|
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาเมธี ชาวอิตาเลี่ยน เกิด 15 กุมภาพันธ์ คศ.1564 ที่ เมืองปิซ่า อิตาลี เสียชีวิต 8 มกราคม คศ.1642 กาลิเลโอ เป็นคนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์มาก แต่บิดาของเขาอยากให้เรียนวิชาการแพทย์ เพราะสามารถหาเงินง่ายและเป็นที่นับถือแต่เขาไม่ชอบเอาเสียเลย นอกจากนี้เขายังสนใจด้านศิลปะภาพเขียน เขายังมีความสามารถด้านดนตรี บิดาของกาลิเลโอเป็นนักคณิตศาสตร์และดนตรีและนักเขียนพอมีชื่อเสียงแต่ฐานะไม่รำรวย แต่เขาไม่อยากให้บุตรชายเป็นเหมือนเขา จึงได้ส่งเขาไปร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยเมืองปิซาด้านการแพทย์ จนอายุได้ 19 ปี มีศาสตราจารย์คนหนึ่งมาสอนเรื่อง คณิตศาสตร์ เขาได้แอบเข้าไปเรียนด้วย จนกระทั่งกล้าซักถามปัญหาและต่อมาหลังจากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เมืองปิซ่า กาลิเลโอ เคยไปสวดมนต์ที่โบสถ์เขาสังเกตเห็นโคมไฟในโบสถ์ถูกลมพัดแกว่งไป-มา เมื่อลมหยุดตะเกียงแกร่งสั้นเข้าๆ จนในที่สุดมันก็หยุด เขาได้ความรู้ว่าแม้ช่วงที่แกร่งสั้นเข้า แต่ความเร็วก็ไม่ได้ลดลงเลย ความคิดนี้เขาได้นำมาประดิษฐ์นาฬิกาลูกตุ้มให้แก่พ่อของเขาเรือนหนึ่ง อีกครั้งหนึ่งเขานับจังหวะการแกว่งของโคมไฟกับการเต้นของหัวใจ จนประดิษฐ์เครื่องมือวัดการเต้นของหัวใจได้ว่าเต้นนาทีละกี่ครั้ง เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ของแม้จะมีน้ำหนักต่างกันแต่ตกถึงพื้นพร้อมกัน โดยขึ้นไปบนหอเอียงปิซ่า เอาของที่มีน้ำหนักต่างกันทิ้งลงมา ปรากฎว่าถึงพื้นดินพร้อมกันซึ่งหลักอันนี้แม้จะขัดกับคำพูดของอริสโตเติลแต่ก็เป็นความจริง นอกจากนี้เขายังค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทัศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมา และเขาก็ได้พิสูจน์ได้ว่า โลกไม่ได้อยู่นิ่งๆหรือเป็นศูนย์กลางของดวงดาวทั้งหลายแต่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้คณะบาทหลวงและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเขาและโป้ปฟ้องหาว่าเขาเป็นคนนอกศาสนา (เพราะไปขัดแย้งกับแนวคิดทางศาสนา กับ อริสโตเติ้ล)ห้ามไม่ให้เขาเผยแพร่ความคิดนี้ และประกาศให้คนทั่วไปทราบว่าความคิดของเขาผิด เขาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ที่อายุน้อย คือ 24 ปี ทั้งที่ไม่มีใบปริญญาที่เมืองปิซา แต่อยู่ได้ไม่นานต้องลาออกไปเพราะไปขัดแย้งของของตกจากที้สูงที่ขัดแย้งกับ อริสโตเติล จนได้ไปสอนที่มหาวิทยาลับปาดัว (University of Padua) ที่ยาวนานถึง18 ปี ในบั้นปลายชีวิตของกาลิเลโอ นั้นน่าสงสารยิ่ง เพราะเขาป่วยจนตาบอดเพราะมาจากการใช้สายตาส่องดูกล้องมากเกินไป จนตายไป แม้ตอนตายหลุมศพเขายังห้ามมิให้มีแผ่นศิลาจารึกให้เขาอีกด้วย ศพของเขาได้ถูกนำไปฝัง ณ Church of Santa Croce หลังจากนั้นอีก 50 ปี ก็ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นเกียรติกับความสำเร็จของเขาในกาลต่อมาก็เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ผลงานค้นพบที่สำคัญของ กาลิเลโอ
ผลงานด้านงานเขียน
|
นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล