|
มาดาม มารี คูรี่ (MADAM MARIE CURIE) เกิด 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 เมืองวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์ เสียชีวิต 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934 กรุงปารีส ฝรั่งเศส ผู้ค้นพบรังสีเรเดียมที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย มารี เป็นชาวโปแลนด์ บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์และมักพาเธอมาที่ห้องทดลองเสมอจึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก แม้จะมาเหตุการณ์ทางเมืองเมื่อรัสเซียมาปกครอง โปแลนด์และบังคับให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการก็ตาม หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูอนุบาลสอนหนังสือให้กับเด็กๆ แถวๆ นั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอนยา ไปเรียนต่อด้านแพทย์ศาสตร์ ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป จนพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยปารีส สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาว ไม่พอต่อค่าใช้จ่ายเธอจึงดิ้นรนหางานทำ จนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฎิบัติการทางเคมี ของ ปิแอร์ คูรี่ จนทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ ปิแอร์ เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถชน ระหว่างที่เรียนไปทำงานไปเธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อยๆ จนมาพบรังสีแร่ธาตุยูเรเนี่ยม โดยได้มาจากแร่พิทช์เบลนที่เป็นออกไซต์ชนิดหนึ่งสามารถแผ่รังสีได้ จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่างๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับปริญญาเอกในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม จนในปี 1902 เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า “เรเดียมคลอได์” ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสีและสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลต่อมา การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนักและต่อเนื่องกว่า4 ปี ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง แม้สามีจะเสียชีวิตก็ตาม ด้วยกำลังใจอันล้นเปี่ยม และเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นผู้คนส่วนมากล้มตายและถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เธอจึงอาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่างๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงานแต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนักและโดนรังสีเรเดียมทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลงานการค้นพบ
|
นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล