Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,767
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,324
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,735
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,721
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
29/07/2559 20:26 น. , อ่าน 3,769 ครั้ง
Bookmark and Share
เซลล์แสงอาทิตย์ หมดอายุจะเอาไปไหน?
โดย : Admin


ภาพประกอบข่าว - เจ้าหน้าที่สืบสวนอยู่ท่ามกลางกองแผงเซลล์อาทิตย์ที่ถูกไฟไหม้ในสวนน้ำที่ กรุงไทเป ไต้หวัน เมื่อวันที่ 28 ก.ค.59 หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ในวันก่อนหน้านั้น (SAM YEH / AFP)

สกว.- แม้จะได้ชื่อว่าเป็นพลังงานสะอาด แต่เมื่อ “เซลล์แสงอาทิตย์” หมดอายุแล้วก็จะกลายเป็นขยะที่ต้องกำจัดอย่างเหมาะสม ซึ่ง สกว.ได้ระดมความเห็นทั้งจากนักวิชาการ ภาครัฐและผู้ประกอบการเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม
       
       เวทีการระดมความคิดเพื่อหาทางจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความ คุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 28 ก.ค.59 ซึ่งมีการแสดงความเห็นในหัวข้อ “การจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในส่วนของการเริ่มใช้งานจนกลายเป็นของเสีย รวมถึงการรวบรวม การรีไซเคิลและการกำจัด” ณ โรงแรมเดอะสุโกศล
       
       รศ. ดร.ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนา ผู้ประสานงานโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สกว. เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเวทีดังกล่าว เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ประกอบการในการบริหารจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าเพื่อ เป็นข้อมูลในการวางแผนของประเทศ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เคยแสดงความห่วงใยเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์จากแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ในอนาคต รวมถึงเสนอแนะทางเลือกที่เหมาะสม โดยพิจารณาประเด็นด้านการบริหารจัดการ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

 

 


    ทั้งนี้ ประเทศไทยส่งเสริมการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานทด แทนรวมถึง 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2579 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างเทคโนโลยีและการสร้างงานให้คนในประเทศ แต่ในอนาคตคาดว่าจะเกิดของเสียที่มีปริมาณสูงถึง 6 แสนตันภายหลังหมดอายุการใช้งาน ซึ่งองค์ประกอบของแผงจำพวกโลหะหนักจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมสร้างคนและองค์ความรู้เพื่อการจัดการแผงเซลล์แสง อาทิตย์ที่หมดอายุอย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์แก่ประเทศ
       
       ด้าน ผศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ หัวหน้าโครงการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดการแผงหมดอายุ บทบาทของรัฐ ผู้ผลิตแผง และเจ้าของแผง โดยเปรียบเทียบกับแนวทางของประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นเป็นสำคัญ เนื่องจากมีปริมาณ กฎหมาย และความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมสูงมาก
       
       "สิ่งที่น่าสนใจคือในปัจจุบันทั่วโลกมีอัตราส่วนของของเสียแผงต่อแผง ที่ติดตั้ง คิดเป็น 0.1% ในส่วนของประเทศไทยมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จนถึงขณะนี้แล้ว 15 ล้านแผง หรือประมาณ 2-4 แสนตัน จึงต้องพิจารณาว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรจากขยะแผง และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยทั้งนี้การรีไซเคิลจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม และจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีการแยกขยะประเภทนี้โดยเฉพาะ ทำให้เกิดการลงทุนในระดับมหภาคลงมาจนถึงการพัฒนาฝีมือแรงงานระดับล่าง"
       
       สำหรับลำดับขั้นในการบริหารจัดการแผงหมดอายุ ผศ.ดร.พิชญชี้ว่าเริ่มตั้งแต่การผลิต การขนส่งและติดตั้ง การใช้งาน การเก็บรวบรวม การรีไซเคิล และการกำจัด จึงมีความเกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่างๆ จำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อหารือร่วมกัน อาทิ ปริมาณของเสียในปัจจุบันและการจัดการของเจ้าของแผง ผู้รวบรวมควรจะเป็นใครระหว่างผู้ผลิต ผู้ขาย หรือร้านขายของเก่า ผู้รีไซเคิลสามารถใช้หรือสกัดได้เองในประเทศ หรือส่งออกได้หรือไม่ และภาครัฐจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการรีไซเคิลสูงสุด
       
       การพิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมนั้น ผศ.ดร.พิชญมีคำถามว่าจะตั้งอยู่ใกล้โรงงานคัดแยก ทั้งส่วนที่แยกง่ายเพื่อสร้างมูลค่าต่อไป เช่น ซิลิกอน พลาสติก กับส่วนที่แยกยาก เป็นโลหะมีค่า เช่น เงิน ดีบุก เจอมาเนียม และจะตั้งอยู่ในจุดเดียวกับการเก็บรวบรวมหรือไม่ เมื่อพิจารณาโอกาสทางธุรกิจคาดว่าในปี 2030 จะมีใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกถึง 1,600 กิกะวัตต์ และเมื่อแผงหมดสภาพจะมีวัสดุที่สร้างมูลค่าได้ถึง 450 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงมีข้อพิจารณาว่าภาครัฐควรสนับสนุนเรื่องการสร้างธุรกิจหรือไม่ และจะมีอุตสาหกรรมปลายน้ำรองรับหรือไม่

       
       ขณะที่ รศ.ดร.สมชัย รัตนธรรมพันธ์ จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และไดออกซินจากการเผา การสูญเสียพลังงานและงบประมาณ การแพร่กระจายของโลหะหนักจากการฝังดิน ตะกั่วและแคดเมียมในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ จนอาจเกิดวิกฤตสูญเสียแหล่งน้ำและอาหารในอนาคต

       
       "กรณีศึกษาจากประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นพบว่าให้ความสำคัญกับการกำจัด ของเสียเหล่านี้และออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างชัดเจนเพื่อลดการปนเปื้อนในสิ่ง แวดล้อม ตลอดจนเพิ่มคุณภาพให้วัสดุเหลือทิ้งและป้อนกลับสู่อุตสาหกรรมอีกครั้ง ทำให้วัตถุดิบมีราคาที่เสถียรภาพ” รศ.ดร.สมชัยกล่าว

       
       ด้าน ดร.สันต์ สัมปัตตะวนิช จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าขยะแผงเซลล์แสงอาทิตย์เกิดได้ตั้งแต่การติดตั้ง ระหว่างการใช้งานทั้งในครัวเรือน โรงไฟฟ้า และแผงที่เสื่อมสภาพ เมื่อแผงหมดอายุการใช้งาน ขยะจากอุตสาหกรรมและครัวเรือนจะมีการนำไปที่จุดรวบรวมเฉพาะเพื่อคัดแยก รีไซเคิลและทำลายต่อไป ซึ่งการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบง่าย ๆ ราคาไม่สูงมากนัก โดยคัดแยกขยะแล้วนำไปย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อนเข้าตามกระบวนการตาม กฎหมาย แต่การจัดการที่มีคุณภาพจะมีกระบวนการที่ทำให้องค์ประกอบของวัสดุแยกออกจาก กันโดยที่เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเพื่อนำไปรีไซเคิล ซึ่งต้องใช้เงินทุนและเทคโนโลยีมากขึ้น

       
       “ปัญหาคือใครควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการ จัดการแผงที่หมดสภาพ วิธีการใดที่เหมาะสมกับกระบวนการดูแลในประเทศไทย กฎหมายและการบังคับใช้ รวมถึงกระบวนการจัดการแผงที่หมดสภาพจากครัวเรือน จุดแยกหรือเก็บรวบรวมควรอยู่ใกล้โรงงานหรือไม่ เหล่านี้ประเด็นที่จะต้องถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไป”

 ที่มา : โดย MGR Online  (29 กรกฎาคม 255)

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD