Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,292
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,564
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,875
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,851
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,303
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,366
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,336
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,711
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,744
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,194
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,104
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,322
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,774
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,532
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,539
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,407
17 Industrial Provision co., ltd 40,478
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,129
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,064
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,391
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,298
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,646
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,073
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,862
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,293
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,314
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,686
28 AVERA CO., LTD. 23,425
29 เลิศบุศย์ 22,387
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,144
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,047
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,714
33 แมชชีนเทค 20,658
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,885
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,873
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,661
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,299
38 SAMWHA THAILAND 19,156
39 วอยก้า จำกัด 18,887
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,369
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,185
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,103
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,052
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,040
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,945
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,937
47 Systems integrator 17,490
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,464
49 Advanced Technology Equipment 17,269
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,252
28/06/2550 19:30 น. , อ่าน 15,760 ครั้ง
Bookmark and Share
แมกเนติกของสตาร์- เดลต้า
วิศวะใหม่
28/06/2550
19:30 น.
พอดีได้โปรเจคในการออกแบบ ตู้สตาร์ทมอเตอร์แบบ สตาร์- เดลต้า แต่พอดี มีข้อมูลอยู่ว่าการออกแบบมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ออกแบบให้แมกเนติกตัวเมน ทำงานก่อน กับ ให้ตัวสตาร์ ทำงานก่อน<br><br>จึงอยากรบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับว่าควรออกแบบให้ แมกเนติกตัวไหนทำงานก่อนดีครับ และด้วยเหตุผลอะไรครับ <br>ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้า
ความคิดเห็นทั้งหมด 25 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
จา
28/06/2550
21:16 น.
ไปห้องสมุด หาหนังสือ การควบคุมมอเตอร์เล่มสีเหลืองของผศ วิทยา ประยงค์พัน กับ ผศ อำนาจ ทองผาสุข มาอ่านนะ มีวิธีอธิบายการสตาร์ทมอเตอร์ทั้งแบบสตาร์ทตรง สตาร์เดลต้า ลองอ่านดู ไม่เข้าใจค่อยมาถาม
ความคิดเห็นที่ 2
วิศวะใหม่
29/06/2550
12:23 น.
ผมอาจจะเขียนไม่ละเอียดละครับ คือผมหมายความว่า ในการออกแบบ ชุดแมกเนติกของการสตาร์ท แบบ สตาร์-เดลต้า ควรออกแบบอย่างไร ในจังหวะสตาร์ ครับ ระหว่าง ให้ตัวสตาร์ทำงานก่อนแล้วค่อยไปต่อตัวเมน หรือ ตัวเมนทำงานก่อนแล้วค่อยไปต่อตัวสตาร์ เพราะผมเข้าใจว่ามันสามารถทำงานได้ทั้งสองวิธี แต่น่าจะมีข้อแตกต่าง และข้อดีข้อเสีย<br>ขอบคุณครับสำหรับคำตอบที่ 1
ความคิดเห็นที่ 3
พี่เสือ
29/06/2550
19:12 น.
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าผมอธิบายจากความเข้าใจส่วนตัวนะครับ<br><br>จากการที่ผมได้สังเกตุชุดสตาร์ทแบบสตาร์-เดล ที่ประกอบขาย เรามักจะเห็นว่าแมกเนติกตัวที่ทำหน้าที่ต่อวงจรมอเตอร์เป็นแบบสตาร์มักจะตัวเล็กกว่าแมกเนติกเมนและต่อวงจรแบบเดลต้า<br>เหตุที่เป็นแบบนี้ผมเข้าใจว่า วงจรสตาร์ทส่วนใหญ่มักจะออกแบบให้มีการต่อวงจรเป็นสตาร์ให้เรียบร้อยก่อนจ่ายไฟเข้าขดลวด <br>ข้อดีก็คือ ช่วงสตาร์ทจะเกิดการอาร์คที่คอนแทนเมน ไม่เกิดการอาร์คที่คอนแทคแบบสตาร์ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียหายมากที่คอนแทคเมนเนื่องจากได้ออกแบบให้มีขนาดเพียงสำหรับการสตาร์ทไว้แล้ว นอกจากนั้นยังสามารถของแมกเนติกแบบสตาร์ลงได้ ทำให้ประหยัด(เนื่องจากช่วงสตาร์กระจะลดลงเหลือประมาณ 34 % หรือที่เราคุ้นๆก็คือ 1ใน 3 )<br>แต่ถ้าเราต่อเมนก่อนแล้วให้แมกเนติกแบบสตาร์ทำงานทีหลัง จะทำให้เกิดการอาร์ทที่คอนแทคเมนแบบสตาร์ นั่นหมายความคุณจะต้องใช้คอนเทคตัวที่ทำหน้าที่สตาร์มีขนาดเท่ากับคอนเทคเมน<br>ซึ่งหน้าเป็นชุดสตาร์แบบเล็กๆ ราคาของสองตัวที่ว่าก็ไม่ต่างกันเท่าไหร แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่การลดคอนแทคเตอร์ลงมาหนึ่งขนาดคุณจะประหยัดได้หลายพัน
ความคิดเห็นที่ 4
กี้
29/06/2550
21:41 น.
ผมมีวิธีที่สามารถลดต้นทุนได้มากกว่านั้นอีก คือตัดเเมกเนติกตัวเมนออก เลย ต่อสายตรงจากตูดเบรกเกอร์ เข้า u1 v1 w1 เลย <br><br>ซึ่งจะไม่มีผลต่อการทำงานของการสตาร์ทใดๆเลย <br>แต่จะยุ่งยากตอนซ่อมบำรุงเล็กน้อย
ความคิดเห็นที่ 5
กี้
29/06/2550
21:47 น.
ถ้าต้องมีการสั่งเเมกเนติกสตาร์ทำงานก่อน ตัวเเมกเนติกเมน ก้อต้องมีการเพิ่มtimer อีกตัวอะดิ ในกรณีที่ระบบไม่มี PLC
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
30/06/2550
12:06 น.
เห็นด้วยกับคำตอบที่ 3. และขอเสริมอีกว่า ถ้าเราไปพิจารณาวงจรไฟฟ้าที่ออกแบบโดยต่างประเทศ จะเห็นว่ามีการกำหนด ชื่อแมกเนติก ตัวสตาร์ เป็น K1 และตัวเมน เป็น K2 และ เดลต้า เป็น K3 ซึ่งจะสื่อถึงลำดับขั้นการทำงานที่ถูกต้องที่ควรจะให้ตัวสตาร์ ทำงานก่อน ส่วนเหตุผลก็เป็นไปตามคำตอบที่3<br><br>ส่วนคำตอบที่ 4 ในหลักการทำงานสามารถทำงานได้ แต่ในแง่ของความปลอดภัย มอเตอร์จะมีไฟจ่ายเข้าขดลวดอยู่ตลอดเวลา ถ้ามอเตอร์มีค่าความเป็นฉนวนที่ต่ำจะมีผลทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งานได้ที่อาจเข้าไปสัมผัส และทำให้กระแสไหลลงกราวด์ทำให้สินเปลืองพลังงานไฟฟ้าได้
ความคิดเห็นที่ 7
วิศวะใหม่
30/06/2550
12:29 น.
ขอบคุณครับทุกๆคำตอบของพี่ๆทุกคน ผมคิดว่าผมเข้าใจแล้วครับ
ความคิดเห็นที่ 8
Apc
03/07/2550
19:16 น.
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ ผมเห็นด้วยบางประการกับคุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับที่ว่า ถ้าเราใช้ Magnetic แค่สองตัวใน control แบบ Star/Delta จะไม่เกิดความปลอดภัยและมีใช้ในเครื่องจักรสมัยเก่าๆ <br> และขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในส่วนของการ Start แบบ Star/Delta นั้นการอาร์คจะเกิดขึ้นมากในช่วงที่ Switching จาก Star เป็น Delta และช่วงที่ Stop motor ครับส่วนการกำหนดสัญลักษณ์ว่า Magnetic ตัวไหนเป็นเลขที่เท่าใด ไม่ใช่เป็นตัวบอก Sequence การทำงานของอุปกรณ์ในวงจรครับ มันเป็นการตั้งชื่อของอุปกรณ์เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจครับ ถูกผิดประการใดก็ขออภัยนะครับ<br><br>
ความคิดเห็นที่ 9
วิศวะใหม่
07/07/2550
12:49 น.
ถามคำตอบที่ 8 แล้วทำไมจึงกำหนด ตัวสตาร์เป็น K1 และกำหนด ตัวเดลต้า เป็น K3 ถ้าไม่มองเรื่อง ลำดับขั้นการทำงาน เพราะตำแหน่งเวลาจะเขียน Power Diagram ตัวสตาร์จะอยู่ซ้าย และตัวเดลต้าจะอยู่ตรงกลาง ทำไมต้องมีการกำหนดให้ ไขว้ไปไขว้มาด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 10
Apc
07/07/2550
14:44 น.
ก็อย่างที่ผมแสดงความคิดเห็นไปนะครับว่าในการกำหนดสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ก็เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจแบบบางแบบก็กำหนด Main เป็น K1 ,star เป็น K2 และ Delta เป็น K3 หรืออีกแบบ Main เป็น K1 , star เป็น K3 และ delta เป็น K2 ก็มี ส่วนในการเขียน Power circuit ที่ให้ Magnetic ของ Delta อยู่ตรงกลางก็เพราะง่ายและสวยงาม ไม่ต้องลากสายข้ามหัวของ ชุด Star ส่วนขั้นตอนการทำงานที่ผมใช้งานอยู่ Main magnetic จะเป็นตัวแรกที่ทำงาน และในเวลาอันรวดเร็วมากจากการต่อของ Timer เป็นตัวที่ 2 ก็คือ Magnetic ของ Star และสุดท้ายที่ Delta ตามความเหมาะสมของเวลาที่ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์ถ้าต้องการดูตัวอย่างวงจร ลง email address ไว้ครับจะส่งไปให้ดู
ความคิดเห็นที่ 11
วิศวะใหม่
10/07/2550
18:08 น.
ขอบคุณครับ คำตอบที่ 10 เข้าใจว่าความหมายก็คือเป็นการออกแบบที่ให้ตัวเมน ทำงานก่อนซึ่งจะตรงข้ามกับความเห็นของคำตอบที่ 3<br><br>และคงจะไม่สนใจความหมายของตัวชื่อแมกเนติกซึงตรงข้ามกับความคิดเห็นกับคุณช่างซ่อมมอเตอร์<br><br>ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
มือใหม่กว่า
25/06/2551
17:08 น.
คอนแทกเตอร์ ราคาน่าจาถูกกว่ามอเตอร์มากๆๆ ฉะนั้นจึงต้องมีการป้องกันมอเตอร์ด้วยการต่อ โอเวอร์โหลด ด้วย
ความคิดเห็นที่ 13
น้องใหม่
18/11/2551
22:54 น.
ครับ แล้วถ้ามอเตอร์ 40 A ต้องตั้ง โอเวอร์โหลดกี่แอมป์และใช้คอนแทกเตอร์กี่แอมป์ กันละครับ
ความคิดเห็นที่ 14
เอ
31/01/2552
15:10 น.
สตาร์-เดลต้า
ความคิดเห็นที่ 15
เอ
02/04/2552
23:22 น.
วงจรสตาร์เดลต้า
ความคิดเห็นทั้งหมด 25 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
20 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD