวเคลียร์นี่ให้มากๆล่ะ ของทุกอย่างถ้าเรารู้จักมันรู้ธรรมชาติของมันรู้วิธีใช้มัน ไม่เห็นจะต้องมานั่งกลัวเลย |
22/09/2550 12:58 น. |
มองมุมต่าง<br>ทำไมเรามองแค่การใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว แล้วไม่มองการไม่ใช้หรือลดปริมาณลงบ้างล่ะ พลังงานสะอาดก็มีเยอะนะครับเช่นพลังงานลม เป็นต้น ต่างประเทศเขาก็มีกันเยอะแยะ ทั้งที่ลมบ้านเขาไม่แรงเท่าลมบ้านเราด้วยซ้ำไป ผมคิดว่าเป็นอีกทางเลือกนะครับถึงแม้การลงทุนยังสูงอยู่ แต่ในระยะยาวคิดว่าดีนะครับ |
24/09/2550 18:04 น. |
เห็นด้วย ที่จะมีการศึกษา หรือ เริ่มโครงการเพื่อสู่การเตรียมตัวในการใช้ นิวเคลีย<br>ในขณะเดียวกัน ทางเลือกอื่น ก็น่าสนใจ แต่การศึกษา และติดตามในบาง ลักษณะ เช่น <br>การใช้ กังหันลม แบบ ใบพัด พบว่า มีนก ถูกใบพัด ตีตายวันละ เป็นร้อย <br>การทำ แหล่งผลิต ในลักษณะ เซลย่อย สามารถครอบคลุม ในเฉพาะ พื้นที่เล็กๆ เช่น ที่กลุ่ม ของ กฟฝ. ส่วนหนึ่งทดลองสร้าง Gen พลังน้ำขนาดเล็ก <br><br>ซึ่งหากมีการ ลอง ผิด ถูก บ้าง วันหนึ่ง น่าจะได้คำตอบ ที่ดี เพราะการใช้ พลังงาน ไฟฟ้า คงลดลงจากปัจจุบัน ได้ยาก จากการที่ประชากรโลก และ ในประเทศ ไม่ลดลงอยู่ในอัตราเพิ่มตลอด ( คนตาย น้อยกว่า คนเกิด ) <br> |