|
แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) เกิด 17 เมษายน ค.ศ.1791รัฐแมสซาซูเซส สหรัฐอเมริกา เสียชีวิต 2 เมษายน ค.ศ.1872 นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน บิดามีอาชีพเป็นนักบวชและนักเขียน เขาจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัย เยล ด้านศิลปะและชื่นชอบอีกด้วย จนสนใจอยาดศึกษาให้เชี่ยวชาญจนเขาได้ไปศึกษาด้านศิลปะที่อังกฤษ พบจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายคน เขาต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เช่น รับจ้างวาดภาพขาย จนสามารถเปิด Gallery ได้ แต่ไม่โด่งดังมากเท่าใด จนวันหนึ่งเขามีโอกาสได้พบกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ชื่อ Charls F. Jacson ซึ่งเขาเองก็สนใจด้านนี้อยู่เหมือนกัน ส่วนการสนใจการประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขนั้นเริ่มขึ้นเมื่อปี 1832 เขาได้เฝ้าดูการทดลองของ ดร.แจ็คสัน เอาลวดพันรอบๆแท่งเหล็กแท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่า เหล็กกลายเป็นแม่เหล็กเนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แต่เมื่อตัดกระแสออก เหล็กก็หมดความเป็นแม่เหล็กและตะปูก็จะร่วงลงมา จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้านี้เอง ทำให้ แซมมวล มอร์สเกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการที่เขาได้ประดิษฐ์สวิทช์ไฟง่ายๆ ขึ้นจากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิทช์ แต่เมื่อเลิกกดปุ่ม สวิทช์จะเกิดกระแสไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกเราเรียกสวิทช์เช่นนี้ว่า “สะพานไฟของมอร์ส” ใช้ในการส่งกระแสเป็นเวลาสั้นๆ ยาวๆ ตามรหัส กระแสนี้ไหลผ่านสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมือง หรือประเทศกับประเทศ ไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า “อาร์เมเจอร์” ต่ออยู่ ในขณะที่มีกระแสสั้นๆ หรือ “จุด” อาร์เมเจอร์ จะถูกดูดด้วยแม่เหล็ก และดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาวๆ หรือ “ขีด” อาร์เมเจอร์ จะถูกดูดนานหน่อยโดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจได้ยินเสียงออดสั้นๆ ยาวๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อที่จะได้ส่งข้อความไปตามเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า “รหัสของมอร์ส” ซึ่งใช้มาจนถึงทุกวันนี้ เขาสนใจทั้งด้านศิลปะ และเครื่องส่งโทรเลขจนประสบผลสำเร็จ แม้จะขาดแคลนทั้งเงินทองและเวลา เพราะกลางวันต้องทำงานสอน ส่วนกลางคืนก็ทดลองทำงานประดิษฐ์นี้ จนวันที่ 2 กันยายน 1837 เขาก็สามารถส่งโทรเลขได้ภายในหอประชุมของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ส่วนการส่งไปปลายทางไกลๆ ครั้งแรกระหว่าง กรุงวอชิงตัน ไป บัลติมอร์ ระยะทาง 38 ไมล์ ด้วยข้อความว่า “พระเจ้าทำงานอะไร” จนเขาเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ทางสมาคมโทรเลขแห่งสหรัฐอเมริกาได้สร้างอนุสาวรีย์แก่เขาที่สวนสาธารณะในเมืองนิวยอร์ค ผลงานการค้นพบ
|
นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล