04/06/2550 17:00 น. |
สายกราวด์ กับสายนิวตรอน มีความหมายต่างกันอย่างไร |
04/06/2550 19:16 น. |
เท่าที่รู้นิวตรอนมีหน้าที่ทำให้ครบวงจรคะ<br>ส่วน กราวด์มีหน้าที่ป้องกันกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟฟ้ารั่ว คือเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วก็จะเป็นกลางให้กระแสไหลผ่านลงดินคะ |
04/06/2550 22:44 น. |
สายนิวตรอลเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ส่วนสายกราวด์ในสภาวะปกติไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า แค่นี้ก็น่าจะเข้าใจนะครับ ลองตอบเองนะครับว่าทำไมต้องมีสายกราวด์ |
08/06/2550 11:49 น. |
กราวด์ก็มาจากดิน ผ่านดินไปหม้อแปลง หรือโรงไฟฟ้า<br>นิวตรอนมาจากโรงไฟฟ้าหรือหม้อแปลง โดยการผ่านทางสายไฟฟ้า<br>มั้ง |
08/06/2550 12:53 น. |
ข้อเท็จจริงคือ สายนิวตรอล เอาไว้ให้กระแสในระบบเฟสเดียวไหลผ่านหรือไม่ก็สามเฟส แต่ unbalance ไหลผ่านให้ครบ loop แต่สายดินจะทำให้แรงดันของสายนิวตรอลเป็นศูนย์ |
21/06/2550 11:32 น. |
สายนิวตรอนมีไว้สำหรับเป็นทางเดินของอิเล็คตรอนหรือกระแสไฟฟ้าไหลกลับมาครบลูปที่ต้นทาง<br>ส่วนสายดินต่อไว้สำหรับให้ไฟลงดินในกรณีช็อตโครงที่ต่อสายดินอยู่เพื่อป้องกันการมีไฟค้างหรือวิ่งผ่านอยู่ที่โครงเหล็กนั้น |
22/07/2551 14:46 น. |
อยากทราบความหมายของสายนิวตรอน |
22/07/2551 14:48 น. |
อยากทราบความหมายของสายนิวตรอน |
22/11/2551 19:38 น. |
ทำไมกราวด์ของระบบกับนิวตรอนจึงต่อถึงกัน |
11/12/2551 12:17 น. |
หาไม่ค่อนเจอเลยวะ |
24/04/2552 16:18 น. |
สายกราวด์มีหน้าที่อะไร |
25/05/2552 12:49 น. |
สายนิวตรอนมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรือไม่ |
23/10/2552 01:12 น. |
มีครับ นึกภาพนะครับ สายไฟบ้านเรามี 2 เส้น คือ + กับ -<br>นั่นเรียกว่า สายไลน์ กับสายนิวตรอน<br>ถ้าขาดเส้นใดเส้นหนึ่งไป ไฟจะเดินไม่ครบวงจรครับ<br>ส่วนสายกราวด์นั้น มีไว้เพื่อป้องกันกระแสที่รั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไม่ให้มาช๊อตคนเราครับ<br>ตัวอย่างเครื่องทำน้ำอุ่น ต้องมีการเดินสายกราวด์ลงดิน<br>เพื่อกรณีไฟฟ้าลัดวงจร กระแสทั้งหมดจะไม่วิ่งมาช๊อตเรา<br><br>ผิดถูกขออภัย<br> |
02/12/2552 22:16 น. |
ทำไมสายนิวตรอนกับสายกาวน์ วัดแล้ว ได้ค่าว่ามันถึงกันเหรอ ช่วยตอบหน่อยใครมีความรู้ช่วยบอกที นะครับ ขอบคุณ |
06/12/2552 19:55 น. |
วิชาไฟฟ้านะ<br>ถ้าเคยศึกษาเรื่องการไหลของไฟฟ้านะ ไฟจะไหลก็ต่อเมื่อมีความต่างศักย์เกิดขึ้นระหว่างต้นทางปลายทาง กราวน์หรือดินมีความต่างศักย์คือ 0 ดังนั้นคือไม่มีไฟ ดังนั้นเมื่อเกิดไฟ220รั่วที่โครงเครื่องที่ต่อสายดิน ไฟจะไหลลงสายดินทันทีเพราะเกิดความต่างศักย์(ต้นทาง220ปลายทาง0ไฟมันก็ต้องไหลอยู่แล้วน่ะ)และสาเหตุที่พอเราจับแล้วไม่ถูกดูดก็เพราะตัวเรามีความต้านทานไฟมากกว่าสายดินที่ทำจากโลหะไฟฟ้าเลยไหลทางสายดินลงดินแทน การที่เรายืนบนผ้าหรือพรมขณะสัมผัสสิ่งที่มีไฟรั่วก็ช่วยป้องกันไฟช็อตตัวเราได้ถึงแม้จะไม่มีสายดินเลย เพราะผ้าหรือพรมนั้นช่วยให้ร่างกายเราสัมผัสพื้นดินโดยตรง ไฟเลยไม่ไหลผ่านตัวเราไงครับ ผมทดลองเสี่ยงมาแล้วโดยถอดสวิทช์ออกใช้มือเปล่าจับปลายที่เปลือยของสายที่ต่อกับหลอดไฟมาต่อปลายเปลือยของสายไลน์โดยยืนบนผ้าหนา ปรากฏว่าเดี้ยง ไม่ใช่ ไม่ถูกไฟดูด แถมหลอดไฟก็ติด นั่นเป็นเพราะปลายสายที่ไปหลอดไฟต้านทานความต่างศักย์น้อยกว่าตัวผมที่ยืนบนผ้า ไฟจึงไหลไปที่สายหลอดไฟแทนครับ |
06/12/2552 19:58 น. |
แก้ไขนิดนิด พิมพ์ผิด<br>เพราะผ้าหรือพรมนั้นช่วยให้ร่างกายเรา "ไม่" สัมผัสพื้นดินโดยตรง ไฟเลยไม่ไหลผ่านตัวเราไงครับ ผมทดลองเสี่ยงมาแล้วโดยถอดสวิทช์ออกใช้มือเปล่าจับปลายที่เปลือยของสายที่ ต่อกับหลอดไฟมาต่อปลายเปลือยของสายไลน์โดยยืนบนผ้าหนา ปรากฏว่าเดี้ยง ไม่ใช่ ไม่ถูกไฟดูด แถมหลอดไฟก็ติด นั่นเป็นเพราะปลายสายที่ไปหลอดไฟต้านทานความต่างศักย์น้อยกว่าตัวผมที่ยืนบน ผ้า ไฟจึงไหลไปที่สายหลอดไฟแทนครับ |