Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,798
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,171
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,457
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,453
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,913
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,029
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,006
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,295
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,146
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,818
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,773
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,973
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,318
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,816
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,160
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,053
17 Industrial Provision co., ltd 39,850
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,798
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,713
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,041
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,974
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,322
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,741
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,469
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,975
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,969
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,347
28 AVERA CO., LTD. 23,102
29 เลิศบุศย์ 22,062
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,820
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,714
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,327
33 แมชชีนเทค 20,316
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,576
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,545
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,286
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,963
38 SAMWHA THAILAND 18,740
39 วอยก้า จำกัด 18,406
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,978
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,824
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,759
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,725
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,670
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,602
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,595
47 Systems integrator 17,156
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,101
49 Advanced Technology Equipment 16,934
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,898
23/02/2561 07:59 น. , อ่าน 6,397 ครั้ง
Bookmark and Share
ปวช. เงินเดือน 2 หมื่น!
โดย : Admin


20 ยักษ์ธุรกิจไทย-ต่างชาติ จับมือ 12 สถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพลงขัน ‘สัตหีบโมเดล’ ยกระดับอาชีวะ สร้างงาน 3 จังหวัดอีอีซี ให้ทุนเรียนฟรี มีเบี้ยเลี้ยง การันตีจบแล้วมีงานทำ เงินเดือนขั้นต่ำ 2 หมื่นบาท ตั้งเป้าล็อตแรก 6 พันคน


การสร้างบุคลากรด้านแรงงานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ให้ตรงกับความต้องการของตลาดถือเป็นโครงการสำคัญสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้มีการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับอาชีวะในพื้นที่ โดยสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกรศ. ได้เชิญผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จำนวน 12 สถาบัน มาประชุม เพื่อเตรียมการในการสร้างบุคลากรด้านแรงงานในพื้นที่และให้นักศึกษาที่จบออกไปมีงานทำและมีรายได้ที่สูง


สำหรับโมเดลที่จะนำมาใช้ในการพัฒนายกระดับอาชีวะอีอีซี เรียกว่า ‘สัตหีบโมเดล’ เป็นการร่วมมือกับเอกชนโดยตรง เริ่มต้นตั้งแต่รับนักศึกษา ทำหลักสูตรร่วมกัน ฝึกอบรม โดยบริษัทจะจ่ายเงินให้นักศึกษาและนำนักศึกษาไปฝึกงานในพื้นที่สถานประกอบการ โดยมีการจ่ายค่าแรงให้ตามค่าแรงขั้นต่ำ จากนั้นจะรับเข้าทำงานในสถานประกอบการ เชื่อว่า ถ้ามีความร่วมมือแบบนี้ก็จะได้ทำงานเป็นปึกแผ่นเดียวกัน ไม่ต้องแข่งกัน ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการศึกษาของประเทศ ซึ่งตอนนี้มีเอกชนเข้ามาสนใจร่วมโครงการจำนวนมาก เพราะเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนการลงทุนในอีอีซี หนึ่งในนั้น คือ การฝึกอบรมสร้างคนให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่
 

การดำเนินโครงการ ‘สัตหีบโมเดล’ ในปีแรกจะเป็นแผนนำร่องในสถาบันอาชีวะ 12 แห่ง ที่ สกรศ. สอบถามวิทยาลัยอาชีวะว่า ต้องการพัฒนาคนทางด้านใน จะผลิตบุคลากรได้กี่คน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ คาดว่าจะผลิตนักศึกษาระดับ ปวช. ได้ปีละประมาณ 6,000 คน ส่วนแผนต่อไปเป็นระยะ 3 ปี ที่จะประเมินผลจาก 12 สถาบันนำร่อง ขยายผลไปยังวิทยาลัยอาชีวะอื่น


“แรงจูงใจที่ทำให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนการผลิตกำลังคนอีอีซี คือ ระหว่างที่นักศึกษากำลังเรียน เอกชนจะมีค่าเบี้ยเลี้ยงให้เดือนละประมาณ 4,000-5,000 บาท ระหว่างการฝึกงานจะจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้เหมือนกับแรงงานทั่วไป เมื่อเรียนจบแล้วการันตีว่า มีงานทำ 100% โดยคาดว่า รายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท ซึ่งกระบวนการเรียนแบบนี้ทำให้เขาดูแลตัวเองได้ตั้งแต่ต้น” นายคณิศ กล่าว

 

20 ยักษ์ธุรกิจลงขัน
ด้าน นายวัชรินทร์ ศิริพานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตกำลังคน สกรศ. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 20 บริษัท แสดงความจำนงสนใจให้การสนับสนุนการพัฒนากำลังคนในอีอีซีตามรูปแบบสัตหีบโมเดล ประกอบด้วย บริษัท สยามมิชลิน จำกัด, บริษัท เดนโซ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท คอนติเนนตัลบรรจุภัณฑ์ (ไทยแลนด์), บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟค เจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ท้อปเทร็นด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด, บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ที บี เคเค (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ยูนิคซี โปรดักส์ จำกัด และโรงแรมแอมบาสเดอร์จอมเทียน


นอกจากนี้ ยังมี KREMS UNIVERSITY ประเทศออสเตรีย, FRONIUS ประเทศออสเตรีย, TECHNICAL COLLAGE ประเทศอินโดนีเซีย, บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน), บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน), บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท วัชรมารีน จำกัด, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ Airport Rail Link, บริษัท เออแรนท์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด และบริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)


“ตอนนี้มีมากกว่า 20 บริษัท ที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาคนในอีอีซี ล่าสุด มีบริษัทรถจักรยานยนต์ระดับโลก อย่าง ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ จากประเทศอังกฤษ, บริษัท ดูคาติ มอเตอร์ โฮลดิ้ง จากประเทศอิตาลี และบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ฯ ก็สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งบริษัทที่ให้การสนับสนุนไม่ได้กำหนดว่าจะลงขันเท่าไร แต่เขาจะให้สวัสดิการกับนักเรียนนักศึกษาที่เรียนและอบรมในโครงการ เช่น จ่ายเป็นทุนการศึกษา เบี้ยเลี้ยง ค่ารถ ค่าที่พัก ค่าเสื้อผ้าฯ” นายวัชรินทร์ กล่าว


นายวัชรินทร์ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องสร้างนักศึกษาอาชีวะแล้ว สกรศ. ยังมีแนวทางขยายผลสร้างคนที่ตกงาน หรือ ยังไม่มีงานทำ ให้มีงานทำ นำมาอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานให้ตอบสนองตำแหน่งงานในพื้นที่อีอีซี ที่ต้องการแรงงานจำนวนมากทางด้านวิชาชีพเฉพาะทางประมาณ 1 แสนอัตรา ขณะนี้มีการเริ่มดำเนินการผลิตได้ประมาณ 1,000 คน ในสาขาที่ต้องการก่อน ปีต่อไปจะขยายสาขาและจำนวน นักศึกษาก็จะมีมากขึ้น



เอกชนแนะเพิ่ม ปวส.
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้า และอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า หลักสูตรอาชีวศึกษาปัจจุบันยังไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้างที่ลงทุนในอีอีซี โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรม New S-Curve ที่ต้องการทักษะเฉพาะด้าน และหลักสูตรที่พัฒนาแรงงานขึ้นมา ก็ต้องปรับให้ตรงกับความต้องการของนายจ้าง เพราะที่ผ่านมา เวลาไปชักจูงการลงทุนต่างประเทศ จะเจอคำถามเรื่องแรงงานอาชีวศึกษาไม่เพียงพอ


การพัฒนาแรงงานอาชีวศึกษาป้อนอีอีซีในระดับ ปวช. อาจจะไม่เพียงพอ เพราะเป็นความรู้เบื้องต้นและหลายอุตสาหกรรมต้องการใช้แรงงานที่มีทักษะมากขึ้น อาจจะต้องขยายจำนวนแรงงานที่จะพัฒนาในระดับ ปวส. มากขึ้น ซึ่งแรงงานเฉพาะสาขาที่ใช้ทักษะสูง อาจใช้ระบบนี้ให้เรียนถึงปริญญาตรี รวมทั้งควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ของอาจารย์ในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้วย ถึงแม้ว่านักศึกษากลุ่มนี้จะเข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการ แต่อาจารย์ยังคงมีบทบาทหลักในการเรียนการสอน


 

Cr:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22-24 ก.พ. 2561 หน้า 01-02

========================================================

 

 

23 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD