17/04/2550 17:09 น. |
ผมจะออกแบบวงจร Start Motor 40HP โดยใช้ Inverter โดยที่จำเป็นจะต้องมีวงจร Star-Delta เดิมอยู่ด้วย จะสามารถทำได้ไหม จะมีผลเสียกับภาค Output ของ Inverter หรือไม่ ช่วยหน่อยนะครับ e-mail : <a href="mailto:atom1atom1@hotmail.com" Target="_BLANK">atom1atom1@hotmail.com</a> |
18/04/2550 19:28 น. |
ไม่น่าได้ครับ ต้องแก้ไข Wiring ที่ Contactor กับที่ Motor ซิครับ |
19/04/2550 11:37 น. |
Tinamics มีคำตอบ ลองโทรมาสอบถามดู ทำได้ |
19/04/2550 18:13 น. |
ได้แน่นอนคับ ทำได้โดย อินเวอรเตอ์รับอินพุทมาจากเบรกเกอร์ และเอาพุทของอินเวอร์เตอร์ก้อมาเข้าชุด สตารเดลต้าตามปกติ หลังจากนั้นก้อนำหน้าสัทผัสของแมกเนติกเดลต้า มาเป็นคำสั่งรันให้กับอินเวอร์เตอร์เท่านี้ก้อสามารรันอินเวอรเตอร์ได้ โดยใช้สตารเดลต้าคับผม สงสัยยังไงลองเมลมาที่ <a href="mailto:narit@ip.thmail.com" Target="_BLANK">narit@ip.thmail.com</a> นะคับ |
19/04/2550 20:26 น. |
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเก็บวงจร สตารเดลต้าไว้<br>เพราะหากใช้อินเวอร์แล้ว วงจรดังกล่าวไม่น่าจะมีความหมายอะไร<br>สามารถเอาออกได้ครับ |
19/04/2550 21:27 น. |
ช่ายครับ ผมเห็นด้วยกับคุณคำตอบที่ 4 |
20/04/2550 08:36 น. |
ขอเสริมจากคำตอบที่4 และ5คับ<br>คือในบางงานที่เป็นลักษณะการประหยัดพลังงาน เช่นปั๊มน้ำหรือแฟน ทางโรงงานเดิมแล้วเขาใช้ชุดสตาร์เดลต้าอยู่แล้ว ต่อมาเขาได้นำอินเวอร์เตอร์เข้ามาประหยัดพลังงาน แต่ว่าทางโรงงานต้องการให้คงชุดสตาร์เดลต้าไว้เหมือนเดิมเนื่องจากว่า ถ้าเกิดวันใดมีอินเวอร์เตอร์เสียขึ้นมาเราก้อจะสามารถใช้การสตาร์ท แบบสตาร์เดลต้าได้โดยที่ไม่ต้องผ่านอินเวอร์เตอร์ไงคับ เพราะฉะนั้นขึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการคงชุดนี้ไว้ แต่ถ้าให้ดีควรจะมีวงจรบายบาสของอินเวอรกับสตร์เดลต้าไว้ด้วยก้อดีนะคับ หรือไม่ต้องใช้เป็น chang over switch ก้อได้ในส่วนของเพาเวอร์นะคับ <br>ผมทำรื่องนี้มาหลายที่แล้ว ได้ผลแน่นอนคับ |
20/04/2550 10:54 น. |
ถ้ายังงั้นก็ ปรับ timer ให้น้อยที่สุด แล้วใช้ contact delta ไปสั้ง start inverter อีกที คราวนี้ก็ไม่ต้องแก้ wiring ด้วย<br>คือให้ contactor ทำงานให้จบ Star-delta ก่อนจึงให้ inverter start ครับ |
20/04/2550 16:34 น. |
คำตอบที่ 6 ตอบได้ชัดเจนครับ เห็นด้วยคับ<br> |
21/04/2550 08:34 น. |
ใกล้เคียง<br><a href="http://www.tinamics.com/download/tinamics_com/tinamics_vsd_unique.pdf" Target="_BLANK">www.tinamics.com/download/tinamics_com/tinamics_vsd_unique.pdf</a><br><br>Star Delta ทำมาเยอะแล้ว ไม่ยากกว่าที่คิด |
21/04/2550 11:31 น. |
ขอขอบคุณทุกคำตอบมากนะครับ |
21/04/2550 18:17 น. |
ถ้าใครมีคำแนะนำเชิญได้เลยนะครับ ขอบคุณมากครับ<br> |
04/05/2550 20:00 น. |
ตอนนี้ผมออกแบบและใช้งานอยู่ครับ ของผมเดิมเป็น 75 Kw control by Star/Delta จุดประสงค์เหมือนกันกับคำตอบที่ 6 ครับ และตอนที่ใช้ Inverter มันก็เคยเสียครั้งนึงแต่ก็สามารถเปลี่ยนเป็น Star/Delta ได้อย่างรวดเร็ว |
12/05/2550 12:15 น. |
ขอสนับสนุนอีกคนครับ สามารถทำได้ครับ<br>ผมเคยออกแบบมา แต่จะต้องมีการ Inter-lock Magnetic ให้ถูกต้องนะครับ ขณะเปลื่ยน Y-->D (Start -Y used Inverter)<br>(ไม่สามาหา Softstart ได้นะครับ)<br>สงสัยยังเมลมาที่ <a href="mailto:mumoo_03@hotmail.com" Target="_BLANK">mumoo_03@hotmail.com</a> นะคับ |
16/05/2550 18:15 น. |
ใช้ได้ครับโดย ปัจุบันมีการนำเอาอินเวอร์เตอร์ มาใช้เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ปรับรอบมอเตอร์ ลดกระแสชั่วขณะ หรือ ใช้ในงานอนุรักษ์พลังงาน อาจจะแบบ ควบคุมความเร็วรอบคงที่ หรือ แบบปรับความเร็วรอบแปลงผันตามความต้องการของโหลด<br> ดังนั้นผมคิดว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมี Star-Delta เพื่อเป็นระบบสำรอง หากวันใดวันหนึ่ง เจ้า VSD มันเสีย และในช่วงระหว่างรอซ่อมบำรุงทางผู้ใช่ก็สามารถที่จะใช้มอเตอร์ตัวเดิมได้โดยไม่จำเป็นต้องหยุดระบบ<br> ส่วนวิธีการต่อ 2 ระบบเข้าด้วยกันนั้น คือเรายังระบบ Star/Delta ดังเดิม แล้วต่อคือ Seleter Swith 1 ตัว แบบ <br>I 0 II ( on off on ) เอาไว้เลือกระบบ เช่นหากต้องการเลือกระบบ VSD สัญญาไฟฟ้าภาค คอนโทนจะถูกส่งเข้าไปออน VSD จากนั้น ภาคPower ทางด้าน ขาออกจาก VSD จะไปผ่าน คอนแทคเตอร์ ไปยังมอเตอร์ได้ทันที ส่วนคอนแทคเตอร์จะต้องต่ออินเตอร์ล๊อกกับภาคคอนโทน Star/Delta ป้อนกันการทำงานพร้อมกัน<br>และในทำนองเดียวกันเมื่อต้อนการให้ Star/Delta ทำงาน ทำการเลือก Seleter Swith ให้สัญญานไฟฟ้าผ่านไปยังภาคคอนโทนของ Star/Delta ตามปกติ ส่วนที่ต้องต่อเข้ามาในวงจรคอนโทน Star/Delta ก็คือชุด อินเตอร์ล๊อกกับภาคคอนโทน ของ VSD<br>( อ่านเป็นวิทยาทาน นะครับหากไม่มีความชำนาน แนะให้ติดตอ่กับ บ.วิศวกร ที่มีความชำนานจะดีกว่านะครับ ) ที่รู้จักก็ มีไทนามิก ครับ ลองเข้าไปหาข้อมูลดูที่ <a href="http://www.tinamics.com" Target="_BLANK">www.tinamics.com</a> <br> |
28/08/2550 23:23 น. |
มอเตอร์ขนาดใหญ่ควรคงใว้แต่มอเตอร์เล็กเปลืองโดยใช่เหตุครับ |