Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,242
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,524
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,828
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,797
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,246
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,329
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,295
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,665
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,687
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,128
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,069
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,284
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,711
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,481
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,494
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,360
17 Industrial Provision co., ltd 40,435
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,095
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,023
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,356
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,254
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,611
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,033
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,823
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,255
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,274
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,635
28 AVERA CO., LTD. 23,388
29 เลิศบุศย์ 22,349
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,111
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,013
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,662
33 แมชชีนเทค 20,600
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,848
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,829
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,624
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,264
38 SAMWHA THAILAND 19,095
39 วอยก้า จำกัด 18,791
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,322
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,119
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,059
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,005
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,002
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,904
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,897
47 Systems integrator 17,448
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,407
49 Advanced Technology Equipment 17,223
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,214
07/07/2558 08:47 น. , อ่าน 4,994 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวะพลังงานสุดฮอต
โดย : Admin

วิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงความต้องการบุคลากร ล้วนมาจากการเจริญเติบโตของประเทศส่วนหนึ่ง นอกจากนั้น คงเป็นเรื่องของการแข่งขันในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่องค์กรระดับโลกมีการแข่งขันกันโดยรวม
 

ที่ไม่เฉพาะในส่วนของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้นที่ต้องการ ส่งเสริมอาชีพเสรีใน8 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม, การสำรวจ, สถาปัตยกรรม, แพทย์, ทันตแพทย์, พยาบาล, บัญชี และการบริการ/การท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียน
 

โดยเฉพาะในกลุ่มสายงานวิศวกรรม

"สุธิดากาญจนกันติกุล"ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย บอกว่าจากผลสำรวจภาพรวมของตลาดแรงงาน กลุ่มสายงานวิศวกร ในปี 2015 ในไตรมาสแรก มีความร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของกลุ่มสายงานด้านนี้จะเติบโต และเป็นที่แย่งชิงมากในไตรมาสหลัง ๆ ซึ่งช่วงที่กลุ่มสายงานวิศวกรบูมที่สุดในอดีตที่ผ่านมา คือ ช่วงนโยบายรถคันแรกจากรัฐบาล หลังจากนั้นอัตราความต้องการลดลงตามลำดับ แต่ถึงกระนั้น กลุ่มสายงานวิศวกรยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
 

"โดยปี 2015 กลุ่มสายงานวิศวกรรม ติดอันดับเป็นอาชีพสุดฮอต ที่มีการลงประกาศรับสมัครงานต่อเดือนประมาณ 26,031 อัตรา แต่รับจริงเพียง 7,880 อัตรา ทำให้เกิดการขาดแคลนวิศวกรสูงถึง 18,151 อัตรา แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงสูงกว่าพยาบาลอาชีพ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ $38.96 หรือประมาณ 1,282 บาทต่อชั่วโมง และมีอัตราการเติบโตในปี 2010-2014 ที่สูงกว่าคือ 9 เปอร์เซ็นต์ รวมอัตราการจ้างงานของวิศวกรทั้งหมดในปี 2014 คือ 235,817 คน"
 

ปัจจุบันความต้องการแรงงานสายงานวิศวกร โดยเฉพาะในช่วงก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี 2558 บุคลากรที่ถูกดึงไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนักศึกษาจบปริญญาตรีที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ 3-4 ปี โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่กำลังเร่งพัฒนา และขยายความเจริญภายในประเทศ
 

กลุ่มสายงานวิศวกรของไทย ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งในอัตราความต้องการ เนื่องจากคุณภาพของวิศวกรฝีมือดี ใส่ใจรายละเอียด ทั้งค่าแรงยังถูกกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสายงานวิศวกรของสิงคโปร์ ที่มีเนื้องานเทียบเท่ากัน
 

นอกจากนี้ กลุ่มสายงานวิศวกร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น
 

คาดว่า ในไตรมาส 3-4 จะมีความคึกคักในตลาดกลุ่มสายงานวิศวกรมากขึ้นตามลำดับ กระนั้น กลุ่มสายงานวิศวกรที่มีความต้องการสูงในประเทศไทย และต้องดึงตัวบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามา ได้แก่ บุคลากรด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
 

"สุธิดา" กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะเชิงลึก พร้อมกับทักษะรอบด้าน อีกทั้งยังมองหาผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน เพราะงานในกลุ่มสายงานวิศวกร บางทักษะต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน หรืออาจเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ น้ำมัน และก๊าซ, งานเหมืองแร่ และงาน Construction เป็นต้น
 

"ประเทศไทยจึงดึงตัวบุคลากรที่มีทักษะโดยตรงจากประเทศอื่นเข้ามา อาทิ ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศมาเลเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ จึงเป็นที่มาของการขาดแคลนบุคลากร ทั้ง ๆ ที่มีแรงงานเข้ามาในตลาดเยอะ"

"องค์กรธุรกิจใหญ่ ๆ ในประเทศ มีการจองตัวนักศึกษาในมหา′ลัย Top 5 และเน้นที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ในสาขาที่มีความต้องการ ดังนั้น การเลือกเข้าเรียนของนักศึกษา ในสาขาต่าง ๆ ของกลุ่มสายงานวิศวกร จึงมีความสำคัญที่ควรศึกษาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน เพราะส่งผลในการหางานทำเมื่อนักศึกษาเรียนจบ โดยสังเกตได้จากนโยบายของรัฐบาล, เศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนการหาข้อมูลจากบริษัทจัดหางานต่าง ๆ ซึ่งสาขาที่มีความต้องการสูงตลอดมา คือ สาขา Mechanical, สาขา Logistics ที่มาแรงใน 3-5 ปีนี้ และสาขา Electrical รวมถึง Network Engineer ที่หลัง ๆ มีการพัฒนาเป็นยุคดิจิทัล จึงทำให้สาขานี้ค่อนข้างมาแรง"
 

"ด้านของนักเรียนสายอาชีพอย่าง ปวช.-ปวส. ยังมีความต้องการในตลาดสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนอาชีวะหันมาเรียนปริญญาตรีทางสายวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้นทำ ให้มีทั้งความรู้ และประสบการณ์ตรงสามารถทำงาน Engineer ได้เลย แต่ถ้าเรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์จะมีความเสียเปรียบในด้าน ประสบการณ์ เนื่องจากไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนเหมือนสายอาชีพ ในจุดนี้แรงงานสายอาชีพในประเทศไทย จึงมีความต้องการในตลาดสูง และถือว่าขาดแคลนในช่วง 3-5 ปีนี้ เนื่องจากค่านิยมที่เปลี่ยนไป ผู้คนนิยมเรียนปริญญาตรีมากกว่าสายอาชีพ"
 

นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

CR:
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ภาพประกอบจากกลูเกิล
 

========================================================

 

 

2 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD