Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,767
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,324
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,735
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,721
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
25/01/2560 08:06 น. , อ่าน 3,864 ครั้ง
Bookmark and Share
จับสายไฟฟ้าลงดิน
โดย : Admin

 


A Thai telephone engineer installing a cable on a telegraph pole in a street in Bangkok. (Photo by: Loop Images/UIG via Getty Images)
 

“ไม่ว่าเราจะทุกข์เศร้าน้ำตานองเพียงใด แต่ประเทศไทยอันเป็นที่รักของพวกเราและของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในพระบรมโกศต้องดำรงต่อไป อย่าให้การเสด็จสวรรคตครั้งนี้ ทำให้พระราชปณิธาน ที่จะเห็นราชอาณาจักรของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรมีความผาสุกสวัสดี  มีเมตตาและไมตรีต่อกัน ต้องหยุดชะงักลง” ถ้อยแถลงของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.ในแถลงการณ์ที่มีต่อประชาชนคนไทยเมื่อค่ำวันที่ 13 ตุลาคม 2559 

“เนตรทิพย์” เห็นด้วยอย่างยิ่งกับถ้อยแถลงของนายกฯที่เตือนสติพี่น้องประชาชนคนไทยเราข้างต้นครับ แม้เราจะโศกเศร้าต่อการสวรรคตของ“ในหลวง”ผู้เป็นที่รักและเทิดทูลยิ่งของปวงชนชาวไทยเราอย่างไร แต่ประเทศจะต้องก้าวเดินต่อไป และการสืบสานปณิธานพ่อหลวงคือ การแสดงความจงรักภักดีที่ดีที่สุดในยามนี้ครับ!
 

เช่นเดียวกับเรื่องของนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเอาสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหลายลงใต้ดินภายใน 5 ปี เพื่อปรับทัศนียภาพโดยรวมของท้องถนนให้สวยงาม หลังจากที่ก่อนหน้า นายบิลล์เกตส์ “เจ้าพ่อไมโครซอฟต์”ได้โพสต์ภาพลงบนเฟซบุ๊คสัพยอกเมืองไทยอย่างแสบสันว่า มีระบบการจัดการสายไฟฟ้าที่ยังไม่ดีพอนั้น
 

ที่ต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวถึง เพราะไม่แน่ใจว่าจะเป็นหนทางแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและสอดคล้องกับความพอเพียงที่ทุกฝ่ายเพรียกหาหรือไม่?

นัยว่าในส่วนของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินใน 39 เส้นทางระยะทางรวม 127.3 กิโลเมตรวงเงินลงทุน 48,717 ล้านบาทไปแล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ นนทบุรี พระราม 9 กาญจนาภิเษก-อโศก รัชดาภิเษก-พระราม 9 และดำเนินการในพื้นที่นำร่องไปเสร็จสิ้นแล้วหลายสาย
 

ขณะที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ได้แถลงข่าวล่าสุดเตรียมจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานท่อร้อยสาย หรือ Infrastructure Fund เพื่อระดมทุน 10,000 ล้านบาทในการก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อนำลงสู่ใต้ดินเช่นกัน โดยมีแผนจะลงทุนในระยะแรก 5 ปี(ปี 2560-2564)ราว 5,000 ล้านบาทหรือปีละ 1,000 ล้านบาท
 

อย่างไรก็ตามหากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปพิจารณาบรรดาสายไฟฟ้า หรือสายสื่อสารโทรคมนาคมที่ห้อยระโยงระยางอยู่บนเสาไฟฟ้าในปัจจุบันจะพบว่า แท้ที่จริงแล้วสายไฟฟ้าไม่ได้เป็นตัวสร้างปัญหาแต่อย่างใด ถนนหนทางในกรุงเทพฯ ก็มีสายไฟฟ้าแค่ 3-4 เส้นเท่านั้น
 

แต่ไอ้สายที่มันระโยงระยางสร้างความอุดจาดตาอยู่บนเสาไฟนั้น ส่วนใหญ่คือสายโทรศัพท์ เคเบิ้ล สายสัญญาณสื่อสารของบริษัทโทรคมนาคมต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่ขออนุญาตโดยถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70-80 จะเป็นประการหลังเสียมากกว่า 

ดังนั้น การที่รัฐจะนำเอาสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ตลอดจนสายสื่อสัญญาณอะไรต่อมิอะไรลงดินนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ดีเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ แต่ต้องคำนึงถึงสภาพข้อเท็จจริงด้วยว่าคุ้มหรือไม่กับเม็ดเงินที่ต้องผลาญกันลงไป และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดหรือไม่ เพราะการจะเอาสายไฟฟ้าลงสู่ใต้ดินนั้นมันมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงลิบลิ่ว เห็นได้จากการลงทุนของกฟน.ที่กำลังดำเนินการในเฟสแรก 39 เส้นทางระยะทางแค่ 127 กิโลเมตรแต่ต้องใช้วงเงินลงทุนสูงกว่า 48,717 ล้านบาท! นี่แค่เฟสแรกยังสูงลิ่วขนาดนี้ ถ้าทำทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑลจะทะลักไปกี่แสนล้าน ผมหล่ะไม่อยากอิมเมจิ้นเลยจริงๆ
 

เท่าที่คุยกับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าหรือกฟน.เองใช่ว่าจะอยากทำเพราะไม่มีประโยชน์ และเต็มไปด้วยความยุ่งยาก  เพราะต้องก่อสร้างแท่นคอนกรีตพิเศษที่มีฉนวนกันไฟฟ้าอย่างดีและต้องขุดฝังท่อลึกลงไปในดินไม่น้อยกว่า 0.8- 1 เมตร ทั้งยังต้องแยกสายโทรศัพท์หรือสายสื่อสารอื่น ๆ ออกไปไม่สามารถจะแพ็ครวมอยู่ในท่อไฟฟ้าได้ จะตัดต่อแต่ละทีหากอยู่ใต้ดินแล้วเป็นเรื่องใหญ่เลยครับ
 

ส่วนสายสื่อสารโทรคมนาคม เคเบิลหรือสื่อสัญญาณต่างๆนั้นต่างกัน สามารถที่จะแพ็ครวมกันใส่ท่อพีวีซี หรือท่อร้อยสายธรรมดาวางลอดท่อระบายน้ำของกทม.ไปได้เลยไม่มีปัญหา จะขุดริมถนนวางท่อแยกต่างหาก หรือลอดท่อระบายน้ำของกทม.ก็ทำไปได้เลย จะตัดแยก รื้อย้าย ตัดท่อยังไงก็ไม่มีปัญหาใช้งบประมาณไม่สูงมากด้วย ซึ่งหากรัฐแยกเอาสายสื่อสารโทรคมนาคม เคเบิ้ล อะไรต่อมิอะไรเหล่านี้ลงดินไป ถนนหนทางต่างๆก็โล่งปราศจากความอุดจาดตาไปได้แล้ว 

ผิดกับสายไฟฟ้าที่หากเกิดความผิดพลาดทำไม่ดีก็มีหวังได้งานเข้า ยิ่งกทม.เรายามนี้ทุกฝ่ายก็รู้แก่ใจกันดีว่าต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายกันเป็นว่าเล่นเสียด้วยซิ เกิดรั่วกันขึ้นมาทีอาจมี“ตายหมู่” จริงไม่จริง!!! 

บทความโดย : เนตรทิพย์
ที่มา: https://logisticstime.net

 

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD