14/02/2550 16:40 น. |
เรียนท่านผู้รู้ครับ<br> มีความสงสัยในเรื่องการเลือกใช้งงานมอเตอร์ตาม พิกัดกำลัง ครับ<br> 1. ถ้ามอเตอร์ถูกออแบบมาสำหรับขับโหลดอยู่ปัจจุบันใช้โหลดประมาณ 85% ถ้าในอนาคตมีการศึกษาแล้วพบว่าต้องเพิ่มโหลดจาก 85%เป็นประมาณ 100% มอเตอร์ ผมจำเป็นต้องเปลี่ยนมอเตอร์ไหมครับ <br> 2. ปกติเราควรเผื่อ MARGIN เท่าไรในการ DESIGN ว่ามอเตอร์ควรมากกว่าโหลดที่คำนวณได้กี่เปอร์เซนต์ แล้ว อะไรเป็นตัวกำหนด<br> 3. จากข้อ 1 ถ้าผมไม่เปลี่ยนมอเตอร์ มีผลเสียอะไรบ้างในเรื่องของ RELIABITY มีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากความเห็นผมพูดตรงๆก็คือว่า ในเมื่อเขียน NAMEPLATE 100 KW.ก็ควรจะใช้ได้100 kw ถ้าใช้ได้ตำกว่านี้ก็ต้องพิจารณา FACTOR อื่นๆด้วยเช่น P.F.ระบบไฟฟ้าที่เป็น SUPPLY และ แรงดันในระบบต่างๆ ตามสมการ <br>P= 1.732 X V X I X P.F. X EFF.<br>4. มีมาตรฐานบอกชัดเจนไหมครับเรื่องการเผื่อ MARGIN ในการเลือกมอเตอร์ให้มากกว่า LOAD ที่คำนวณได้ |
15/02/2550 19:24 น. |
1)จำเป็นอย่างยิ่งครับเพราะว่าขนาดของcopperที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานที่full loadก็จริงแต่การใช้งานมอเตอร์แบบfull loadตลอดเวลาจะทำให้เกิดความร้อนทำให้ฉนวนเสื่อมเนื่องจากcopper lossได้เร็วขึ้นและเกิดความสูญเสียมากเพื่อใช้ในการสร้างmagnatic flux จึงไม่เหมาที่จะใช้งาน |
15/02/2550 21:33 น. |
2)ค่าแฟกเตอร์ที่ใช้ควรเป็นP=1.732xIVxpf.xeffx1.25 และที่ให้เดินเครื่องเพียง80%เพราะว่าเป็นการเดินเครื่องที่คุ้มค่ามากที่สุด หากเดินเครื่องที่ต่ำกว่า50%แล้วจะเกิดcore loss,copper loss,ควาสูญเสียจากแรงต้านของลมและความสูญเสียของเพลา<br>ข้อ3)ถ้าไม่เปลี่ยนจะทำให้เกิดแรงดันตกและค่าSpeed,Torqueลดลง<br>4)น่าจะขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบว่าจะเผื่อค่าfactorเท่าไหร่มากกว่าครับ |
16/02/2550 16:29 น. |
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ<br>1.ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมอเตอร์ครับ เพราะมอเตอร์ยังมีค่า SF. ใช้อยู่ในขณะที่มีโอกาส เกิดการกระเพื่อมของโหลด และแรงดัน ฉะนั้น สามารถใช้งานที่ 100 เปอร์เซนต์ของพิกัดมอเตอร์ได้ แต่ อายุมอเตอร์ที่มีผลมาจากการเสื่อมสภาพของฉนวนมอเตอร์ (ซึ่งมีผลมาจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น ) จะเสื่อมมากกว่า หมายความว่า การใช้งานที่โหลด 80 เปอร์เซนต์จะทำให้ใช้งานมอเตอร์ได้นานมากกว่าวครับ<br>2. ตัวเลขที่อ่านพบบ่อยๆ จะอยู่ที่ 85 เปอร์เซนต์ เพราะเป็นค่าที่มอเตอร์โดยทั่วไป จะให้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ที่ 100 เปอร์เซนต์ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกันมากนัก เหตุผลอีกอย่างหนึ่งเข้าใจว่าการที่พยายามออกแบบโหลดใช้งานให้น้อยกว่าพิกัดมอเตอร์ ก็เพราะเพื่อเผื่อสำหรับโหลดที่อาจจะมีประสิทธิภาพที่ลดลง มีผลทำให้โหลดมีค่าเพิ่มขึ้น<br>3. เห็นด้วยครับกับการที่จะพยายามใช้งานมอเตอร์ให้คุ้มกับขนาดของพิกัดมอเตอร์ ตามความคิดแล้วสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นรูปธรรมก็น่าจะเป็นการบำรุงรักษามอเตอร์ ที่มอเตอร์ที่ใช้งานเต็มพิกัดต้องการบำรุงรักษาที่มากกว่า เช่น การทำความสะอาดขดลวด และสิ่งสกปรกต่างๆ ที่มีผลต่อการระบายความร้อนของมอเตอร์ เพราะอุณหภูมิของขดลวดหรือมอเตอร์จะเป็นปัจจัยหลักที่จะเป็นตัวกำหนดอายุฉนวนของมอเตอร์<br> สรุปก็คือต้องการช่วงระยะเวลาในการบำรุงรักษาที่สั้นกว่า เช่น การใช้งานมอเตอร์ 100 เปอร์เซนต์จะมีระยะเวลา 1 ปีที่จะนำมอเตอร์มาทำการล้างทำความสะอาด แต่ถ้าเป็น 85 เปอร์เซนต์อาจจะเป็น 1ปีครึ่ง หรือ 2 ปี ( ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมรอบข้าง )<br>4. เท่าที่ทราบไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ครับ |
20/02/2550 08:29 น. |
ขอบคุณครับคุณช่างซ่อมมอเตอร์<br> ยังสงสัยเรื่องประเด็น S.F. MOTOR เพราะโดยปกติฌเท่าที่ผมสังเกตเห็น มอเตอร์ที่ผลิตตามมาตรฐานIECทางยุโรป S.F.จะมีค่าเป็น 1.0 อย่างนี้แล้วความเห็นในข้อ 1 ยังคลอบคลุมมอเตอร์ที่มี S.F. เป็น 1.0 อยู่หรือเปล่าครับ <br>(เพราะถ้าเป็นมอเตอร์ของอเมริกาตามมาตรฐาน NEMA จะมี S.F.ประมาณ 1.15 อันนี้ไม่สงสัยและเห็นด้วยตามความเห็นข้อ 1) |
23/02/2550 18:59 น. |
ถ้าเป็นกรณีที่แจ้งมา ยังคงจะมีแฟคเตอร์เกี่ยวกับ Ambient Temp ที่บ้านเรามักจะมีอุณหภูมิรอบข้างไม่ถึง 40 องศา ฉะนั้นตรงนี้จะเป็นแฟคเตอร์ส่วนหนึ่งที่โหลดกระเพื่อม หรือแรงดันตกไปบ้าง และมีผลทำให้กระแสมีโอกาสมีค่าสูงมากขึ้น จนสุดท้ายทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ยังไม่ถึงค่าที่มอเตอร์ออกแบบไว้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีมอเตอร์ Temp Rise Class B และมอเตอร์ถูกติดตั้งใช้งานที่อุณหภูมิรอบข้าง 30 องศา มอเตอร์ถูกใช้งานเต็มพิกัด<br>ซึ่งโดยปกติถ้าเป็น Temp Rise Class B มอเตอร์จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการใช้งาน 80 + 40 ( Amb 40 Deg ) = 120 องศา แต่ถ้าเรานำมอเตอร์มาใช้งานที่ Amb 30 จะทำให้มอเตอร์มีอุณหภูมิสูงขึ้น ณ. ทำงานเต็มพิกัด เพียง 110 องศา ฉะนั้น เรายังมีค่าอุณหภูมิที่ยอมให้มอเตอร์มีอุณหภูมิสูงเพิ่มได้อีก เนื่องจากมอเตอร์ทำงาน เกินพิกัด อีก 10 องศา <br>และเมื่อไปดูกราฟ อายุของฉนวนเทียบกับอุณหภูมิใช้งานของขดลวดจะพบว่า การใช้งานที่อุณหภูมิ 120 องศา มอเตอร์จะสามารถใช้งานได้ถึง 28 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่ามอเตอร์มักจะเสียหายเนื่องจากสาเหตุอื่นมากกว่า<br>สรุป มอเตอร์ก็ยังจะสามารถใช้งานได้ แต่ก็คงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบำรุงรักษา ตามข้อ 3 ที่ได้กล่าวไปแล้ว |
05/03/2550 10:11 น. |
ช่างซ่อมมอเตอร์ ตอบค่อนข้างชัดเจนแล้ว ถ้ายังไม่พอ ลองอ่านนี้ดู<br><br><a href="http://www.tinamics.com/download/tinamics_com/nema_60hz_using_to_50hz.pdf" Target="_BLANK">www.tinamics.com/download/tinamics_com/nema_60hz_using_to_50hz.pdf</a> |