Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,789
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,163
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,447
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,022
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,998
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,286
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,813
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,764
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,964
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,046
17 Industrial Provision co., ltd 39,842
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,792
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,706
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,969
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,960
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,097
29 เลิศบุศย์ 22,056
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,813
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,707
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,322
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,567
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,537
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,279
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,954
38 SAMWHA THAILAND 18,732
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,750
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,719
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,664
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,591
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,588
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,092
49 Advanced Technology Equipment 16,924
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,891
21/08/2556 18:51 น. , อ่าน 9,425 ครั้ง
Bookmark and Share
ไฮเปอร์ลูป"
โดย : Admin

15 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มติชนรายวัน

 

แรงบันดาลใจเรื่อง ไฮเปอร์ลูปŽ เกิดขึ้นจากการที่ทางการรัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา นำเสนอแนวความคิดเรื่องการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีด เทรน ขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงระหว่าง 2 เมืองใหญ่ระดับมหานครในรัฐนี้อย่างลอสแองเจลิสกับซานฟรานซิสโก

วง เงินงบประมาณที่รัฐแคลิฟอร์เนียประมาณเอาไว้ สำหรับระยะทางไม่ถึง 1,500 กิโลเมตร ในตอนนั้นคือราว 70,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท

อี ลอน มุสก์ นักคิด นักธุรกิจระดับมหาเศรษฐีเชื้อสายแอฟริกาใต้ เจ้าของโครงการธุรกิจไม่เหมือนใครไม่มีใครเหมือนอย่าง สเปซเอ็กซ์Ž (โครงการเพื่อการท่องเที่ยวอวกาศ) และ เทสลาŽ (โครงการรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานขับเคลื่อน) บอกเอาไว้ในตอนที่ได้ยินเรื่องนี้ว่า เขาเชื่อว่าจะสามารถคิดโครงการเพื่อการขนส่งมวลชนที่ มีประสิทธิภาพŽ มากกว่า และ ต้นทุนถูกกว่าŽ ถึง 1 ใน 10 เพื่อใช้ทดแทนโครงการไฮสปีด เทรน ที่ว่านั้นได้

 



         1 ปีให้หลัง รายละเอียดของแนวคิดของโครงการที่ว่านี้ก็เปิดเผยออกมา เพื่อแสดงให้เห็นว่าที่เขาพูดนั้นสามารถเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ มุสก์แถลงเอาไว้ว่า ต้นทุนการก่อสร้างทั้งหมดในโครงการนี้ รวมทั้งสิ้่นแค่ 6,000 ล้านดอลลาร์ ไม่ถึง 1 ใน 10 ของงบประมาณที่รัฐแคลิฟอร์เนียเสนอเอาไว้ด้วยซ้ำไป
 

 


เขาเรียกระบบขนส่งมวลชนที่คิดค้นขึ้นใหม่นี้ว่า ไฮเปอร์ลูปŽ

อี ลอน มุสก์ บอกว่า ไฮเปอร์ลูปŽ ที่เขาคิดค้นขึ้นมานี้เหมาะสำหรับการขนส่งผู้โดยสารในระยะทางระหว่างเมือง สองเมืองที่การจราจรแออัดทั้งคู่ซึ่งอยู่ห่างจากกันไม่เกิน 1,500 กิโลเมตร น้อยกว่าไม่เป็นไร แต่ไม่ควรเกินกว่านั้น เหตุผลก็คือ เกินกว่านั้นเขาไม่แน่ใจว่าการเดินทางด้วยระบบไฮเปอร์ลูป นี้จะ ถูกกว่าŽ และ เร็วกว่าŽ ระบบอื่น


ไฮเปอร์ลูป เป็นระบบการส่ง พ็อดŽ หรือ ตู้โดยสารŽ ความเร็วสูง ขนาดความกว้างราว 2 เมตร ไปตามเส้นทางที่ทำเป็น ท่อŽ บรรจุอากาศแรงดันต่ำ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง พ็อดŽ ที่ว่านี้ไม่ได้แล่นไปบนราง หรือติดตั้งล้อเอาไว้ แต่อาศัยอากาศแรงดันต่ำที่ว่านั้น พยุงŽ ให้อยู่ตรงกลางท่อ ที่นอกจากจะลดแรงเสียดทานลงมากแล้วยังให้ความรู้สึกนุ่มสบายกว่าอีกต่างหาก

ใน ความคิดของ อีลอน มุสก์ การเดินทางด้วยพ็อดไปตามท่อที่ว่านี้จะให้ความรู้สึกคล้ายกับนั่งเครื่องบิน มากกว่าอย่างอื่น เพราะตอนเริ่มต้นจะมีแรงฉุดเร่งสูง แต่พอความเร็วถึงระดับหนึ่งก็จะให้ความรู้สึกเหมือนลอยอยู่เฉยๆ ไม่ได้เคลื่อนที่แต่อย่างใด


ลีเนียร์ อีเลคทริค มอเตอร์Ž คือมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้กับพ็อด เหมือนเครื่องยิงอนุภาค แต่พอถึงระดับ ใกล้ความเร็วเสียงŽ ก็ปล่อยให้ธรรมชาติทางกลศาสตร์ทำหน้าที่ของมัน ที่สำคัญก็คือ ที่มาของพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้กับมอเตอร์ดังกล่าวนี้ มาจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งไว้บนหลังคาของท่อคู่ขนานสองท่อสำหรับ การเดินทาง ไปและกลับ



ตามแนวคิดนี้ ต้นทุนหลักของระบบจะเป็นต้นทุนในการสร้าง ท่อŽ สำหรับเป็นเส้นทาง ซึ่งจะทอดยาวคู่ขนานไปกับทางหลวงระหว่างรัฐหมายเลข 5 เพราะตัว พ็อดŽ ต้องเบามากๆ เสาสำหรับใช้รองรับท่อให้อยู่เหนือพื้นดินจึงใช้เป็น ไพลอนŽ เดี่ยวได้ ลดค่าก่อสร้างลง เพิ่มค่าความต้านทานแผ่นดินไหวได้มากขึ้น แถมยังลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนลงได้อีกต่างหาก

มุสก์อ้างว่า แนวคิดเรื่องไฮเปอร์ลูป ไม่เพียงต้นทุนถูก เดินทางได้เร็วกว่า สบายกว่า ยังลดอุบัติเหตุลงได้มาก แถมยังประหยัดพลังงานในระยะยาวอีกต่างหาก



เขา ไม่สงวนลิขสิทธิ์แนวคิดนี้ แต่กลับท้าทายให้ใครต่อใครหาทางนำไปใช้จริง บอกด้วยว่า ถ้ามีขึ้นจริงสักที่ ไม่ว่าที่ไหนในโลก เขาจะดีใจมากอีกต่างหาก

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD