"ชัดเจนว่า กฟผ. ทำกำไร ทำรายได้ให้รัฐ ทุกอย่างกลับเข้าสู่งบประมาณของประเทศ" คลิปสัมภาษณ์ นาย สุนชัย คำนูณเศรษฐ์ อดีตผู้ว่ากฟผ. และคณะกรรมการปฏิรูปพลังงาน แสดงความคิดเห็นในงานเสวนาเรื่อง 'ฝ่าวิกฤติปฏิรูปพลังงาน กฟผ. จะก้าวข้ามอย่างไร' เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา
"ชัดเจนว่า กฟผ. ทำกำไร ทำรายได้ให้รัฐ ทุกอย่างกลับเข้าสู่งบประมาณของประเทศ"
คลิปสัมภาษณ์ นาย สุนชัย คำนูณเศรษฐ์ อดีตผู้ว่ากฟผ. และคณะกรรมการปฏิรูปพลังงาน
แสดงความคิดเห็นในงานเสวนาเรื่อง 'ฝ่าวิกฤติปฏิรูปพลังงาน กฟผ. จะก้าวข้ามอย่างไร'
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา
**** คำสัมภาษณ์ของอดีตผู้ว่า กฟผ. นี้ได้มีการแชร์ต่อๆกันไปในโซเชียลมีเดีย ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและเห็นต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ซึ่งหากท่านใดต้องการข้อมูลที่อัพเดทก็สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ดังต่อไปนี้
ลิงค์เฟสบุ๊ค => https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1278066255626747&id=346363802130335&_rdr
รัฐบาลที่ผ่านๆมาจะอ้างตลอดว่าเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก “ประชาชนจะได้ใช้ของถูก “ แล้วยังไงละครับที่ผ่านมา ทีโอที การสื่อสาร ปตท. รัฐบาลทำอะไรเอกชนได้สักครั้งมั๊ย เป็นเป็นเพียงวาทกรรมลมๆแล้งๆแปรรูปเสร็จ ก็ปล่อยให้เอกชนสูบเอาเงินประชาชนเข้ากระเป๋าเจ้าสัวไม่กี่ตระกูล เจ็บแล้วต้องจำครับ
กฟผ สร้างโรงไฟฟ้า สายส่งแรงสูง โดยคำนึงจากความต้องการใช้ไฟ
แต่เอกชนสร้างโรงไฟฟ้า โดยคำนึงถึงผลกำไรขาดทุนเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าทำแล้วขาดทุน ใครเขาจะทำ แต่ กฟผ ทำค่ะ
ยกตัวอย่าง รู้ว่าสร้างโรงไฟฟ้าภาคใต้ต้องขาดทุน แต่ต้องสร้างเพราะความต้องการใช้ไฟมีมากกว่ากำลังการผลิต แต่ กฟผ ก็ดึงดันจะสร้างเพื่อ ปชช.
ถามในมุมกลับค่ะ โรงไฟฟ้าเอกชนเขาไม่สร้างหรอกค่ะ สร้างไปก็ขาดทุน ต้องลงทุนมหาศาล ต้องลากสายส่งยาว พอระยะการจ่ายไฟจากโรงไฟฟ้า ไปถึงผู้ใช้ ยิ่งไกลมากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น เพราะฉะนั้นเอกชนเขาไม่ทำหรอกค่ะ
ปัญหาเริ่มต้นมันมาจากการไฟฟ้า เก็บค่าไฟสูงเกิน กำไรเกินควร ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของ ปชช. เป็นหลัก แต่มีหน่วยงานนี้หน่วยงานเดียว ค้ากำไรเกินควร จริงอยู่ จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลกลับคืนสู่ ปชช. ลองมองย้อนกลับ หากการไฟฟ้าไม่เอาเปรียบ ขายไฟกำไรเกินควร มีเอกชนที่ไหนอยากจะเข้ามาแข่งขันครับ ? การไฟฟ้าขึ้นค่าไฟ ขึ้นเอาๆ ทำให้เอกชนอยากเข้ามาลงทุนเพราะเห็นกำไรมันเยอะ ที่ผ่านมาการไฟฟ้าบอกว่าได้กำไรน้อย จำเป็นต้องขึ้นค่าไฟ ไม่มีใครปฏิเสธ ปชช.ได้แค่บ่นๆๆๆ เพราะการไฟฟ้าผูกขาดซะเอง พื้นฐานค่าไฟ มาจากการไฟฟ้าเป็นคนเริ่มต้น ถ้าไม่เอากำไรมากเกิน ไม่มีเอกชนที่ไหนสนใจหรอกครับ ขอย้ำครับ ไม่ควรค้ากำไรในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน มันเหมือนมาเฟียผูกขาด เอาเปรียบเกินไป
อีกเรื่องนึงนะคะ ปชช. ยังเข้าใจว่า กฟผ. กฟภ กฟน คือหน่วยงานเดียวกัน ดูแลเรื่องเดียวกัน
ไม่ใช่นะคะ แค่กระทรวงสังกัดก็คนละกระทรวงละค่ะ
กฟผ กระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า ส่งจ่ายให้ กฟภ กฟน ให้ไปขาย ปชช.
กฟภ กฟน กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่จ่ายไฟให้ประชาชน เก็บค่าหม้อแปลง ดูแลบำรุงซ่อมเสาไฟฟ้าตามบ้าน เก็บตังค่าไฟ
กฟผ ไม่เคยบอกให้ช่วยกันใช้ไฟ มีแต่บอกให้ใช้น้อยๆ เพราะเราไม่ได้เป็นองค์กรแสวงหากำไรนะคะ
แต่นายทุนธุรกิจต่างๆ เคยบอกให้พวกคุณใช้สินค้าเค้าน้อยๆมั้ยคะ ไม่มีหรอกค่ะ เพราะถ้าพวกคุณใช้น้อย เม็ดเงินที่เค้าจะได้จากพวกคุณน้อย
เราไม่เข้าใจเหมือนกันทำไม ถึงคิดว่า กฟผ ผูกขาด ในเมื่อเอกชนผลิตไฟฟ้ามากถึง80% แต่ กฟผ สัดส่วนการผลิตต้องลดลงเหลือแค่20% ซื้อไฟจากเอกชนก็แพง แต่ต้องมาขายให้ ปชช ถูกๆ
โบนัสก็ไม่ได้มาจากกำไรผลประกอบการ กำไรทั้งหมดเราส่งให้รัฐหมดเลย
โบนัสรัฐวิสาหกิจที่มากที่สุด ที่ผูกขาดสมบูรณ์แบบควรจะต้องมอง AOT มากกว่านะคะ
ก็ไม่แปลกอะไร กฟผ. มาจากทุนรัฐก็ไม่แปลกอะไรที่ส่งเข้ารัฐมากกว่า เอกชนเขามาจากทุนบริษัท ซึ่งก็ต้องเสียภาษีเข้าภาครัฐเหมือนกัน ท่า กฟผ.มาเป็นเอกชน โดยที่ใช้งบของ กฟผ. เอง แล้วกล้าจะส่งเงินภาษีปีละ 41 เบอร์เซนไหม คำพูดเหมือนจะดูดีนะแต่ลึกๆมันไม่ใช่
ครั้งที่แล้วเกือบถูกแปรรูป คน กฟผ ได้หุ้นกัน มีคนออกราคาตั้งโต๊ะซื้อ กำไรกันคนละเป็นแสนๆ คน กฟผ ยังไม่เอา เพราะไม่อยากให้ชาติเสียประโยชน์ ทุกวันนี้ยังมีคนมาคอยว่าองค์กร ทั้งว่าขายไฟแพง ทั้งๆที่ กฟผ ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคา ทั้งว่าก่อมลพิษ ทั้งๆที่เตรียมใช้ทั้งวัตถุดิบ และเทคโนโลยี่ที่ดีและเหมาะสมที่สุด ก็แล้วแต่เวรกรรมของประเทศแล้วกัน ถึงวันนั้น จะมาทวงคืนแบบ ปตท ก็ทำไม่ได้แล้วเหมือนกัน แล้วอย่ามาเสียใจทีหลัง ขอให้โชคดี ขอให้พระสยามเทวาธิราชคุ้มครองครับ
สุดท้ายก็จะแบ่งเค็กกินกันเหมือนคราวที่ปตทสุดท้ายกลุ่มของตนเองเข้าไปถือหุ้นและไม่สามารถควบคุมราคาขายไห้กับผู้บริโภคได้เช่นเดียวกับปัจจุบันที่กฟภซื้อไฟจากเอกชนอ้างค่าต้นทุนสูง
ก็รู้ๆกันอยู่แปรรูป น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพ น้ำมัน ให้ทุกคนที่มีตั๋งซื้อได้ตามกำลังเงิน ในที่สุดคนมีเงินก็แย่งกัน ซื้อจากประชาชนถ้ารัฐ.ไม่ออกกฎให้ถือหุ้นได้ตามสัตส่วน ห้ามใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทนมีโทษปรับสูงๆ ดูปตท. เป็นตัวอย่างยังมีความพยายามจะแปรรูปกันอีกเห็นประชาชนเป็น..หรือไงวะ
มีหลายพื้นที่ ที่ทาง กฟผ กฟภ กฟน ขยายเขต จ่ายไฟเข้าไปเพื่อให้ ปชช ได้ใช้ ทั้งที่ไม่คุ้มกับการลงทุน พูดง่ายๆคือขาดทุน หากเป็นภาคเอกชน ถ้า สร้างระบบจำหน่ายเข้าไปแล้วขาดทุนจะทำหรือไม่ ? นี้เป็นการปูทางให้กลุ่มนายทุนเพียงไม่กี่กลุ่ม ที่มองเห็นถึงกำไรมหาศาลเข้ากระเป๋าตัวเอง ยังมองไม่เห็นประโยชน์ที่ ปชช จะได้รับจากการลดบทบาท กฟผ กำไร40 % ที่ กฟผ ส่งเข้ารัฐ เพื่อเอาเงินไปใช้โครงการที่ล้มเหลวมากี่โครงการแล้ว นำเงินส่วนนั้นมาลดค่าไฟยังดีกว่าเอาไปละลายทิ้ง
========================================================