ที่มา : https://www.facebook.com/tpromphenrangsi
วันนี้ (05 june 22) เกิดเหตุหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดน้ำมันติดตั้งภายนอกอาคาร ของการไฟฟ้าเกิดระเบิดและน้ำมันหม้อแปลงซึ่งปกติติดไฟได้เกิดติดไฟลามเข้าไปลุกไหม้ในอาคารข้างเคียงจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตของ ปชช.ที่อาศัยทำงานอยู่ในอาคาร รวมทั้งมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
ผมได้มีโอกาสดูจากคลิปที่ส่งผ่านกันมา แล้วเห็นว่าก่อนการระเบิดมีควันลอยออกมาซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากความร้อนสะสมในหม้อแปลง จนเกิดควันและทำให้ฉนวนน้ำมันเกิดเบรคดาวน์จนเกิดลัดวงจรและระเบิดอย่างที่เห็น
ส่วนสาเหตุของการเกิดความร้อนสะสมจนเกินพิกัดที่รับได้สันนิษฐานด้วยอาการที่ค่อยๆ มีควันและร้อนจนระเบิดน่าจะมาจากฮาร์โมนิกที่ 3 ซึ่งเกิดจากโหลดชนิดไม่เชิงเส้น (non-linear load, NLL) จำพวก internet router, charger มือถือ, หลอด LED, UPS (1 เฟส) ซึ่งเป็น unbalance load ทั้งสิ้น ทำให้เกิดกระแสใน Neutral สูงมากจนทำให้เกิดความร้อนสะสมและเกินพิกัดดังกล่าว
ปกติหม้อแปลงที่ กฟฟ.ติดตั้งทั้งหมด(ในอดีต) จะมี K-factor rating=1 ซึ่งไม่รองรับ NLL หรือหากจะมีใช้ก็ไม่ควรเกิน 15% ของพิกัดกำลัง แต่ปัจจุบัน NLL มีสัดส่วนที่สูงขึ้นมาก ทำให้หม้อแปลงเดิมที่มี K factor = 1 รับโหลดได้น้อยลง ซึ่งหาก NLL สูงถึง 70% ของโหลดทั้งหมด หม้อแปลงจะรับโหลดได้ไม่เกิน 50% ของพิกัดกำลังโดยไม่เกิดความเสียหาย หากมากกว่านี้ก็จะเกิดเหตุการณ์ตามที่ปรากฏ
เปรียบเทียบระหว่างโหลดที่เป็นเชิงเส้น (ขวามือ) และโหลดแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้น (ซ้ายมือ)
เรื่องนี้หาก กฟฟ.นำมาเป็นกรณีศึกษา สืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการป้องกันโดยอาจนำ IoT มาใช้งานก็จะเกิดประโยชน์ไม่น้อย สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในระยะยาวซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้ง ปชช.ผู้ใช้ไฟที่ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องลุ้นว่าหม้อแปลงหน้าบ้านจะกลายเป็นระเบิดเวลาขึ้นมาเมื่อไรและต่อ กฟฟ.เองที่ลดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและภาพลักษณ์ด้วย
========================================================