Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,789
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,163
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,447
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,998
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,286
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,813
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,764
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,964
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,046
17 Industrial Provision co., ltd 39,842
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,792
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,706
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,969
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,097
29 เลิศบุศย์ 22,056
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,813
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,707
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,322
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,567
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,537
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,279
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,955
38 SAMWHA THAILAND 18,733
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,750
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,719
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,665
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,591
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,588
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,092
49 Advanced Technology Equipment 16,926
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,891
08/08/2556 07:58 น. , อ่าน 9,032 ครั้ง
Bookmark and Share
โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในพม่า
โดย : Admin
 

updated: 09 ก.ค. 2556
คอลัมน์ พร้อมรับ AEC หรือยัง โดย ณกฤช เศวตนันท์

 

 

โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในพม่า

 

การที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทุกประเทศสมาชิกต่างเร่งเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศของตนสามารถแข่งขันกับประเทศสมาชิกอื่นได้มากที่สุด แต่ละประเทศพยายามหาจุดเด่นเพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาทำธุรกิจใน ประเทศตน ซึ่งในครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศไทย ไปแล้ว ในคอลัมน์นี้จะขอพูดถึงการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานในประเทศพม่ากันบ้าง

ตั้งแต่ เปิดประเทศ พม่ากลายเป็นพื้นที่เป้าหมายของนักลงทุนต่างชาติรวมถึงนักลงทุนไทย โดยเฉพาะการลงทุนด้านพลังงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พม่าถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางแหล่งพลังงานมาก ดังจะเห็นได้จากการที่พม่ามีก๊าซธรรมชาติสำรองจำนวนมาก สามารถจำหน่ายให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 7.5 หมื่นล้านบาท

                   

นอกจากนี้แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของพม่ายังมีความ สดใหม่อยู่มากและยังไม่ถูกค้นพบกับขุดเจาะอย่างจริงจัง ทำให้นักลงทุนต่างชาติอยากเข้ามาครอบครองแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พม่า มีอยู่นี้

อย่างไรก็ตามศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของพม่านั้นยังค่อนข้าง จำกัด พม่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 3,361 เมกะวัตต์ต่อปี แหล่งพลังงานไฟฟ้าในพม่าร้อยละ 70 มาจากพลังน้ำ ร้อยละ 30 มาจากพลังลม ส่วนที่เหลือมาจากถ่านหิน ทั้งนี้ได้มีรายงานจาก The New Energy Architecture ซึ่งเป็นรายงานวิเคราะห์ประเด็นความท้าทายในภาคพลังงานของพม่าระบุว่า ประชากรเกือบสามในสี่ของประเทศหรือประมาณ 60 ล้านคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ประชากรในพื้นที่ชนบทที่มีอยู่ถึงร้อยละ 70 นั้นมีเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น

 

 


ที่เข้าถึงไฟฟ้าได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข งานและการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พม่าจึงต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพของระบบการผลิตไฟฟ้าเป็นการเร่งด่วนเพื่อรอง รับการลงทุนที่จะเกิดขึ้น

จากรายงานข่าวล่าสุด รัฐบาลพม่าประกาศแผนว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศซึ่ง จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวมีมูลค่า 8,200 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 210 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุน 275 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8,250 ล้านบาท บนเนื้อที่ 2,000 ไร่ ที่จังหวัดมินบู (Minbu) เขตเมเกว (Magway) นครหลวงเนย์ปิดอว์ (Naypyidaw) โดยมีบริษัท กรีน เอิร์ธ พาวเวอร์ จำกัด จากไทย เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง


โครงการ พลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 18 เดือน แบ่งเป็น 3 เฟส เฟสแรกกำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ เฟสที่สองกำลังผลิต 70 เมกะวัตต์ ส่วนเฟสที่สามจะทำหน้าที่เข้ามาเสริมกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของพม่าให้มั่นคงมาก ขึ้น ซึ่งพม่าวางเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จะต้องมีกำลังผลิตรวม 30,000 เมกะวัตต์ และมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนร้อยละ 10 ด้วย

ทั้งนี้ ปัจจัยผกผันที่อาจจะทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าไม่ราบรื่นนั้นอาจจะเกิดจาก รัฐบาลพม่า เพราะแม้จะเปิดประเทศแล้ว แต่รัฐบาลทหารยังคงยึดครองอำนาจอยู่ ซึ่งวิธีการบริหารงานยังมีลักษณะเผด็จการ ดังนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งกะทันหันเป็นเหตุให้โครงการนี้ไม่สำเร็จ แบบโรงไฟฟ้าที่ทวายหรือโครงการอื่น ๆ ที่รัฐบาลระงับคำสั่งก็เป็นไปได้ หากรัฐบาลพม่ามองว่าเป็นปัญหา


จากนี้เราคงต้องตามข่าวโครงการโรง ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพม่ากันอย่างใกล้ชิดว่าจะทำสำเร็จลุล่วงทันการเปิด AEC หรือไม่ ซึ่งหากทำสำเร็จด้วยเทคโนโลยีที่สะอาดและมีประสิทธิภาพสูงก็จะช่วยยกระดับ เศรษฐกิจของประเทศพม่าให้ขึ้นมาอยู่แถวหน้าของภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน และนักลงทุนจำนวนมากย่อมจะให้ความสนใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจพลังงานของประเทศ พม่ามากยิ่งขึ้น

 

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD