31/05/2550 18:33 น. |
อยากรู้ว่าหน้าที่ของ varistor ที่ต่อคร่อม คอล์ย shunt field กับคอล์ยเบรก มีไว้ทำไมครับ ตอนนี้เจอที่ดีซีมอเตอร์เครน ปัญหาที่เจอคือ เจ้างวาริสเตอร์ที่คร่อม shunt field มันระเบิดซ๊อท ทำให้ เบรกเกอร์ shunt field ทริป ผลก้อคือ เกิดมอเตอร์ไม่หมุนและกระเเสอาร์เมเจอร์ สูงจนไดร์ท เกือบพัง จึงอยากรู้ว่าเเล้วจะติดไว้ทำไม ในเมื่อ มันสามารถป้องกันฟิลด์ได้จาก เเรงดันเกิน แต่อย่างอื่น เช่นอาร์เมเจอร์ ไดรฟ์ เบรกเกอร์ต้องมาเสียหาย |
05/06/2550 08:02 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br>อันที่จริงก็ไม่ทราบหน้าที่ที่แท้จริง แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะทำหน้าที่ 1 ใน 2 หรือทั้ง 2 เหตุผลดังต่อไปนี้<br><br>1. ป้องกันแรงดันค่าสูงที่เกิดจากภายนอกไปกระทำกับขดลวดที่มันต่อคร่อมอยู่ เพื่อที่จะทำหน้าที่ บายพาสไม่ให้ แรงดันค่าสูง ไปตกคร่อมขดลวด เพราะอาจจะทำให้ฉนวนขดลวดไม่ว่าระหว่างขดลวดหรือกราวด์เกิดความเสียหาย<br><br>2. ป้องกันแรงดันที่เกิดจากขดลวดที่มันตกคร่อมอยู่ ผลิตแรงดันออกมาอันเนื่องจากเหตุผิดปกติ เช่นมีการกระชากไฟเข้ากับขดลวดอาร์เมเจอร์ จะทำให้มีแรงดันค่าสูงเกิดขึ้นที่ขดลวดชุดฟิลด์ ฉะนั้น วาริสเตอร์จะดูดซับค่าแรงดันไว้ไม่ให้ออกไป ทำให้อุปกรณ์ชุดควบคุมมอเตอร์เกิดความเสียหาย<br><br>ตามความคิดเห็นน่าที่จะเป็นเหตุผลที่ 2 มากกว่าเพราะเท่าที่สังเกตุตัววาริสเตอร์มักจะต่อคร่อมกับคอยล์ที่มีจำนวนรอบมากๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับเหตุผลที่ 2 มากกว่า |
06/06/2550 00:03 น. |
เป็นการป้องกัน L di /dt ว่างั้นเถอะครับ ถ้าจากเหตุผลข้อสอง<br><br> |
06/06/2550 00:08 น. |
ที่เเรกใน ทางช่างเขาเอา วาริสเตอร์ ขนาด 400 โวล์ทใส่ แล้วระเบิด ตอนนี้ใส่ 800 โวล์ทไปเลย คาดว่าน่าจะมีปัญหาหรือปล่าวครับ เราจะสามารถทดสอบได้ด้วยวิธีไหนบางครับ |
06/06/2550 12:52 น. |
ตามความเข้าใจถ้าเราคาดการว่าการใช้วาริสเตอร์เป็นการป้องกันในแบบที่ 2 ที่กล่าวมาแล้ว การใช้วารริสเตอร์ที่มีค่าต่ำน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการใช้ค่าสูง แต่คงต้องมีค่าสูงกว่าค่าแรงดันใช้งานที่ตกคร่อมคอยล์ เพราะการใช้ค่าที่สูงกว่ามากๆ จะเป็นการยอมให้แรงดันที่มีค่าสูงผ่านเข้าไปในชุดควบคุม<br><br>สาเหตุที่วาริสเตอร์ระเบิดน่าจะเกิดจากการใช้วาริสเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดของ พลังงานที่สะสมอยู่ในขดลวด ฉะนั้นวิธีแก้ควรที่จะลองขนานวาริสเตอร์ดูครับ |
06/06/2550 15:21 น. |
ช่างซ่อมมอเตอร์ very good very very |
06/06/2550 19:15 น. |
เห็นด้วยกับช่างซ่อมมอเตอร์ <br><br>คาดว่า<br>1. Varistor ตัวนี้ทำงานผิดพลาดอันเนื่องมาจากการผลิตคือทำงานที่ค่าแรงดันสูงกว่าปกติทำให้ทำงานช้าลงและส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆในวงจรเสียหายโดยถาวร<br>2. Fuse ที่ทำการตัดวงจรทำงานช้ากว่าปกติ อาจจะเผื่อมากเกินไป<br><br>* โดยทั่วไปเมื่อ Varistor เกิดการช๊อตแล้ว Fuse จะขาดทันที่ การแก้ไขคือเปลี่ยนใหม่ทั้งสองตัว หรือถอด varistor ทิ้งแล้วเปลี่ยนเฉพาะ Fuse ก็สามารถทำงานได้ปกติ แต่ก็มีบางกรณีที่สาเหตูมาจากทั้งสองข้อทำให้อุปกรณ์พังไม่สามารถใช้งานต่อได้ ต้องส่งซ่อมยกชุด เรื่องแบบน้จะเจอบ่อยมากสำหรับโรงงานที่ใช้ไฟหลายระบบ |
06/06/2550 22:56 น. |
ขอบคุณครับ คุณช่างซ่อมมอเตอร์ |
26/09/2550 12:59 น. |
VARISTOR มีไว้เพื่อป้องกันการเกิด over voltageหรือtransient ที่จะส่งผลต่อขดลวดของมอเตอร์ ถ้าเกิดกรณีใดก็ตามขดลวดจะบอบช้ำทำให้ฉนวนเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอายุของมอเตอร์จะสั้นลง |
26/09/2550 13:12 น. |
การโมดิไฟในอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงอย่าทำอะไรโดยทิ้งหลักการด้าน วิศวกรรมเด็ดขาดอยากทราบเหลือเกินว่ามอเตอร์เป็นของประเทศอะไร เพราะการออกแบบย่อมต้องมีที่มาและหลักการเป็นสำคัญใจเย็นๆนะครับลองหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดหรือถ้าจะโมดิไฟต้องทำด้วยหลักการ |
26/09/2550 13:13 น. |
การโมดิไฟในอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงอย่าทำอะไรโดยทิ้งหลักการด้าน วิศวกรรมเด็ดขาดอยากทราบเหลือเกินว่ามอเตอร์เป็นของประเทศอะไร เพราะการออกแบบย่อมต้องมีที่มาและหลักการเป็นสำคัญใจเย็นๆนะครับลองหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดหรือถ้าจะโมดิไฟต้องทำด้วยหลักการ |
26/09/2550 13:13 น. |
การโมดิไฟในอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงอย่าทำอะไรโดยทิ้งหลักการด้าน วิศวกรรมเด็ดขาดอยากทราบเหลือเกินว่ามอเตอร์เป็นของประเทศอะไร เพราะการออกแบบย่อมต้องมีที่มาและหลักการเป็นสำคัญใจเย็นๆนะครับลองหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดหรือถ้าจะโมดิไฟต้องทำด้วยหลักการ |
31/10/2550 11:40 น. |
ขอบคุณครับ คุณช่างซ่อมมอเตอร์VARISTOR มีไว้เพื่อป้องกันการเกิด over voltageหรือtransient ที่จะส่งผลต่อขดลวดของมอเตอร์คาดว่าน่าจะมีปัญหาหรือปล่าวครับ เราจะสามารถทดสอบได้ด้วยวิธีไหนบางครับ |
22/11/2550 15:18 น. |
การประยุกต์ใช้งาน<br><br> วาริสเตอร์นั้นถูกนำไปใช้ในการกำจัดสัญญาณรบกวนที่เป็นพัลส์กำลังงานสูงโดยเฉพาะเช่น พัลส์รบกวนที่เกิดจากฟ้าผ่า หรืออื่นๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรที่มีตัวเหนี่ยวนำถูกเปิดวงจร การตัดต่อนี้อาจจะเป็นผลจากสวิตช์ ฟิวส์หรือจากสารกึ่งตัวนำที่เป็นไทริสเตอร์ เราอาจจะคิดว่าไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์นี้จะเปิดวงจรเฉพาะจุดที่แรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้าเท่ากับศูนย์ ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะมีแรงดันเหนี่ยวนำเกิดขึ้น ในขณะเดียวกับที่กระแสลดลงต่ำกว่าค่ายึด ซึ่งเป็นค่ากระแสที่จำเป็นสำหรับรักษาให้ไทริสเตอร์ยังคงนำกระแสอยู่ ค่ากระแสยึดมีค่าไม่เท่ากับศูนย์ จึงทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำจำนวนเล็กน้อยขึ้นในหลายๆ กรณี พลังงานสนามแม่เหล็กซึ่งเท่ากับ 1/2 LI2 จะถูกกระจายผ่านไดโอดและส่วนของความต้านทานที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยตัวเองโดยที่ I เป็นค่ากระแสในขณะตัดวงจรและ L เป็นค่าความเหนี่ยวนำทั้งหมดของวงจรเนื่องจากค่าความเหนี่ยวนำด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการควบคุมทางด้านไฟกระแสสลับจึงทำให้ไม่สามารถใช้ไดโอดได้ ดังนั้นวาริสเตอร์จึงเป็นหนทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้<br><br> <br><br><br><br>รูปที่ 6 เมื่อฟิวส์ตัดวงจรแรงดันของแหล่งจ่ายไฟจะสูงขึ้นทันทีทันใด ถ้าไม่มีการป้องกันไว้อุปกรณ์ต่างๆ อาจเสียหายได้<br><br> <br><br> <br><br>สิ่งที่ควรคำนึงในการเลือกใช้วาริสเตอร์สำหรับงานเฉพาะ คือ<br><br> 1. แรงดันที่เป็นยอด ซึ่งอุปกรณ์ที่ถูกป้องกันสามารถทนได้โดยไม่เกิดการเสียหายนั้นจะต้องเลือกวาริสเตอร์ที่มีค่าแรงดันเริ่มทำงานต่ำกว่าแรงดันที่เป็นยอดนี้<br><br> 2. ค่าแรงดันสูงสุด (VP) ที่ตกคร่อมวาริสเตอร์ภายใต้เงื่อนไขปกติ (ในงานเกี่ยวกับไฟกระแสสลับค่า VP = 1.414 Vrms) เป็นสิ่งที่ต้องจำไว้ว่ากระแสที่ไหลผ่านวาริสเตอร์ที่ระดับแรงดันขนาดนี้จะต้องต่ำกว่า 1 มิลลิแอมป์<br><br> 3. ค่ากระแสทรานซิสเตอร์สูงสุด<br><br> 4. ค่ากำลังงานที่กระจายในตัววาริสเตอร์ ระหว่ามีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นเมื่อตัววาริสเตอร์ต่อคร่อมตัวเหนี่ยวนำอยู่ค่ากำลังงานนี้จะต้องน้อยกว่า 1/2 LI2 <br><br> 5. การกระจายกำลังงานเฉลี่ยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าอัตราส่งพัลส์มีค่าสูงหรือถ้าแรงดันเริ่มทำงานไม่สูงเกินกว่าค่าแรงดันปฏิบัติงานในสภาวะ<br> |