Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,270
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,545
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,855
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,822
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,282
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,345
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,313
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,693
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,715
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,157
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,084
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,303
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,745
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,508
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,517
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,382
17 Industrial Provision co., ltd 40,461
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,113
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,042
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,375
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,274
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,628
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,054
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,844
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,276
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,293
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,662
28 AVERA CO., LTD. 23,405
29 เลิศบุศย์ 22,364
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,125
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,028
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,685
33 แมชชีนเทค 20,638
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,867
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,851
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,642
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,282
38 SAMWHA THAILAND 19,122
39 วอยก้า จำกัด 18,848
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,348
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,155
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,081
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,029
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,023
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,924
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,916
47 Systems integrator 17,464
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,438
49 Advanced Technology Equipment 17,244
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,234
08/06/2550 18:20 น. , อ่าน 7,817 ครั้ง
Bookmark and Share
โปรแกรมคุมสายพานคอนเวเยอร์
อรรถ
08/06/2550
18:20 น.
ต้องการจัดระยะของ ที่random มาบนสายพาน ให้ห่างเท่าๆกัน <br>เพื่อส่งเข้าเครื่องpack(สายพานแบ่งเป็นสี่ช่วง)อยากจะรู้ว่าโปรแกรม<br>เขียนยังไง มีใครเขียนได้มั่ง
ความคิดเห็นทั้งหมด 19 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
mr. chansilp
09/06/2550
11:37 น.
ก่อนอื่นต้องถามก่อนนะคับ<br>1สายพานใช้มอเตอร์อะไรในการควบคุม induction motor+inverter หรือ servo dirve+servo motor<br>2 controller ด้วย plc หรือ อะไร<br>3 มี encoder อ่านระยะทางหรือไม่<br>ปกติจะมีอุแกรณ์หลัก 2-3 ตัว นี้แหละคับ<br>แล้วส่วนใหญ่จะใช้ encoder ติดอยู่ที่ roller ขับสายพาน แล้ว ให้ plc รับสัญญาณจาก encoder แล้วเขียนโปรแถรมที่ plc อ่านและกำหนดระยะก่อนจึงส่งสัญาณไปควมคุม inverter,servo motor ต่อไป งานที่ต้องการความแม่นยำสูงก้อจะนิยมใช้ servo นะคับแต่ราคาก้อสูงตามคับ (mr.chan-085-8161122)
ความคิดเห็นที่ 2
อรรถ
09/06/2550
12:35 น.
ถ้าจะใช้ Servoคงต้องลงทุนสูงมาก หากว่าจะใช้ inverter ผมไม่แน่ใจว่าจะได้ผลดังคิด เพราะไม่เคยเห็นกับตา PLC Mitsu น่าจะเขียนง่ายกว่าด้วย ที่ได้เห็นมาเป็นเครื่องของยุโรปใช้ PLC ของ Siemens ออกแบบยุ่งยากมาก ใช้sensor เพียบ encoder นั้นต้องใช้แน่นอนครับ ถ้าอยากทราบอะไรอีกก็สอบถามมาได้ครับ ผมยินดีหาข้อมูลให้ เพราะอยากเอาชนะมันจริงๆ
ความคิดเห็นที่ 3
mans
09/06/2550
18:25 น.
inverter ก็ให้ความแม่นได้เหมือนกัน แต่ต้องใช้ความ ละเอียดรอบคอบ ของคนเขียนโปรแกรมด้วย จากนั้น ก็เพิ่ม sensor เข้าไปอีก ตัวสองตัว แล้วควบคุม speed กับเวลาให้ได้ก็ ทำงานได้เหมือนกัน แต่ประหยัดกว่าด้วย
ความคิดเห็นที่ 4
อรรถ
10/06/2550
19:49 น.
แล้วโปรแกรมแบบที่ว่านี้ มีใครเคยได้ลองเขียนจริงๆมาแล้วบ้างไหมครับ ความเร็วที่ต้องการอยู่ที่ 240 ชิ้นต่อนาที ระยะห่างต่อชิ้นบนสายพานประมาณ2 ซม.<br>ของที่จะลำเลียงเข้าสายพานจะมาแบบ random <br>สายพานแบ่งเป็น 4 ช่วง ช่วงละประมาณ 1 เมตร <br>ความเร็วเป็นอิสระจากกันทุกช่วง<br>ตอนที่ของขาดระยะ สายพานจะต้องลำเลียงชิ้นที่มาช้าไปส่งที่ตำแหน่งอย่างรวดเร็ว และตรงนี้คือคำถามที่สงสัยว่า inverter จะเปลี่ยนความเร็วลักษณะ ฉับพลันแล้วช้าลงเป็นปรกติทันทีได้หรือไม่ ทำไมฝรั่งถึงออกแบบมาโดยไม่ใช้inverter ไ่
ความคิดเห็นที่ 5
Pc
11/06/2550
13:57 น.
ผมขออนุญาต แทรกในบทสนทนา หน่อยนะครับว่า.. ผมว่า ต้องใช้ Servo เพราะว่า อัตราการ เร่ง และ ลด ของแต่ละ สายพาน มันใช้เวลาที่สั้นมา จาก 0 - Max speed และ มีการ Synchronize speed กันตอน รับส่งระหว่าง ช่วงสายพานกันด้วยนะครับ<br>ผม เดาว่า คุณกำลัง ทำ สายพาน ของ ขนมปัง หรือ ของที่ต้องหยอดชิ้นแต่งหน้า ก่อน เข้า Packing หรือ process line ต่อไป ใช่อ่ะเปล่า? ถ้าใช่ จะบอกว่า Servo มันต้องคุยกันเองด้วยนะครับ.. PLC ทำไม่ทันจ้า แล้ว INVERTER นะ ถ้าเอามาใช้ ก็ทำใจไว้ว่า มันก็ทำได้ แบบ ช้าๆ ครับ ไม่งั้น ขนม มันบุบ
ความคิดเห็นที่ 6
อรรถ
11/06/2550
18:27 น.
จะถือว่าเป็นการแทรกไม่ได้หรอกครับ เพราะเราเข้ามาคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ผมเองก็เล่าจากสิ่งที่ได้เห็น นำมาเล่า ให้ ได้คิดกัน และก็อยากจะหาใครที่มีใจชอบเรียนรู้มาช่วยกัน ออกความคิดด้วย เนื่องจากมันเป็นเรื่องท้าทายเราจริงๆ มองอย่างผิวเผินก็เป็นเรื่องง่าย แต่มองอย่างพินิจ เขาซ่อนอะไรไว้ หลายอย่าง เป็นต้นว่า servo motor ที่ใช้กับเครื่องนี้ก็แสนพิสดารอีกนะ เรียก pancake motor เดาว่าคงมีวัตถุประสงค์อะไรสักอย่าง มอเตอร์แบบนี้ ผมไม่เคย เห็นตัวใหญ่ๆมาก่อน คิดว่าคงไม่แคล้วการแก้ปัญหาเรื่อง inertia การขับเคลื่อน ขับตรงจากเพลามอเตอร์ ไม่มีเกียร์ทดและเบรค ผมว่าน่าจะใช้ dynamic brake ไม่งั้นระยะคงคุมไม่ได้ speed ของสายพานแต่ละตัวถ้าจะว่า sync. ก็ยังสงสัยว่าเวลาของขาดตอนช่วงสั้นๆ โปรแกรมจะแก้เหตุการณ์ยังไง<br>เพราะข้างหน้าบอกให้เร่งข้างหลังบอกให้รอ ถ้าไม่รอระยะห่างจะเพิ่ม ยิ่งคิด ก็ยิ่งซับซ้อน และถ้าของขาด packที่ออกปลายทางจะกลายเป็นซองเปล่า แล้วเกิดอีตอนQC กำลังง่วงจับออกไม่ทันก็ได้โดนกันทั้งกะ ล่ะซิ<br>
ความคิดเห็นที่ 7
tee
12/06/2550
18:19 น.
ผมทำมาแล้วใช้ stepping motor ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ถ้าไม่ทันเป็นซองเปล่าเราก็มีลมคอยตรวจจับอยู่แล้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้ QC
ความคิดเห็นที่ 8
mans
12/06/2550
19:19 น.
ถ้าลักษณะงานเช่นนี้ invertte เอาไม่อยู่ครับ Servo เหมาะสมที่สุดครับกับงานที่ค่อนละเอียดเช่นนี้ <br>แต่อย่างว่าครับ คุณภาพสูงมักมาพร้อมราคาสูงเสมอๆ
ความคิดเห็นที่ 9
อรรถ
12/06/2550
21:07 น.
ใช้ลมเป่าตลอดเวลาเลยหรือครับ คงเปลืองแย่เหมือนกันนะ ถ้าเป็นวิธีนั้น <br> แต่เดิมมาผมก็เคยเห็นอยู่ ว่ามันมีลมเป่าตอนที่มีซองเปล่าหลุดไป คิดว่าน่าจะมีโปรแกรมจัดการกับเรื่องนี้ แต่ก็ไม่มีความสามารถพอจะเข้าใจว่าเขียนยังไง ต่อๆมาไอ้function นี้มันก็หายไปจากเครื่อง ไม่รู้ใครไปทำอะไรเข้า ใครรู้วิธีการโปรแกรมลองเล่าบอกกันบ้างสิครับ ส่วนservoนั้นเรื่องราคาคงทำใจกันได้เพราะคงเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เราก็อยากจะให้ราคามันย่อมเยาลงหน่อย ซื้อเขามาทั้งเครื่องด้วยความไม่รู้จะให้ใครทำ ราคา ก็เกือบสี่ล้าน หากพวกเราทำกันเองได้ ถึงว่าราคาสูงก็คงไม่โหดขนาดนั้นหรอกนะ <br>เจ้ามอเตอร์ชื่อน่ากินนั่นตัวละแสนสาม เปลี่ยนใหม่ทีนึงลมจะใส่ เวลาพนักงานเขาทำความสะอาดเขาจะล้างแบบเรื่องศรีธนญชัยเลย ไอ้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆนี่ตรงไหนฝรั่งทำมาไม่ได้คิด เป็นได้เจอน้ำบาน<br> แล้วตอนstart เครื่องใหม่ ความชอกช้ำก็จะบังเกิด ถ้าใครเอาstepping มาแทนได้มันคงจะถูกลงเยอะนะ คุณ teeเคยสร้างทั้งเครื่องเลยหรือว่าดัดแปลงเครื่องยี่ห้ออะไรครับ แล้ว stepping มันวิ่งเร็วได้ขนาดนั้นเลยหรือ มอเตอร์steppingกำลังมากๆ รอบละกี่stepครับที่คุณเคยใช้ ยี่ห้อและรุ่นอะไรลองแนะนำกันมั่ง ผมจะลองไปหามาทดลองดู
ความคิดเห็นที่ 10
tik
13/06/2550
10:42 น.
ดูลักษณะงานแล้วคงโหลดไม่หนักใช้ stepping motor +PLC ก็อาจจะลดการใช้ sensor และราคาก็ถูกลงกว่า servo
ความคิดเห็นที่ 11
tee
13/06/2550
19:02 น.
คุณ อรรถผมจะยกตัวอย่างง่ายๆที่ผมทำทั้งระบบให้กับบริษัทหนึ่งที่พวกเราชอบกินเวลาจน เขาผลิตบนรายสายพาน 200 ซอง/นาทีเงื่อนไข ตรวจสอบก้อนหมี่,ตรวจซองน้ำมัน,ตราจสรวจสอบซองเครื่องปรุง แล้วก็แพก ห่อไหนไม่ใส่ซองใดซองหนึ่งให้เอาออก ซองเปล่าไม่มีก้อนหมี่ก็ให้เอาออก ความเร็วสายพานแปรผันไปตามความเร็วของเครื่องห่อ ผมก็ใช้ Stepping ไม่เห็นมีอะไร เพราะ PLC ปัจจุบันสั่งค่าพันให้ Stepping ได้มากกว่าเมื่อก่อน PLC ที่ผมใช้เฉพาะเครื่องนี้ของ OMRON CJ1M-CPU23 ขับพันได้สูงสุดประมาณ 60000 พัน ส่วน Stepping ใช้ของ VERTEX UPH268A ซึ่งเป็นรุ่นเก่าก็เพียงพอที่จะขับได้แล้ว แต่เครื่องปัจจุบันที่ส่งไปปัจจุบันเปลี่ยนเป็นใช้ SERVO MITSU MR-J2S-20A ส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆเช่นว่าลมจะเป่าอย่างไรเมื่อมี่ซองเปล่าซึ่งเราจะถือว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย เรื่องที่ต้องคำนึงถึงคืออุปกรณ์มากกว่า ท้ายนี้ ส่วนเรื่องโปรแกรมมันไม่ใช่เรื่องใหญ่มีให้เล่นได้มากมายของแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นและที่สัมคํญใช้ง่ายขึ้นด้วยหวังว่าคงพอเข้าใจ
ความคิดเห็นที่ 12
Pc
16/06/2550
09:55 น.
ตอบ คุณ ที ปัญหาที่คุณ อรรถ เกริ่นไว้แต่ต้น คือ การ RANDOM ความห่าง และ ถี่ของ วัสดุที่จะ แพ็ก สายพานจะต้องวิ่งชดเชยให้นะครับ แต่ระบบคุณที มันไม่เห็นมีการวิ่งชดเชยให้เลยนะ (ผมอาจเข้าใจผิดหรือเปล่า ไม่แน่ใจ)
ความคิดเห็นที่ 13
อรรถ
16/06/2550
21:31 น.
แสดงว่าคุณPc คงได้ติดตามมาแต่ต้นแล้วนะครับ และคิดว่าคุณPc เข้าใจ ลึกซึ้งทีเดียว การทำงานของเครื่องถ้าเล่าสู่กันฟังผิวเผิน ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในลักษณะหรือรูปแบบที่เคยทำมา ก็จะมองว่า เป็นเรื่องง่ายๆ แต่วิธีการของอีก design หนึ่งมันก็คงมีแตกต่างโดยที่อาจมีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่าง เพราะผมเชื่อมั่นว่าฝรั่งคงต้องคิดละเอียดก่อนแล้วเช่นกัน การกำหนด compensate speed สำหรับของบนconveyor ช่วงที่ขาดหายในบางขณะ ต้องspeedup เป็น 3-4 เท่าของความเร็วปกติเพื่อส่งของชิ้นที่มาใหม่ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องใช้Pancake Motor จริงหรือ เพราะmotor จะต้องเพิ่มความเร็วฉับพลัน ขับconveyorให้ส่งของไปทันชิ้นสุดท้ายที่กำลังจะเดินทางถึงส่วนPacking ซึ่งวัสดุห่อเป็นชนิด printed foil ของที่feed in จะต้อง synchronize กับ movement ของ foil ด้วย ผมเดาว่าความเร็วผลิตน่าจะต้องมาจากความเร็วของfoilเป็นตัวบังคับ เมื่อใดที่ของขาดจริงๆคือชิ้นสุดท้ายเข้าสู่ pack area แล้ว เครื่องจะเบรครอทันที เนื่องจากไม่ยอมให้เกิด empty pack <br>ช่วงการทำงานของการsealนั้นต้องมีการspray ด้วยเคมีและใช้ Nitrogen บรรจุเข้าไปพร้อมๆกันด้วย และทุกอย่างจะหยุดการทำงานหมด ที่เล่ามาทั้งหมดก็เป็นการสังเกตและอยากรู ้ แค่เรื่องการเป่าซองเปล่าทิ้งผมก็งงแล้ว ไม่แน่ใจว่าเขาเขียนโปรแกรมยังไง เพราะเครื่องมันจะจำตำแหน่งเอาไว้เลยพอไปถึงปลายทางลมจะเป่าที่ซองเปล่า แม่นเป๊ะ ไม่ว่าจะติดๆกันมากี่ซองมันก็จำได้หมด
ความคิดเห็นที่ 14
อรรถ
16/06/2550
21:51 น.
ผมพยายาม หาStepping motor ยี่ห้อ VERTEX ไม่ยักมี อย่างที่คุณ Tee ว่า เจอแต่พวกชุดชั้นในครับ
ความคิดเห็นที่ 15
Pc
17/06/2550
14:23 น.
ผมเดาแล้วไม่ผิด ระบบขนมปังจริงๆ ด้วย.. จิจิๆ ใครว่า แน่นะ ไปลองดู ผมคนหนึ่งละ ก็อยากทำ แต่ใครจะมีเวลาอยากลองกับเราละเนอะ.. เฮ่อๆ เคยดูมาบ้าง แต่ถ้าต้องทำจริงๆ นะ<br>ผมขอเสนอว่า PLC Mitsubish, + Servo Mitsu, หรือ PLC Siemens + Drive น่าจะดี ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ รอยต่อการรับส่ง ของขนม ในแต่ละช่วงสายพานต่างหาก<br>ถ้าคิดง่าย ๆ ก็คือสายพาน ตัวก่อน ตัวถัดไป จะต้องคอยจัดระยะความห่าง ให้ได้ ในเวลาเดียวกันก็ต้อง คำนวณ Speed Synchornize ในช่วง รับส่ง แค่นั้นเอง อ้อ.. มันมีข้อจำกัด ของความถี่ห่าง ของขนมเข้านะครับว่า ต้องอยู่ในช่วง ไม่ใช่ RANDOM แบบ 100%
ความคิดเห็นทั้งหมด 19 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
12 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD