04/09/2550 16:32 น. |
Motor 110 KW 380 V<br>กระแส 200 A Star และ กระแส 115 A Delta ที่ I p<br>Star I phase = I Line <br>Delta I phase = ( I Line /1.732 )<br>เวลาเลือกสายไฟเราจะคิดตอน Delta ไดหรือปล่าวเพราะเวลาใช้งานจริงๆจะใช้ กระแส 97 A Star ที่ I p<br>เท่านันทำมัยต้องใช้สายไฟที่ กระแส167 A Delta <br>เพราะถ้าท่านผู้รู้ช่วยแก้ใขปัญหานี้ได้จะได้ช่วยชาติปรัหยัดค่าสายไฟไป<br>หลายพันล้านทีเดียว<br><br>ในหนังสือบอกว่าใช้ 120qmm<br>แต่ถ้าคิดกระแส 115 A Delta ที่ I p จะใช้สาย 50qmm<br> |
04/09/2550 16:36 น. |
Motor 110 KW 380 V<br>กระแส 200 A Star และ กระแส 115 A Delta ที่ I p<br>Star I phase = I Line<br>Delta I phase = ( I Line /1.732 )<br>เวลาเลือกสายไฟเราจะคิดตอน Delta ได้หรือปล่าวเพราะเวลาใช้งานจริงๆจะใช้ กระแส 115 A Delta<br> ที่ I p<br>เท่านันทำมัยต้องใช้สายไฟที่ กระแส 200 A Star<br>เพราะถ้าท่านผู้รู้ช่วยแก้ใขปัญหานี้ได้จะได้ช่วยชาติปรัหยัดค่าสายไฟไป<br>หลายพันล้านทีเดียว<br><br>ในหนังสือบอกว่าใช้ 120qmm<br>แต่ถ้าคิดกระแส 115 A Delta ที่ I p จะใช้สาย 50qmm |
04/09/2550 16:40 น. |
ในหนังสือบอกว่าใช้ 120qmm ที่ 3 สาว RST แต่เมอร์ใช้ 6 เส้น<br>UVW XYZ ไม่เห็นหนังสือแล่มใหนพูดถึงสาย UVW XYZ เลย งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง |
04/09/2550 23:17 น. |
เข้าใจผิดกันไปใหญ่แล้วครับ มอเตอร์จะต่อ star หรือ Delta กินกระแสเท่ากันครับ ยกเว้นช่วงสตาร์ท จากสูตรนี้<br>Power input =V*I cosO /Eff<br><br>คำนวณแล้วได้ประมาณ 200 A จึงใช้สายไฟให้เหมาะสม คราวนี้คุณเล่นมาคิดแค่กระแส Ip ของเดลต้า มันก็น้อยดิครับเวลาคำนวณสายไฟมันต้องใช้ กระแสไลน์ เท่านั้นไม่ว่าจะต่อมอเตอร์แบบไหน ผมขอเตือนนะครับหากคุณไปออกแบบสายไฟตามความเข้าใจที่ผิดของคุณ ความซวยจะมาเยือนครับ |
05/09/2550 09:03 น. |
ตอบ tuy_pisit เราพูดถึงสายไฟที่ต่อเข้ามอเตอร์และกระแสstar หรือ Delta กินไม่เท่ากัน ไม่ได้พูดถึงสายไฟ main |
05/09/2550 09:49 น. |
motor 380/660 vac <br>star 660 vac <br>Delta 380 vac <br>เวลาใช้งาน จริงใช้ สูตรนี้ได้หรือปล่าวเพราะmotor star 660 vac แต่ไฟจริง 380 vac <br>Power input =V*I cosO /Eff |
05/09/2550 11:42 น. |
เรียนคุณสุชาติ <br>ผมยืนยันครับว่าผมพูดถึงสายไฟที่เข้ามอเตอร์ขยายความว่าเป็นสายที่ต่อจาก magnetic contactor หรือ invertorหรือ circuit breaker เข้าไปที่มอเตอร์นะครับ ไม่ว่ามอเตอร์คุณจะต่อขอลวดให้เป็นแบบstar หรือ delta มันกินกระแสเท่ากันตามสูตรที่แจ้งไว้<br>ครับ <br> |
05/09/2550 11:50 น. |
ตอบคามเห็น5 สูตรนี้ใช้ได้ชัวส์ครับ คราวนี้ Volt ที่คุณจะเอามาคิดคุณต้องใช้ Volt 380 มาคิดครับเพราะมีเข้ามาจริงแค่นั้นครับ |
05/09/2550 12:44 น. |
Y ใช้ 660 V<br>Delta ใช้ 380 V |
05/09/2550 20:21 น. |
ถ้าต่อแบบ Y มาใช้กับ 380 V มอเตอร์ก็ไหม้ซิครับ |
06/09/2550 07:53 น. |
รบกวนความเห็น 9 ชี้แจงหน่อยครับว่าต่อ 380 V แล้วมอเตอร์ไหม้ได้อย่างไร และถ้าไฟที่เข้าขั้ว U1-V1,V1-W1 ,W1-U1 ใช้ 380 V ไม่ได้แล้วจะเอาไฟเข้าเท่าไร ใช่660 V ตามความเห็น8หรือไม่ และถ้าใช่คุณจะเอาไฟ 660V มาจากไหน<br>ตามความเข้าใจผม การสตารท์มอเตอร์ แบบสตาร์เดลต้า เป็นการช่วยลดกระแสสตาร์ทจึงเอาขดลวดมอเตอร์ 1ขด ที่ทน Volt 380 V มาต่อแบบสตาร์เท่าให้มันทนโวลท์ได้ 1.732*380 =660V แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องจ่ายไฟเข้าไป 660V เราก็จ่ายแค่ 380 V เพราะฉะนั้นเวลาคิดกระแสถึงเราจะต่อแบบสตาร์ เราก็ใช้สูตร Power input =V*I cosO /Eff เพื่อคำนวณสายไฟได้อยู่แล้วครับ ขอเพิ่มเติมอีกอย่างตามความเข้าใจผม ที่พวกเรารู้กันว่าsหากจะสตาร์ทสตาร์เดลต้าต้องใช้มอเตอร์660/380 นั้นเป็นเพราะโวล์ทตอนเป็นเดลต้ามันต้องรับ 380 ได้หากไปใช้ มอเตอร์380/220 มันจะกลายเป็นว่า ตอนเดลต้ามันจะรับไฟได้แค่220 แต่เราจ่ายเข้าไป 380 มันก็พัง เพราะฉะนั้น ที่ว่ามอเตอร์660/380 เวลาต้องสตาร์ มีคนบอกว่าต้องใช้ไฟ 660V ผมว่าไม่ถูกครับ หากผมเข้าใจผิดก็รบกวนชี้แจงด้วยครับ |
06/09/2550 09:25 น. |
ถ้าคุณ tuy_pisit ลองวัดที่ตูด mag นะครับและเทียบกับ MAIN แล้ว<br>คุณจะถึงบางอ้อ |
06/09/2550 20:01 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ<br><br>คงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 เรื่องนะครับ<br><br>1. 380/660 ที่อยู่ที่เนมเพลทมอเตอร์เป็นตัวบอกถึงการเลือกแรงดันใช้งาน และแน่นอนว่าถ้าใช้แรงดันต่ำ มอเตอร์ต้องกินกระแสสูง ในทำนองกลับกัน ถ้าเลือกใช้แรงดันสูง มอเตอร์ก็จะกินกระแสต่ำ<br><br>2. การสตาร์ทสตาร์ - รันเดลต้า เป็นการใช้อุปกรณ์ภายนอกมาเปลี่ยนวงจรการต่อขดลวดทำให้แรงดันที่ไปกระทำกับขดลวดต่ำกว่าที่ได้ออกแบบไว้ มีผลทำให้กระแสสตาร์ทลดลงไปเป็นสัดส่วนกับแรงดันที่ลดลงไป ซึ่งมอเตอร์ตัวใดจะใช้วิธีการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้าได้จะต้องเป็นมอเตอร์ที่ออกสายมา 6 เส้น และแรงดันทีสายลายน์จะต้องมีค่าเท่ากับแรงดันของมอเตอร์ที่มีการต่อเป็นแบบเดลต้า<br><br>สรุปถ้าเป็นสายเพาเวอร์ 3 เส้น ที่จะลากมาเข้าตู้สตาร์ทแน่นอนว่าจะต้องดูกระแสมอเตอร์ที่ต่อแบบเดลต้า<br><br>แต่ถ้าเป็นสายที่ลากจากตู้สตาร์ทไปตัวมอเตอร์ 6 เส้น ก็ให้เอากระแสมอเตอร์ ข้างต้นมาหารด้วย 1.732 เพื่อมาใช้ในการพิจารณาหาขนาดของสาย |
06/09/2550 21:04 น. |
ลองจ่าย 380 V แช่ซิครับจะได้รู้ และไม่ใช่ว่าลดแรงดันแล้วกำลังมันจะเท่าเดิม |
08/09/2550 08:09 น. |
k.ช่างซ่อมมอเตอร์ <br>แล้วผมจะรู้ได้ยังงัยครับ k.ช่างซ่อมมอเตอร์ ตอบไม่ตรงคำถามถ้าต่อวงจรแบบ คำตอบที่ 12<br>มันใช้ได้อยู่แล้ว<br> คำถามก็คือเวลาจะการสตาร์ทสตาร์ - รันเดลต้า<br>สายที่ลากจากตู้สตาร์ทไปตัวมอเตอร์ 6 เส้น ก็ให้เอากระแสมอเตอร์ ข้างต้นมาหารด้วย 1.732 เพื่อมาใช้ในการพิจารณาหาขนาดของสาย<br>เราต้องการลดค่าใช้จ่ายในราค่าของสายที่แพงและการติดตั้งที่<br>จะลำบากตามมา ถ้า Webboard นี้มี่คำตอบที่มีการอ้างอิงจะมีประโยชน์กับประเทศไทยเรามากกรุณาเพื่อน<br> Engineer ทั้งหลายช่วยหาคำตอบให้ผมที<br>MUT@ ตีนดอย รุ่น 27 |
08/09/2550 12:49 น. |
เรียนคุณสุชาติ<br> ผมเข้าใจแล้วครับว่าสายที่คุณสุชาติพูดถึงคือสายที่ออกจาก Mag เข้ามอเตอร์ 6 เส้น และคำตอบของคุณช่างซ่อมมอเตอร์ก็ช่วยทำให้ผมนึกภาพออก ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มาช่วยแบ่งปันให้ผมครับ และขออภัยที่เข้าใจผิดคำถามของคุณสุชาติ <br>ผมจึงขออธิบายให้เพื่อนๆที่ยังไม่ทราบหรือทราบแต่ยังนึกภาพไม่ออกดังนี้<br><br>1.สายที่เข้ามาที่ตู้สตาร์ทหรือตู้คอนโทรลใช้สูตร Pinput =V*I cosO /Eff หาค่ากระแสแล้วเปิดตารางหาขนาดสาย<br>2.สายที่ออกจากให้ใช้กระแสที่คิดได้ในข้อ1หาร1.732 แล้วเปิดตารางหาขนาดสาย เนื่องจากตรงนี้เป็นกระแสเฟส ก็จะใช้ขนาดสายที่ลดลง<br>ถามคุณสุชาติเพิ่มเติมที่ว่าให้ผมไปวัดตูดmag เทียบmain อยากรู้ว่าให้วัด magตัวไหน และค่าที่ออกมาจะได้เท่าไหร่ครับผมไม่ได้อยู่โรงงานจึงไม่มีของให้ไปวัด และจุดประสงค์ให้ผมไปวัดเพื่อบอกอะไรผมครับ ไม่เข้าใจจริงๆ<br><br> |