|
วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ (William Harvey) เกิดวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1578 เมืองฟอล์ด สโตน ประเทศอังกฤษ เสียชีวิต 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657 กรุงลอนดอน อังกฤษ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีอาชีพแพทย์รักษาคนไข้ ช่วงที่ยังมีชีวิตซึ่งผลงานการค้นพบของเขา เป็นที่ต่อต้านไม่เห็นด้วย แต่เมื่อมีการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ ผลงานของเขาก็เป็นที่ยอมรับนับถือ แม้เขาจะลาโลกไปแล้วก็ตาม วินเลี่ยม ฮาร์วี่ เกิดมาในครอบครัวฐานะร่ำรวย บิดาเป็นนายกเทศมนตรี ชื่อ โทมัส ฮาร์วี่ (Thomas Harvey) ทำให้เขามีโอกาศได้รับการศึกษาที่ดีมีชื่อเสียงจนเข้าศึกษาด้านแพทย์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ หลังจากจบแล้กก็เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมาดัว ประเทศอิตาลี ซึ่ง ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ทำให้เขาได้พบกับศาสตราจารย์ฮีโรนิมุส เพบริซิอุส ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ฮาร์วี่ ค้นพบการไหลเวียนโลหิต หลังจากจบการศึกษา เขาได้ทำงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลเซนต์บาร์โทโลมิว กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเป็นคนที่มีความสามารถเป็นที่ชื่นชอบของคนไข้ตั้งแต่ฐานะร่ำรวยไปจนถึงยากเย็นเข็ญใจ ต่อมาเขาไม้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระเจ้าเจมส์ที่ 1 (King James 1) จนสวรรคต พระเจ้าชาร์ลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ (King Charles 1) ก็ได้รับการแต่งตั้งต่อ การศึกษาค้นคว้าของเขากว่า 10 ปี ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องการไหลเวียนโลหิตจากการผ่าตัดผู้ป่วยกว่า 100 ราย จนกระทั่งปี ค.ศ. 1628 เขาก็ค้นพบการไหลเวียนของโลหิตและได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “การทำงานของหัวใจและระบบการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายสัตว์” ซึ่งหัวใจมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางในการทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจหยุดเต้นก็เท่ากับว่าหยุดการสูบฉีดโลหิต เลือดในร่างกายก็จะเป็นสีดำ ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แต่หัวใจสัตว์จะแตกต่างจากมนุษย์ เช่น สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่หายใจเข้า-ออกทางเหงือก ผิวหนัง จะใช้เพียงห้องหัวใจเดียวด้านซ้ายเท่านั้นในการสูบฉีดโลหิต การศึกษาการค้นพบของคนทั่วไป นักวิชาการแม้แต่แพทย์ด้วยกัน กลับไม่เห็นด้วย จวบจนเขาเสียชีวิตผลงานของเขาจึงได้รับการยอมรับเพราะมีการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์โดย อังตวน แวน เลเวนฮุค (Anton Van Leewenhoek) วงการแพทย์จึงสามารถพิสูจน์ได้ ผลงานสร้างชื่อ
|
นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล